backup og meta

ออกซิเจนบำบัด แคปซูลแห่งอากาศบริสุทธิ์ กับข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

ออกซิเจนบำบัด แคปซูลแห่งอากาศบริสุทธิ์ กับข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

เนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบข้างที่เรากำลังเผชิญในปัจจุบันอาจมีมลพิษมาจากฝุ่นละอองต่าง ๆ เข้าไปยังสู่ระบบทางเดินหายใจ จนอาจทำให้คุณนำไปสู่อาการภูมิแพ้ และการล้มป่วยได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำนวัตกรรมใหม่ของทางการแพทย์ นั่นก็คือ ออกซิเจนบำบัด ซึ่งเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์เข้าไปยังช่องปอด มาฝากทุกคน ให้ได้ลองทำการพิจารณาก่อนตัดสินใจลองหันไปใช้บริการกันค่ะ

ออกซิเจนบำบัด คืออะไร

ออกซิเจนบำบัด (Hyperbaric oxygen therapy) คือ เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ สมัยก่อนนั้นการทำออกซิเจนบำบัดมักนิยมนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยจะอาศัยการเพิ่มระดับแรงดันในอากาศตามความเหมาะสมทางสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเข้าไปในแคปซูล หรือห้องบำบัดเฉพาะทาง เพื่อให้คุณนั้นได้สูดอากาศบริสุทธิ์ไปยังทางเดินหายใจ และนำไปหล่อเลี้ยงเม็ดเลือด เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ภายในร่างกายให้มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญยังอาจเป็นการยับยั้ง ต่อสู้กับแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย

โดยปกติแล้วอากาศที่เราสูดเข้า-ออกเป็นประจำทุกวันมักมีออกซิเจนอยู่เพียง 21% เท่านั้น แต่สำหรับการใช้ตัวช่วย หรือเทคนิคนี้เข้ามาเสริม ร่างกายของคุณอาจได้รับออกซิเจนเข้าไปได้ถึง 100% เลยทีเดียว ถึงอย่างไรการที่คุณจะเข้ารับการบำบัดจากนวัตกรรมนี้ ยังคงจำเป็นต้องผ่านการได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อป้องกันอันตราย และผลข้างเคียงอื่น ๆ ทางสุขภาพตามมา

การทำออกซิเจนบำบัดเหมาะสำหรับคนกลุ่มใด

ปัจจุบัน การทำออกซิเจนบำบัด ได้ถูกการยอมรับโดยการลงมติอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration ; FDA) อย่างเป็นทางการสำหรับใช้รักษาผู้ป่วย หรือผู้ที่กำลังประสบกับสภาวะทางสุขภาพในบางรายเท่านั้น ดังนี้

  • โรคโลหิตจาง จากการสูญเสียเลือดในปริมาณมาก
  • ผู้ที่ได้รับพิษจากคาร์บอนไดออกไซด์เยอะเกินไป
  • เส้นเลือดอุดตัน
  • ผู้ที่มีอาการติดเชื้อบริเวณไขกระดูก
  • ระดับการไหลเวียนของเลือดต่ำ
  • อาการหูหนวกเฉียบพลัน
  • การติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
  • ฝีในสมอง และการติดเชื้อไซนัสในสมอง

เกณฑ์ในการคัดกรองผู้ป่วยที่สามารถใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการรักษานั้น อาจขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ และการตรวจสอบรายละเอียดทางสุขภาพโดยแพทย์ เพราะผู้ป่วยบางรายอาจเหมาะสม หรือมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ส่งผลในเชิงบวกได้ดีเสียกว่า

ประโยชน์ของ การทำออกซิเจนบำบัด ที่อาจดีต่อสุขภาพ

  • การคลายเส้นเลือดที่ถูกบีบอัดจากสารพิษ
  • เพิ่มออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • ควบคุม และป้องกันการติดเชื้อ
  • ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย
  • ลดสารพิษบางอย่างในร่างกาย

ควรเตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้าใช้บริการ

เนื่องจาก การทำออกซิเจนบำบัด มีการใช้ออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์และเป็นการใช้แรงดันอากาศสูงเข้าไปในแคปซูล อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงนั่นก็คือ เปลวไฟ ดังนั้นโปรดปฏิบัติตามกฎที่ผู้ดูแลคุณได้แจ้งไว้อย่างเคร่งครัดก่อนเข้าใช้บริการ เช่น การหลีกเลี่ยงการพกอุปกรณ์ที่ไวไฟ หรือพลังงานจากแบตเตอรี่ที่มีความสูงอยู่มาก

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกายจาก การทำออกซิเจนบำบัด

ในช่วงระหว่างการเข้ารับ การทำออกซิเจนบำบัด หรือหลังจากเสร็จสิ้นการบำบัดแล้ว  อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ

  • ภาวะสายตาสั้นชั่วคราว
  • อาการบาดเจ็บในชั้นหูกลาง จนไปถึงแก้วหูแตก
  • มีอาการชักเนื่องจากได้รับออกซิเจนเยอะเกินไป
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ปอดยุบ

สิ่งสำคัญก่อนเข้ารับบริการ การทำออกซิเจนบำบัด คือ คุณควรตรวจสอบสุขภาพของตนเองก่อนเสมอ พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดประวัติทางสุขภาพของคุณให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังประสบปัญหามีแผลในช่องหู หรือมีอาการเจ็บป่วยเป็นไข้อยู่แต่เดิม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hyperbaric oxygen therapy  https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/hyperbaric-oxygen-therapy/about/pac-20394380 Accessed July 24, 2020

What is hyperbaric oxygen therapy good for? https://www.medicalnewstoday.com/articles/313155 Accessed July 24, 2020

Hyperbaric oxygen therapy https://www.martinhealth.org/hyperbaric-oxygen-therapy-mhs Accessed July 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/08/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

มลพิษทางอากาศ ไม่ใช่แค่ปอดพัง แต่ทำร้ายยันหัวใจและหลอดเลือด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา