backup og meta

ใส่ หัวหอมในถุงเท้า แก้หวัดได้จริงหรือ?

ใส่ หัวหอมในถุงเท้า แก้หวัดได้จริงหรือ?

เป็นคำพูดที่ส่งต่อกันมานานว่า การนำหัวหอมไปวางไว้ในห้องนอนจะช่วยให้ไม่เป็นหวัดหรือช่วยลดอาการของไข้หวัดให้ดีขึ้นได้ แต่หัวหอมช่วยลดไข้หวัดได้จริงหรือ? และถ้าหากเราใส่ หัวหอมในถุงเท้า อาการหวัดจะหายไปด้วยหรือไม่? มาไขคำตอบกันได้จากบทความนี้โดย Hello คุณหมอ

ประโยชน์ของหัวหอม

หัวหอม เป็นพืชผักที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลากหลายเมนูในชีวิตประจำวัน การรับประทานหัวหอม มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

  • ลดสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานนั้นมีสาเหตุหลักมาจากเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือด และจากการวิจัยค้นพบว่าการรับประทานหัวหอมมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ โดยเฉพาะการรับประทานหัวหอม 20 กรัมในช่วงที่กำลังลดน้ำหนัก จะมีส่วนช่วยในเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการลดน้ำหนักแบบอดอาหารเพียงอย่างเดียว

  • ลดความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงนั้น ผู้ที่มีภาวะของโรคนี้มักจะไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการรุนแรงใดๆ ที่แสดงออกมาเป็นสัญญาณให้รู้ได้ แต่การรับประทานหัวหอมเป็นประจำสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

  • มีประโยชน์กับหัวใจ

ในหัวหอมนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และเควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งช่วยลดอาการอักเสบ และลดสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ อย่างการลดความดันโลหิตสูง

  • ลดโอกาสในการเป็นมะเร็ง

ในพืชตระกูลหัว เช่น หัวหอม หรือกระเทียม มีการค้นพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เพียงพอต่อการลดโอกาสในการเป็นโรคมะเร็ง และยังลดโอกาสในการเจริญเติบโตของเนื้องอกในร่างกายได้อีกด้วย

ต้านเชื้อแบคทีเรีย

ในหัวหอมมีสารต้านต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อเควอซิทิน (Quercetin) ที่มีประสิทธิภาพช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ของร่างกาย เช่น เชื้อ Escherichia coli หรือที่รู้จักกันในชื่อของเชื้ออีโคไล (E coli)

หัวหอมกับไข้หวัด

เป็นความเชื่อกันมาอย่างยาวนานที่ว่า ถ้าหากเป็นหวัด ให้นำหัวหอม หรือหั่นหัวหอมออกเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปวางไว้ในห้องนอน หรือบนหัวเตียง จะช่วยให้อาการเป็นหวัดดีขึ้นและหายจากอาการไข้หวัดได้ ซึ่งตามที่สมาคม National Onion Associationให้ความเห็นไว้นั้น สรุปได้ว่า นั่นเป็นเพียงความเชื่อเก่าเท่านั้น

แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่มากพอที่จะสามารถพิสูจน์และให้การรับรองได้ว่าการหั่นหัวหอมแล้วเอาไปวางไว้ในห้องนอนจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ทำให้อากาศบริสุทธิ์ ลดสารพิษและทำให้หายหวัด

หัวหอมในถุงเท้า แก้หวัดได้จริงหรือ?

ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าในปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยใดที่ให้การรับรองว่า การนำหัวหอมไปวางไว้ในห้องนอนช่วยให้อาการเจ็บป่วย และอาการหวัดดีขึ้น เช่นเดียวกันกับการนำหัวหอมใส่ไว้ในถุงเท้าขณะที่กำลังนอนนั้น ก็ยังไม่มีผลการวิจัยที่มากเพียงพอจะรับรองได้ว่าสามารถช่วยแก้หวัดได้

อย่างไรก็ตาม หัวหอมในถุงเท้าก็ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือสร้างผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย เพียงแต่ไม่สามารถช่วยให้ไข้หวัดที่กำลังเผชิญอยู่หายขาดได้เท่านั้นเอง แต่การรับประทานหัวหอมนั้นเป็นที่ได้รับการรับรองแน่นอนว่ามีส่วนช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีสารที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สามารถต่อสู้กับแบคทีเรีย ทำให้ไม่เจ็บป่วยบ่อย ทั้งยังลดสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่างๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงสรุปสั้นๆ ได้ว่า

การนำหัวหอมใส่ไว้ในถุงเท้าไม่ได้ให้ประโยชน์และผลเสียใดต่อร่างกาย แต่เป็นการรับประทานหัวหอมต่างหากที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง

 

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Will Putting Onions in Your Socks Cure the Flu?. https://www.healthline.com/health/cold-flu/onion-in-sock. Accessed December 12, 2019.

Does an onion in the sock work for a cold?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320167.php. Accessed December 12, 2019.

Will an Onion in the Room Stop a Cold or the Flu?. https://www.verywellhealth.com/will-an-onion-in-the-room-stop-a-cold-or-the-flu-770452. Accessed December 12, 2019.

9 Impressive Health Benefits of Onions. https://www.healthline.com/nutrition/onion-benefits. Accessed December 12, 2019.

ONION. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-643/onion. Accessed December 12, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Khongrit Somchai


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องเป็นหวัด อันตรายหรือไม่และควรรับมืออย่างไรดี

วิตามินซีป้องกันหวัด ได้หรือไม่ งานวิจัยว่าอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา