โบทูลิซึม เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า “คลอสทริเดียม’ โบทูลินัม มี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก
คำจำกัดความ
โบทูลิซึม คืออะไร
โรคโบทูลิซึม (Botulism) เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งผลิตท็อกซิน 7 ชนิด (นักวิทยาศาสตร์เรียกตั้งแต่ A ถึง G) อย่างไรก็ตาม ท็อกซินชนิด A, B, E, และ F มีผลทำให้เกิดโรคในร่างกายมนุษย์
รูปแบบของโรคโบทูลิซึมมี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก
โบทูลิซึม พบบ่อยแค่ไหน
ทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นโรคโบทูลิซึม แต่โรคนี้ไม่ติดเชื้อจากคนสู่คน คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงในการเป็นโรคโบทูลิซึมได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
สัญญาณและอาการของโรคโบทูลิซึม
อาการของโรคโบทูลิซึมมักเกิดขึ้น 12 ถึง 36 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อโรค โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ของโรคโบทูลึซึมเป็นอันตรายถึงชีวิต
อาการเริ่มต้นของโรคโบทูลิซึมประกอบด้วย
เมื่อไหร่ที่ควรพบคุณหมอ
ควรเข้าพบหมอเพื่อปรึกษาทันที หากเกิดอาการโรคโบทูลิซึม เพราะหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคหรือรักษาทันเวลา อาจเป็นอัมพาตที่แขน ขา หรือทั้งตัวและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ และคุณอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สาเหตุของโรคโบทูลิซึม
คุณจะเป็นโรคโบทูลิซึม ถ้าอาหารที่คุณกินมีสารพิษเจือปน โดยเกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อ Clostridium botulinum (C. botulinum) ที่ผลิต neurotoxin ซึ่งเป็นสารพิษที่ทำลายระบบประสาท นอกจากนี้การได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาจมาจากแผลเล็กๆ หรือการกินสปอร์ในดิน
- กรณีนี้ที่เกิดขึ้นมากในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด คือ โรคโบทูลิซึม เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายจากแผลเล็กๆ ที่ไม่สังเกต แบคทีเรียจะเติบโตและผลิตพิษในร่างกาย
- กรณีที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก อาจเกิดการติดเชื้อจากการกินสปอร์ในดินขณะเล่นนอกบ้าน สปอร์จะเติบโตในลำไส้และผลิตสารท็อกซิน
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคโบทูลิซึม มีดังนี้
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคโบทูลิซึม
โรคโบทูลิซึมมีอาการคล้ายกับโรคเกี่ยวกับอาหารเป็นพิษอื่นๆ ดังนั้น จึงยากในการวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายๆ ครั้งจึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนสรุปผล อาจใช้เวลา 4 วันกว่าจะทราบผล
การรักษาโรคโบทูลิซึม
การรักษาโรคโบทูลิซึมมีหลายวิธี โดยปกติแพทย์จะตรวจอาการ ให้ยาแอนตี้ท็อกซิน (antitoxins) เพื่อชะลอการเป็นอัมพาต และลดความรุนแรงของอาการ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาโรคโบทูลิซึมเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
- การเกิดโรคโบทูลิซึมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอาหารกระป๋อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผักกระป๋อง ดังนั้น ควรระมัดระวังการรับประทานอาหารแปรรูปหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร
- ปรุงอาหารให้สุกโดยใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที เพราะสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย จะถูกทำลายในความร้อนที่สูง
- ควรระมัดระวังเมื่อป้อนน้ำผึ้งเด็กเล็ก การกินน้ำผึ้งที่มีสารพิษปนเปื้อน เป็นอีกสาเหตุโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรค
- ล้างแผลให้สะอาด การดูแลแผลและไม่ใช้สารเสพติดเป็นวิธีการลดความเสี่ยงโรคโบทูลิซึมที่เกี่ยวกับบาดแผลได้
หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการักษาที่ดีที่สุด เพื่อการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]