backup og meta

โบท็อกซ์ ประโยชน์ที่มากกว่าการลดเลือนริ้วรอย

โบท็อกซ์ ประโยชน์ที่มากกว่าการลดเลือนริ้วรอย

โบท็อกซ์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในเรื่องการลดเลือนริ้วรอยบริเวณหน้าผากและรอยตีนตา แต่จะมีใครซักกี่คนที่รู้ว่า โบท็อกซ์ก็ช่วยรักษาโรคอื่นๆ ได้อีกตั้งหลายโรค ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

หนังตากระตุก (Blepharospasms)

สารที่เป็นพิษต่อระบบประสาทในโบท็อกซ์ ทำให้เกิดอาการอัมพาตขึ้นชั่วคราว จึงทำให้เส้นประสาทไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับกล้ามเนื้อได้ จึงมีประโยชน์ในการรักษาอาการที่ไม่ควรเกิดกับกล้ามเนื้อ อย่างเช่น อาการกระตุก จริงๆ แล้วการที่องค์การอาหารและยาในสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้โบท็อกซ์ในปี 1989 นั้น ก็เนื่องมาจากใช้รักษาโรคหนังตากระตุกได้นั่นแหละ

คนที่เป็นโรคหนังตากระตุก จะสูญเสียการควบคุมความสามารถในการสื่อสาร กับส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา เมื่อมีอาการกระตุกที่ควบคุมไม่ได้ เซลล์ประสาทพวกนั้นก็จะส่งสัญญาณมากผิดปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการกระตุกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงมากๆ คนไข้ก็ไม่สามารถลืมตาเพื่อดูอะไรได้

ในกรณีนี้ โบท็อกซ์จะเข้าไปหยุดยั้งการสื่อสารในจุดเชื่อมต่อประสาทกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อกลายเป็นอัมพาตขึ้นชั่วคราว และอาการหนังตากระตุกก็จะหายไป

ตาเหล่ (Strabismus)

อาการตาเหล่ เป็นอีกโรคหนึ่งที่ใช้โบท็อกซ์รักษาแล้วได้ผลเป็นอย่างดี อาการตาเหล่อาจเป็นโรคที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บในบริเวณดวงตา ซึ่งถึงแม้จะแก้ไขอาการตาเหล่ด้วยวิธีการผ่าตัดได้ แต่บางครั้งแพทย์ก็ลองใช้โบท็อกซ์รักษาอาการดูก่อน ฉะนั้น วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่ไม่อยากได้รับการผ่าตัด ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์เป็นวิธีรักษาอาการตาเหล่ได้ในระยะยาวด้วย

โรคสายเสียงหดเกร็ง (Spasmodic dysphonia)

โรคสายเสียงหดเกร็ง จะทำให้เกิดเสียงสั่น ฝืนธรรมชาติ หรือแหบห้าว ซึ่งไม่ถือเป็นความบกพร่องทางการพูด และเป็นโรคทางระบบประสาทมากกว่า คนที่เป็นโรคนี้จะได้รับสัญญาณที่ผิดปกติจากสมอง และเกิดอาการกระตุกที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อเสียง ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่สายเสียง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นอ่อนเปลี้ยนิดนึง ซึ่งจะช่วยให้คนไข้สามารถเปล่งเสียงได้อย่างราบรื่น และคงที่มากขึ้น

โรคน้ำลายไหล (hypersalivation)

เมื่อเราฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่ต่อมน้ำลาย ก็จะทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้นเป็นอัมพาต และหยุดผลิตน้ำลายออกมามากเกินไป ซึ่งสามารถช่วยให้คนที่เป็นโรคนี้มีอาการที่ดีขึ้นได้

เหงื่ออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)

มีหลักฐานยืนยันได้ว่าการฉีดโบท็อกซ์ ช่วยรักษาอาการเหงื่อออกมากผิดปกติในบริเวณรักแร้ มือ เท้า ศีรษะ หรือใบหน้า ได้อย่างปลอดภัยและได้ผลดี นอกจากนี้ยังช่วยลดการผลิตเหงื่อในบริเวณที่ฉีดได้มากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่เหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณมือ

ผลการศึกษาวิจัยก็แสดงให้เห็นว่า ช่วยรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้เหงื่อจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิ แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การฉีดซ้ำในการรักษาผู้ที่เป็นโรคนี้ ก็ถือว่ามีความปลอดภัยด้วยเช่นกัน

ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง อาจดีขึ้นได้ด้วย โบท็อกซ์

ผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนคงดีใจกันถ้วนหน้า เมื่อมีการอนุมัติให้ใช้โบท็อกซ์ในการรักษาโรคปวดหัวไมเกรนเรื้องรัง เมื่อปี 2010 ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้มักต้องทนทุกข์กับอาการคลื่นไส้ ตาสู้แสงไม่ได้ และอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณศีรษะ ซึ่งอาจรวมถึงอาการเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อหนังศีรษะด้วย

โดยคุณหมอจะฉีดโบท็อกซ์ในบริเวณขมับ ด้านหลังคอ และบริเวณฐานศีรษะ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นเกิดการผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้มีอาการเจ็บปวดลดลง อีกบริเวณหนึ่งที่คุณหมออาจจะฉีดโบท็อกซ์ด้วย ก็คือบริเวณแสกหน้าหรือบริเวณหว่างคิ้ว เนื่องจากการขมวดคิ้วก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้เหมือนกัน

โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)

โรคอัมพาตใบหน้า จะทำให้ใบหน้าครึ่งซีกเกิดการอ่อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเส้นประสาทที่เชื่อมต่อสมองกับอวัยวะต่างๆ ถูกกระตุ้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวาน หรือติดเชื้อไวรัสบางชนิด ถึงแม้ว่าโรคอัมพาตใบหน้าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่การฉีดโบท็อกซ์ก็ช่วยให้มีอาการดีขึ้นได้

อาการทางตาจากโรคไทรอยด์

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการตึงบริเวณหนังตา ทำให้ตาดูเหลือกหรือบวมได้ และหนังตาไม่สามารถเลื่อนลงไปปกป้องบริเวณดวงตาได้ ทำให้ดวงตาแห้งและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ในบริเวณหนังตา เพื่อทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นอ่อนแอลง ทำให้ลืมตาหรือหลับตาได้เป็นปกติ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

8 Medical Uses for Botox That Have Nothing to Do with Wrinkles

https://www.healthline.com/health-news/medical-uses-for-botox#1

Accessed on August 15, 2018

7 Surprising Uses for Botulinum Toxin

https://health.clevelandclinic.org/7-surprising-uses-for-botulinum-toxin/

Accessed on August 15, 2018

Cosmetic Uses of Botox

https://www.webmd.com/beauty/botox-cosmetic

Accessed on August 15, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

กาแฟ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภคที่ควรรู้

อาหารลดน้ำหนัก ที่ควรเลือกรับประทาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา