ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria) คือ รูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน (วงกลมสีดำกลางดวงตา) ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็น มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นต้น
คำจำกัดความ
ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria) คืออะไร
ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria) คือ รูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน (วงกลมสีดำกลางดวงตา) ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็น มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นภาวะรูม่านตาต่างขนาดมาตั้งแต่กำเนิด หรือในผู้ป่วยบางคนอาจเป็นภาวะรูม่านตาต่างขนาดเพียงชั่วคราวเท่านั้นก็สามารถหายกลับมาเป็นปกติได้เอง
พบได้บ่อยเพียงใด
ภาวะรูม่านต่างขนาดอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยกำเนิด หรือในบางรายอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อดวงตา
อาการ
อาการของภาวะรูม่านตาต่างขนาด
ภาวะรูม่านตาต่างขนาดขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลายๆอย่าง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
- มองเห็นภาพซ้อน
- สูญเสียการมองเห็น
- ปวดศีรษะ
- ปวดตา
- ปวดคอ
- ไข้
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะรูม่านตาต่างขนาด
สาเหตุของภาวะรูม่านตาต่างขนาดเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังนี้
- การได้รับบาดเจ็บโดยตรงกับดวงตา
- การถูกกระทบกระแทก
- มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
- การอักเสบของเส้นประสาทตา
- เนื้องอกในสมอง
- อาการไขสันหลังอักเสบ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะรูม่านตาต่างขนาด
ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการผู้ป่วยเพื่อดูความผิดปกติของรูม่านตา รวมถึงวิธีการอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- ตรวจตา
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (complete blood count: CBC)
- การตรวจเลือด
- เจาะน้ำไขสันหลัง
- การตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN)
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)
- การเอกซเรย์ (X-Ray)
การรักษาภาวะรูม่านตาต่างขนาด
วิธีการรักษาภาวะรูม่านตาต่างขนาดขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละบุคคล เช่น หากเกิดจากการติดเชื้อแพทย์อาจสั่งยาหยอดตาหรือยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วย หากเกิดจากสาเหตุเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก ร่วมกับการฉายรังสี ทำเคมีบำบัด เพื่อลดการเติบโตของเนื้องอก
ในกรณีผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะรูม่านตาชั่วคราวถือว่าอาการปกติไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะรูม่านตาต่างขนาด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรูม่านตาต่างขนาดมีดังนี้
- สวมหมวกนิรภัยขณะเล่นกีฬาเพราะอาจทำให้กระทบกระเทือนต่อดวงตาๆได้ เช่น ขี่จักรยาน ขี่ม้า
- สวมอุปกรณ์ป้องกันขณะใช้งานเครื่องจักรกล
- คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะขับรถ
[embed-health-tool-bmi]