backup og meta

อเมทิสต์ หลังแห่งหินบำบัด เพื่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/03/2021

    อเมทิสต์ หลังแห่งหินบำบัด เพื่อสุขภาพ

    ในปัจจุบันได้มีวิธีการรักษาและป้องกันโรคด้วยกันหลากหลายศาสตร์ที่นอกเหนือจากศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน วันนี้ Hello คุณหมอ ขอนำเสนออีกหนึ่งศาสตร์ทางเลือกในการบำบัดรักษาสุขภาพ นั่นคือ “อเมทิสต์” นั่นเอง พลังแห่งหินบำบัด ที่เชื่อกันว่า นอกจากจะช่วยป้องกันโรคแล้วยังมีส่วนช่วยบรรเทาสุขภาพจิตได้อีกด้วย แต่จะจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

    พลังแห่งหินบำบัด อเมทิสต์ 

    อเมทิสต์ (Amethyst) ชื่อนี้มาจากภาษากรีกโบราณ ἀμέθυστος (Ametusthos) ที่แปลว่า “ไม่มึนเมา” จัดเป็นหินในตระกูลควอตซ์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยถูกใช้เป็นเครื่องประดับมานานกว่า 2000 ปี  นอกจาก หินบำบัดอเมทิสต์ จะมีสีสันที่สวยโดดเด่นไม่เหมือนใครแล้ว ในด้านของความเชื่อ หินบำบัดอเมทิสต์  ยังช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพอีกด้วย เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคุมฮอร์โมน บรรเทาอาการปวดศีรษะ เป็นต้น 

    อเมทิสต์กับคุณประโยชน์เพื่อสุขภาพ

    ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุแน่ชัดว่า หินบำบัดอเมทิสต์ มีคุณประโยช์ต่อการรักษาสุขภาพ แต่ได้มีข้อสันนิษฐาน โดยผู้ปฏิบัติงานทางด้านอายุรเวท หรือแพทย์ทางเลือก ระบุว่า หินบำบัดอเมทิสต์ มีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ดังต่อไปนี้ 

    ความเชื่อเกี่ยวกับ หินบำบัดอเมทิสต์ ด้านการส่งเสริมสุขภาพกาย 

    ความเชื่อเกี่ยวกับ หินบำบัดอเมทิสต์ ด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตใจ

    เคล็ดลับดูแลสุขภาพจาก หินบำบัดอเมทิสต์ 

    สำหรับท่านใดที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น หลับยาก ฝันร้าย ลองนำ หินบำบัดอเมทิสต์ มาวางไว้ใต้หมอน มันสามารถช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และนอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในผู้ที่มีอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ ปวดไมเกรน เพียงนำ หินบำบัดอเมทิสต์ วางเหนือบริเวณที่ปวดประมาณ 2 เซนติเมตร โดยให้ปลาย หินบำบัดอเมทิสต์ ชี้ลง และวนช้า ๆ ตามเข็มนาฬิกา จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ลดลงจากเดิม ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังให้แนะนำให้ลองทำวันละ 10-15 นาที เป็นเวลาติดกัน  2-3 วัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา