backup og meta

ใบหน้าไม่สมมาตร จนขาดความมั่นใจ เกิดมาจากสาเหตุใด

ใบหน้าไม่สมมาตร จนขาดความมั่นใจ เกิดมาจากสาเหตุใด

หากคุณส่องกระจกแล้วสังเกตว่าใบหน้าของตนเองเหมือนมีลักษณะไม่เท่ากัน นั่นอาจหมายความว่า คุณกำลังเผชิญกับปัญหา ใบหน้าไม่สมมาตร อยู่ก็ได้ แต่ไม่ต้องวิตกไปค่ะ เพราะโดยปกติปัญหานี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ หากคุณคิดว่าสิ่งนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่คุณเป็นอันพึงพอใจอยู่แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องรับการแก้ไขใด ๆ นอกเสียจากว่าปัญหานี้จะส่งผลข้างเคียงบางอย่างที่นำไปสู่อันตรายเกิดขึ้น

ใบหน้าไม่สมมาตร เป็นอย่างไร

ใบหน้าไม่สมมาตร หรือ ใบหน้าไม่เท่ากัน คือปัญหาความไม่สมดุลกันของจุดหลักต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น บริเวณกึ่งกลางหน้าผากจรดคางด้านล่างไม่เท่ากันเป็นแกนเอียง ริมฝีปากและเปลือกตาทั้งสองข้างเหลื่อมกัน หากเป็นในกรณีเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะขยับใบหน้ามากนัก ก็อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม การมีลักษณะ ใบหน้าไม่เท่ากัน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะร้ายแรงร่วมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตแบบเบลล์ (Bell’s paly) ดังนั้น ทางที่คุณควรกระทำคือการเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์ในทันที เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ใบหน้าของคุณสามารถขยับไปมาได้น้อยลง จนทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างยากลำบาก

สาเหตุหลัก ที่ส่งผลให้ใบหน้าไม่สมมาตร

นอกเหนือจาก อัมพาตเบลล์และโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณเผชิญกับปัญหา ใบหน้าไม่เท่ากัน ได้ ดังต่อไปนี้

  • พันธุกรรม การมี ใบหน้าไม่เท่ากัน อาจเป็นผลจากพันธุกรรมที่ได้รับมาจากบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติใบหน้าไม่สมมาตรได้
  • อายุที่มากขึ้น จากการศึกษาหนึ่งในปี พ.ศ. 2561ได้นำอาสาสมัครทั้ง 200 คน เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างอายุที่มากขึ้น และใบหน้าสมมาตร โดยผลลัพธ์ออกมาว่า เมื่อคุณมีอายุเพิ่มขึ้นอาจทำให้กระดูกหยุดเจริญเติบโต ยกเว้นในส่วนของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อ จึงส่งผลให้บริเวณหูและจมูกยังคงมีการพัฒนาต่อไป นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของใบหน้า ทำให้ใบหน้าไม่เท่ากัน
  • โรคคอเอียงแต่กำเนิด โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ หรือช่วงแรกเกิด โดยส่งผลให้กล้ามเนื้อคอมีความผิดปกติ ใบหน้าไม่เท่ากัน พร้อมมีศีรษะเอียงบิดเบี้ยวไปตามระดับความรุนแรงของอาการ
  • การรักษาด้านทันตกรรม เนื่องจากอวัยวะภายในช่องปากบางส่วนอาจมีความเชื่อมโยงกับกระดูก และกล้ามเนื้อบนใบหน้า ทำให้ผู้ที่ได้รับการรักษาทางทันตกรรม เช่น การถอนฟัน จัดฟัน อาจมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าได้ แต่จะอยู่ในระดับเบา หรือรุนแรงมากแค่ไหนนั้น มักขึ้นอยู่กับวิธีที่ทันตแพทย์ใช้

นอกจากนี้ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การนอนหมอนในท่าที่ผิด ที่มีการกดทับใบหน้า ก็อาจเป็นสาเหตุที่สามารถส่งผลให้คุณมีใบหน้าไม่สมมาตร หรือมีการบิดเบี้ยวจุดใดจุดหนึ่งของใบหน้าได้เล็กน้อย เช่นกัน

วิธีแก้ไขปัญหาใบหน้าไม่สมมาตร

ส่วนใหญ่ปัญหา ใบหน้าไม่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเสมอไป แต่หากคุณไม่พึงพอใจ หรือต้องการแก้ไขปรับเปลี่ยน ก็สามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • ฉีดฟิลเลอร์ เป็นวิธีช่วยปรับความสมดุลของใบหน้าโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้รับความนิยม และหากจะให้ปลอดภัยมากขึ้น คุณอาจต้องสังเกตเลือกฟิลเลอร์ที่มีเครื่องหมายรับรองข้างบรรจุภัณฑ์ พร้อมเข้ารับการฉีดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • ปลูกถ่ายใบหน้า เทคนิคนี้อาจเหมาะกับการแก้ไขปัญหาในส่วนของแก้มและคาง โดยใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น ซิลิโคน เจล พลาสติก โปรตีนเฉพาะสำหรับใช้เสริมความสมดุลให้แก่ใบหน้า

สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เผชิญกับปัญหา ใบหน้าไม่เท่ากัน ในระดับไม่รุนแรง อาจสามารถแก้ไขได้ด้วยเทคนิคการแต่งหน้า โดยใช้คอนทัวร์ส่วนที่ต้องการให้พอดีกัน การบริหารใบหน้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Asymmetrical Face: What Is It, and Should You Be Concerned? https://www.healthline.com/health/asymmetrical-face . Accessed March 30, 2021.

What to know about having an asymmetrical face https://www.medicalnewstoday.com/articles/asymmetrical-face . Accessed March 30, 2021.

Facial asymmetry: a current review https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4686752/. Accessed March 30, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

การผ่าตัดขากรรไกร เพื่อปรับสมดุลของใบหน้า มีข้อดีอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา