backup og meta

โรคที่มากับ น้ำท่วม และวิธีดูแลสุขภาพ

โรคที่มากับ น้ำท่วม และวิธีดูแลสุขภาพ

น้ำท่วม มักก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้คนในพื้นที่ที่น้ำท่วมเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคฉี่หนู โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง โรคน้ำกัดเท้า การศึกษาเกี่ยวกับโรคที่มากับน้ำท่วม การดูแลตนเอง และวิธีรับมืออย่างเหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคที่มากับน้ำท่วมได้

[embed-health-tool-bmi]

โรคและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากับ น้ำท่วม

โรคและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากับน้ำท่วม ที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้

  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis หรือ Weil’s disease)

โรคฉี่หนู เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ผ่านทางดวงตา ปาก หรือบาดแผล ส่วนใหญ่มักเป็นหนู วัว หมู สุนัข เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมมักทำให้มีน้ำขังและเชื้ออาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำและเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลที่เป็นอยู่เดิม หรือผ่านบาดแผลใหม่ที่เกิดจากการขีดข่วนจากสิ่งของที่ลอยมาตามน้ำ อาการโรคฉี่ เช่น ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว ไม่อยากอาหาร ซึ่งมักทำให้สับสนกับโรคอื่นหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัดได้

  • โรคตาแดง (Conjunctivitis หรือ Pink eye)

เป็นการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบริเวณเปลือกตาและในลูกตาซึ่งมักปนเปื้อนมากับน้ำ เชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อยคืออะดีโนไวรัส (Adenoviruses) แต่ก็อาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดอื่น ได้เช่นกัน ทำให้หลอดเลือดฝอยในเยื่อบุตาอักเสบจนบวมแดง ตาขาวจึงกลายเป็นสีแดงหรือสีชมพู หากขยี้ตาข้างที่ติดเชื้อแล้วไปสัมผัสกับดวงตาอีกข้างอาจทำให้เป็นตาแดงทั้งสองข้างได้ โดยทั่วไป มักไม่กระทบต่อการมองเห็น แต่อาจทำให้คัน ระคายเคือง ไวต่อแสง มีน้ำตาไหล และอาจมีขี้ตาสีเขียวขุ่นหนาจนลืมตาไม่ขึ้นในตอนเช้า

โรคน้ำกัดเท้ามักเกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟท์ (Dermatophyte) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคกลากและสังคัง โดยทั่วไป เชื้อราชนิดมักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น ทั้งยังกินเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเส้นผม เล็บ และผิวหนังเป็นอาหาร นอกจากนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อราชนิดอื่นได้ เช่น แคนดิดา (Candida) ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม บริเวณเท้ามักอับชื้นไและอาจเปียกน้ำเป็นเวลานาน จนเสี่ยงเกิดโรคน้ำกัดเท้าได้ง่าย อาการมีตั้งแต่เท้าแห้ง คัน ตกสะเก็ด มีตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นระหว่างนิ้วเท้า ไปจนถึงแผลเปื่อยที่มีของเหลวไหลออกมาหรือมีกลิ่นเหม็น

  • โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)

น้ำท่วมมักส่งผลให้อาหารปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต เนื่องจากมีโอกาสนำน้ำที่ไม่สะอาดมาใช้เตรียมอาหาร ปรุงอาหารหรือทำความสะอาดภาชนะ หรือล้างมือไม่สะอาดก่อนเตรียมอาหารและรับประทานอาหาร โรคอุจจาระร่วงมักทำให้ถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน อาเจียน ไม่มีแรงรับประทานอาหาร กระหายน้ำบ่อย ปวดท้อง มีไข้ และอาจสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในปริมาณมากจนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย หรือเกิดภาวะขาดน้ำได้

วิธีดูแลสุขภาพในภาวะ น้ำท่วม

การดูแลสุขภาพในภาวะน้ำท่วม อาจทำได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียมอาหารและก่อนรับประทานอาหาร
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ หากรับประทานอาหารที่มีบรรจุภัณฑ์ให้สังเกตว่าตัวบรรจุภัณฑ์ไม่มีรอยบุบ บวม หรือเป็นสนิม รวมทั้งตรวจสอบวันหมดอายุก่อนรับประทานด้วย
  • ใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มั่นใจว่าผ่านการทำล้างความสะอาดเป็นอย่างดี
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า นำเข้าปาก หรือขยี้ตา เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้
  • ล้างเท้าและส่วนของร่างกายที่แช่อยู่ในน้ำแล้วเช็ดให้แห้งทุกครั้ง ไม่ควรใช้เวลาอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบอาบน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายทันที
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อหรือไม่สบาย
  • หลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระในพื้นที่น้ำท่วม เพราะอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย หากไม่มีห้องน้ำสำหรับขับถ่ายควรขับถ่ายในถุงดำแล้วโรยปูนขาวในถุง จากนั้นมัดถุงให้แน่นก่อนนำไปทิ้งในที่ที่เหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

โรคที่มากับน้ำท่วม. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=926. Accessed May 12, 2023

Leptospirosis (Weil’s disease). https://www.nhs.uk/conditions/leptospirosis/. Accessed May 12, 2023

Pink eye (conjunctivitis). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pink-eye/symptoms-causes/syc-20376355. Accessed May 12, 2023

Understanding Athlete’s Foot: The Basics. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-athletes-foot-basics. Accessed May 12, 2023

Diarrhea. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/diarrhea. Accessed May 12, 2023

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดไหม เพราะอะไร

โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำขังและต้องระวังแม้จะเป็น “คนเมือง”


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 24/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา