backup og meta

รู้จักกับอาการ แผลเป็นหนอง ดูแลอย่างไรดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

    รู้จักกับอาการ แผลเป็นหนอง ดูแลอย่างไรดี

    แผลผ่าตัดหรือแผลสด สามารถเกิดหนองได้หลากหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป หนองเป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ที่ไหลออกมาจากแผล หากแผลมีหนองไหลออกมา เป็นสัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ว่า แผลที่เป็นอยู่นั้นเกิดการติดเชื้อ หากเกิดแผลต้องหมั่นทำความสะอาด และตรวจดูอยู่เสมอว่าแผลนั้นมีหนองหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ แผลเป็นหนอง ว่าควรทำอย่างไรดี

    หนอง คืออะไร

    หนอง (Pus) คือของเหลวที่ไหลออกมาจากบาดแผล หากบาดแผลของเรามีหนองนั้นก็จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะหนองจะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ สีเหลือง สีเทา สีเขียว และสีน้ำตาล โดยสีและความเข้มข้นของหนองนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของเชื้อโรคที่มีอยู่ รวมไปถึงเชื้อโรคที่ตายแล้ว และขึ้นอยู่กับจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วย

    ประเภทของ แผลเป็นหนอง

    ประเภทของแผลเป็นหนองนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

    1. Sanguineous drainage

    หนองชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นสีแดงสดหรือสีชมพู โดยหนองชนิดนี้จะประกอบไปด้วย เลือดสดเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับน้ำเชื่อม แต่จะมีความข้นและความหนืดมากกว่าเลือดปกติ ซึ่งหนองชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นกับแผลที่เพิ่งเป็น หากเกิดหนองชนิดนี้หลังจากที่เป็นแผลได้ 2-3 ชั่วโมง แสดงว่าแผลนั้นเกิดการฟกช้ำ

    2. Serous drainage

    หนองชนิดนี้เป็นหนองที่ประกอบไปด้วยโปรตีน เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์สำคัญอื่น ๆ ที่ร่างกายมักจะใช้ในการรักษาตัวเอง หนองชนิดนี้มีลักษณะใส และโปร่งแสงคล้ายกับน้ำ หากมีหนองชนิดนี้ที่แผลมากเกิดไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าบริเวณแผลมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายอยู่บริเวณนั้น

    3. Serosanguineous drainage

    หนองชนิดเป็นหนองที่ผสมกันระหว่างหนองสองชนิดข้างต้น ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด โดยหนองชนิดนี้มักจะมีสีชมพูออกแดง มักจะเกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนผ้าพันแผล

    สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ แผลเป็นหนอง

    หนองที่ไหลออกมาจากแผลนั้น เกิดขึ้นจากหลอดเลือดเกิดการขยายตัวในช่วงแรกของการรักษา นอกจากนี้ในช่วงที่เกิดแผลอาจมีเชื้อโรคอยู่บริเวณนั้นทำให้ร่างกายสร้างของเหลวเพื่อพยายามรักษาตัวเอง

    แผลที่เกิดหนองนั้นส่วนใหญ่เกิดจากแผลนั้นเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปตามเนื้อเชื้อแล้วทำให้แผลเกิดการติดเชื้อ ทำให้แผลนั้นเกิดอาการบวมและปวด ทำให้แผลนั้นหายช้ากว่าปกติ และแผลแห้งได้ช้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้แผลเกิดหนองได้ง่ายอีกด้วย ดังนี้

    • โรคเบาหวาน
    • แผลที่เกิดจากวัตถุที่สกปรก ขึ้นสนิม
    • แผลที่โดนกัด
    • บาดแบลที่มีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่เช่น แก้ว เศษไม้
    • แผลที่มีขนาดใหญ่และลึก
    • โรคอ้วน
    • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่ดี
    • การผ่าตัดไม่ได้มาตรฐานและไม่ปลอดภัย

    วิธีดูแล รักษาแผลเป็นหนอง

    การรักษาหนองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่มีความรุนแรง การรักษาแผลเป็นหนองนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและลักษณะของบาดแผล เมื่อพบว่าแผลมีหนอง แพทย์จะทำการระบายหนองออกโดยยังคงรักษาความชุ่มชื่นของแผลไว้เพื่อให้ร่างกายนั้นรักษาตัวเองไว้ได้ แผลที่มีการติดเชื้อมาก ๆ นั้นอาจจะต้องได้รับยาเพื่อรักษาโดยเฉพาะ ซึ่งยาแต่ละชนิดแพทย์จะทำการสั่งโดยวินิจฉัยจากอาการ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา