backup og meta

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อหุ้มสมอง ที่มีชื่อเรียกว่า “ไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis)’ โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านสารคัดหลั่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามร่างกาย และบางรายอาจมีอาการคอแข็ง

คำจำกัดความ

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)  คืออะไร

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อหุ้มสมอง ที่มีชื่อเรียกว่า “ไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis)’ โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านสารคัดหลั่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามร่างกาย และบางรายอาจมีอาการคอแข็ง หลังแอ่น 

อย่างไรก็ตาม โรคไข้กาฬหลังแอ่น จัดเป็นโรคที่อันตราย เพราะระยะการติดเชื้อนั้นรวดเร็วมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

 พบได้บ่อยเพียงใด

โรคไข้กาฬหลังแอ่นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในทารก เด็ก และวัยรุ่น

อาการ

อาการของ โรคไข้กาฬหลังแอ่น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่ติดเชื้อ ดังต่อไปนี้ 

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่นมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า “ไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis)’ ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อโรคสายพันธุ์  A, B, C, D, X, Y, 29E นอกจากนั้น ยังมีสายพันธุ์ W135 Serogroups A, B, C  และ Y โดยเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งทางระบบทางเดินหายใจ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงไข้กาฬหลังแอ่น

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับการเกิดไข้กาฬหลังแอ่น ได้แก่

  • ทารกและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ  
  • กลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-19 และช่วงอายุ 15-24 ปี 
  • ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น
  • กลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่สัมผัสกับควันบุหรี่ 
  • ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยไข้กาฬหลังแอ่น

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย หลังจากนั้น แพทย์อาจจะมีการเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ เพื่อทำการวินิจฉัยยืนยันโรค

การรักษาไข้กาฬหลังแอ่น

หากผู้ป่วยเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะรีบทำการรักษา เพราะอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ในทันที โดยจะเริ่มจากการให้ยาปฏิชีวนะเพนิซิลิน (Penicillin) ทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงการใช้ยาและวิธีการรักษาอื่น ๆ เพื่อรักษาอาการข้างเคียงของผู้ป่วย 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือไข้กาฬหลังแอ่น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น มีดังต่อไปนี้ 

ในเบื้องต้นเราสามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น ได้ด้วยการฉีดวัคซีน  ซึ่งวัคซีนในประเทศไทยสามารถป้องกันโรคได้ 4 สายพันธุ์ คือ A, C, Y, W-135 โดยแบ่งวัคซีนออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ 

  • วัคซีนโปลิแซคคาไรด์ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด A และ C ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี และในผู้ใหญ่ ส่วนภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด C ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ดีเท่าใดนัก และวัคซีนชนิดโปลิแซคคาไรด์ไม่ได้ผลชัดเจนในเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด Y และW-135 สำหรับทุกช่วงอายุ
  • วัคซีนชนิดคอนจูเกต เป็นวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นชนิดใหม่ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ยาวนานขึ้น วัคซีนชนิดนี้สร้างขึ้นโดยรวมส่วนของโปรตีนเข้ากับโปลิแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นแคปซูลของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น 4 ชนิด ได้แก่ A, C, Y และ W-135 ให้ใช้ได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในบุคคลที่มีอายุระหว่าง 2-55 ปี

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

An Overview of Meningococcal Meningitis. https://www.webmd.com/children/meningococcal-meningitis-symptoms-causes-treatments-and-vaccines. Accessed March 26, 2021

Meningococcal disease. https://www.health.gov.au/health-topics/meningococcal-disease. Accessed March 26, 2021

Meningococcal disease fact sheet. https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/meningococcal_disease.aspx0. Accessed March 26, 2021

Meningococcal Meningitis. https://rarediseases.org/rare-diseases/meningococcal-meningitis/. Accessed March 26, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/04/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นไข้ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปวดหัวตุ๊บๆ สาเหตุ และวิธีรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา