backup og meta

ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 26/09/2021

    ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

    เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจต้องประสบปัญหาการเดินที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และโรคทางระบบประสาท ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจเดินช้า เดินลากเท้า และในรายที่รุนแรง อาจไม่สามารถเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุจึงควรสังเกตอาการและหาสาเหตุ เพื่อการรักษาและป้องกัน

    อาการของผู้สูงอายุเดินผิดปกติ

    อาการของความผิดปกติในการเดิน อาจมีอาการแตกต่างกันในแต่ละประเภท โดยอาการที่แสดงอาจมีดังนี้ 

    • สูญเสียความสมดุลในการเดิน หรือเสียการทรงตัว 
    • สูญเสียการควบคุมเคลื่อนไหวของการเดิน
    • ยืน หรือลุกนั่งลำบาก เมื่อจะลุกขึ้นยืนใช้เวลานานกว่าปกติและยากในการก้าวเท้าไปข้างหน้า 
    • เดินถอยหลังอย่างมีนัยสำคัญของโรคทางระบบทางประสาท
    • เดินช้าลง ที่อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแอ 

    ซึ่งอาการของการเดินที่ผิดปกติอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และประเภทการเดินผิดปกติ 

    ประเภทของความผิดปกติในการเดิน มีอะไรบ้าง

    ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น 

    • การเดินแบบพาร์กินสัน (Parkinsonian Gait หรือ Propulsive Gait) เป็นลักษณะที่อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีลักษณะการเดินลากเท้า ก้าวขาได้สั้น คอและศีรษะโน้มไปข้างหน้า การเดินผิดปกติประเภทนี้มักเกิดขึ้นชั่วคราว ขณะอยู่ในที่แคบหรือเห็นสิ่งกีดขวางในทางเดิน อาจเกิดปัญหาการก้าวขา การหมุนตัว หรือการเดินซอยเท้า สาเหตุอาจเกิดจากโรคพาร์กินสัน  
    • การเดินกระตุก (Spastic Gait) ขามีความอ่อนแอและแข็งผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง หรือเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดการเดินลากเท้า ซึ่งขาดความยืดหยุ่นของข้อเท้าและหัวเข่า พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
    • การเดินขาไขว้เหมือนกรรไกร (Scissors Gait) การทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายไม่สัมพันธ์กัน โดยขาทั้ง 2 ข้างจะเกร็งและหนีบเข้าหากันเหมือนกรรไกร ที่อาจทำให้ขาเกิดการชนกันระหว่างเดิน 
    • การเดินแบบปลายเท้าตก (Steppage Gait) อาจเกิดจากเส้นประสาทเท้าเป็นอัมพาต หรือกล้ามเนื้อขาลีบ ทำให้เวลาก้าวเดินจำต้องยกขาสูงขึ้น เพื่อไม่ให้ปลายเท้าขูดกับพื้น 
    • การเดินแบบเตาะแตะ (Waddling Gait) มีลักษณะการเดินที่คล้ายเป็ด หรือเด็กที่เพิ่งหัดเดินที่มีการกางแขน กางขาและเอียงตัวไปมา เกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง

    สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ 

    สาเหตุของการเดินผิดปกติอาจเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย โดยปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุได้ เช่น

  • อายุที่เพิ่มขึ้น การประสานงานกันของกล้ามเนื้ออาจมีความเสื่อมตามอายุ 
  • กรรมพันธุ์ 
  • อาการบาดเจ็บที่ขา เช่น การหกล้ม รวมถึงการใส่เฝือก
  • เส้นเอ็นที่ข้อเท้าอักเสบ
  • กระดูกที่ข้อเท้าหัก
  • หูชั้นในเกิดการติดเชื้อ
  • เนื้อเยื่อที่ขาเกิดการติดเชื้อ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
  • ปัญหาด้านการมองเห็น ที่อาจทำให้เกิดการเดินช้ากว่าปกติ 
  • ความผิดปกติของระบบประสาท 
  • ความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ 
  • เกิดจากการแผลผ่าตัดที่อาจทำให้เกิดท่าเดินผิดปกติ 
  • การป้องกันผู้สูงอายุเดินผิดปกติ

    การป้องกันผู้สูงอายุเดินผิดปกติในเบื้องต้น คือการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว และอาจช่วยในเรื่องของความคล่องตัว โดยองค์การอนามัยโรคแนะนำกิจกรรมออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง การปั่นจักรยาน การเดิน รวมถึงกีฬาที่สามารถช่วยในเรื่องของการทรงตัว อาจใช้เวลาเพียงวันละ 30 นาทีในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุควรมีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยขณะออกกำลังกาย เช่น อุปกรณ์ป้องกันข้อเข่า ไม้เท้า รองเท้าที่ใส่ไม่ควรคับแน่น หรือหลวมเกินไป และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการอยู่กับที่ หรือนั่งเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ หากไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายบ่อย ๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 26/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา