backup og meta

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่หาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ แม้โรค เพมฟิกอยด์ จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ก็มีวิธีรักษามากมายให้ได้เลือกใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณทำความรู้จักกับโรค เพมฟิกอยด์ เอาไว้ ก็จะทำให้สามารถสังเกตวามผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที

เพมฟิกอยด์ คือ

โรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนังหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้า ออกจากผิวหนังชั้นหนังแท้ แอนตี้บอดี้เหล่านี้ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง พองที่ขา แขน หน้าท้อง และเยื่อบุต่าง ๆ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ โรคเพมฟิกอยด์ 

สาเหตุของการเกิดโรค เพมฟิกอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ร่วมกับมีปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น เชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า เพมฟิกอยด์ มีความเสี่ยงสูงในวัยผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ หรือบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น

  • ยา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่อาจทำให้เกิดการเสี่ยงเป็นโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาในกลุ่มยาซัลฟาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
  • แสงและรังสี การรักษาด้วยแสงและรังสี เพื่อรักษาสภาพผิวบางอย่างอาจกระตุ้นอาการทำให้เกิดเป็นโรค เพมพิกอยด์ เช่นเดียวกับการรักษาด้วยรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

อาการของเพมฟิกอยด์

ผู้ป่วยจะเริ่มสังเกตเห็น ตุ่มน้ำใส บริเวณบนผิวหนัง ซึ่งขนาดตุ่มที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างกันไป ทั้งบนผิวหนังปกติหรือผิวหนังที่อักเสบแดง ลักษณะตุ่มน้ำนี้ จะเกิดบริเวณใต้ชั้นหนังกำพร้า หากสังเกตดูจะพบว่า ตุ่มน้ำค่อนข้างเต่งตึง ไม่แตกง่าย (Tense Bullae)

ดังนั้น จากลักษณะดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วย เพมฟิกอยด์ มักมีอาการคันร่วมด้วย และเมื่อตุ่มน้ำแตกอาจทำให้เกิดแผลถลอก เช่น มีสะเก็ดปกคลุมได้ ผู้ป่วยจึงต้องระมัดระวังการเกา เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ สำหรับลักษณะอาการของโรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ที่พบบ่อยที่สุด คือ การพองบริเวณ แขน ขา หน้าท้อง นอกจากนั้นก็ยังมีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • อาการคัน ผื่นแดงบริเวณผิวหนัง ก่อนที่จะเกิดเป็นแผล
  • ผิวหนังรอบแผลอาจเป็นปกติหรือมีรอยดำคล้ำ รอยแดง
  • แผลมีขนาดใหญ่และมีน้ำใส ๆ บางรายผิวหนังถลอกหรือเป็นแผล อาจเกิดอาการติดเชื้อเป็นหนอง
  • แผลตุ่มพองจะหนา เต่งตึง แตกตัวได้ยาก
  • แผลตุ่มพองที่ก่อตัวบนเยื่อเมือกซึ่งรวมถึง ปาก ตา จมูก       

ดูแลตัวเองเบื้องต้นจากโรค เพมฟิกอยด์ 

สำหรับการดูแลตัวเองเบื้องต้น หากคุณเป็นโรค เพมฟิกอยด์ สามารถทำได้ดังนี้

  • ดูแลทำความสะอาดร่างกายตัวเองอยู่เสมอ โดยใช้น้ำเกลือทำความสะอาด บริเวณที่เป็นแผล
  • สวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง ๆ ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูป เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหนัง และการระคายเคือง
  • งดรับประทานอาหารแข็ง อาหารที่มีรสจัด ของขบเคี้ยว อาจกระตุ้นการหลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการติดตามผลการรักษาและประเมินการรักษาอย่างต่อเนื่องกับแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด หรือ อากาศร้อน ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นทำให้แผลพุพอง

 กรณีที่มีตุ่มน้ำแตกเป็นแผล

  • ใช้น้ำเกลือ (Normal Saline) อมกลั้ว บ้วนปากบ่อย ๆ ทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  • แปรงฟันเบา ๆ ระมัดระวังเพื่อไม่ให้แผลถลอก
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด  

กรณีมีผื่นที่ผิวหนัง 

  • ห้ามนำสมุนไพรมาประคบ หรือพอกนอกเหนือจากคำสั่งจากแพทย์
  • ควรใช้น้ำเกลือ (Normal Saline) ทำความสะอาดแผลทุกครั้ง

การรักษาโรคเพมฟิกอยด์ 

แพทย์จะเริ่มให้ยาด้วยขนาดสูงก่อน เมื่ออาการเบาลงแล้วจะปรับลดขนาดยาลง โดยใช้ ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) เป็นยาหลักในการรักษาโรค เพมฟิฟอยด์ หากผู้ป่วย เพมฟิกอยด์ เกิดผลข้างเคียงระหว่างรับประทานยา ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือปรับเปลี่ยนใช้ยากลุ่มอื่นที่ใช้ในการบรรเทาอาการชองโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยากดภูมิคุ้มกัน (Cytotoxic Drugs)

ผู้ป่วยควรดูแลและระมัดระวังตนเอง โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการติดตามผลการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรค เพมฟิกอยด์ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอช่วยเหลือ และแพทย์จะได้เสนอแนะแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้อง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is Pemphigus? https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-is-pemphigus#1. Accessed March 06, 2019

pemphigoid bullous. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bullous-pemphigoid/symptoms-causes/syc-20350414. Accessed December 04, 2018

Bullous pemphigoid. (n.d.). aocd.org/skin/dermatologic_diseases/bullous_pemphigoid.html. Accessed September 21, 2017

Cicatricial pemphigoid. (2014). rarediseases.info.nih.gov/diseases/5913/cicatricial-pemphigoid. Accessed September 21, 2017

Mayo Clinic Staff. (2017). Bullous pemphigoid. mayoclinic.com/health/bullous-pemphigoid/DS00722. Accessed September 21, 2017

Pemphigoid. (n.d.). pemphigus.org/research/clinically-speaking/pemphigoid/. Accessed September 21, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/07/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร

โรคตับและอาการคัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา