สุขภาพจิตผู้สูงวัย

เมื่อสุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย นี่เองที่ทำให้การดูแล สุขภาพจิต เป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในผู้สูงวัย ที่สุขภาพจิตเสื่อมถอยตามวัย หากคุณอยากรู้ว่าควรดูแล สุขภาพจิตผู้สูงวัย อย่างไร ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เพื่อให้คนที่คุณรักมีสุขภาพจิตที่ดี

การ ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและใส่ใจ เพราะผู้สูงอายุคือคนในครอบครัวที่เรารัก ไม่เพียงแต่สุขภาพร่างกายที่เราต้องดูแลแต่การ ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ก็สำคัญเช่นกัน เพราะปัญหาสุขภาพจิตอาจส่งผลกระทบให้กับสุขภาพกายได้ ดังนั้นวันนี้เรามาเรียนรู้การ ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ กันดีกว่า เพื่อสุขภาพโดยรวมของคนที่คุณรักและรักคุณ สุขภาพจิตผู้สูงอายุ เมื่อถึงวัยผู้สูงอายุแน่นอนว่าเป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ทางสังคม และการนึกถึงความตายในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ปัญหาทางจิตใจมักเกิดจากความรู้สึกสูญเสีย โดยเฉพาะความสามารถของตนเอง ที่เคยเป็นที่พึ่ง เคยเป็นผู้นำ เคยเป็นที่ยอมรับและยกย่องจากคนรอบข้างและเพื่อนฝูง หรือปัญหาสุขภาพจิตอาจเกิดจากความสูญเสีย เช่น เพื่อนฝูงหรือคนในครอบครัว ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ ไม่สบายตามร่างกาย ปวดเมื่อย ไม่มีแรง นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เกิดปัญหาทางสังคม จนทำให้เกิดความเครียดภายในจิตใจ วิธี ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เลือกอาหารให้เหมาะสม ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการพลังงานน้อยลง เนื่องจากกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละละวันลดน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นจึงควรควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสมและพอเหมาะ จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน เพื่อลดการสะสมในร่างกายเนื่องจากไม่ถูกนำไปใช้ และควรเน้นอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อปลาให้มากขึ้น อีกทั้งเปลี่ยนวิธีทำเป็นพวกต้ม นึ่ง ย่าง อบ เป็นหลัก การกินข้าวร่วมกันกับครอบครัวถือเป็นการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุวิธีหนึ่ง เพราะเป็นโอกาสที่ดีในการพูดคุยกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเพื่อลดการแยกตัวอยู่คนเดียว รวมถึงร่วมกับสำรวจสภาพร่างกาย อารมณ์ของคนในครอบครัวได้อีกด้วย ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมจนเกินไป และถ้าหากมีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุควรเริ่มเต้นแบบแอโรบิคสัก […]

สำรวจ สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ความเครียด หรือภาวะทางจิต ซึ่งอาจทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและสังคม การสังเกต สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต รู้ทันสัญญาณเหล่านี้เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทัน ปัญหาด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ   องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2593 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากประมาณ 12% เป็น 22% สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปี พ.ศ. 2563 จำนวนผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 ผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เนื่องจากประมาณ 15% […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคนในผู้หญิง เรื่องจริง หรือแค่คิดไปเอง

ในช่วงวัยรุ่น เราอาจจะคาดหวังอนาคตไว้มากมาย ตั้งแต่การทำงาน ไปจนถึงการสร้างครอบครัว บางคนอาจจะประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ แต่บางคนอาจจะไม่ใช่แบบนั้น เรียกได้ว่า วิกฤตวัยกลางคนในผู้หญิง นี้เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงวัยกลางคนอาจจะต้องพบเจอ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังประสบกับปัญหาเหล่านั้น อยู่หรือเปล่า มาร่วมหาคำตอบได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ วิกฤตวัยกลางคน คืออะไร วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) ใช้เรียกช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในช่วงชีวิตวัยกลางคน (ช่วงอายุ 35 ถึง 55 ปี)  โดยมีลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือ ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง มีความสับสนทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก โดยคนเรานั้นอาจจะมีลักษณะของวิกฤตวัยกลางคนแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านการกระทำ และทางด้านความรู้สึก ตลอดไปจนถึงทางด้านมุมมองชีวิต ในบางครั้งวิกฤตวัยกลางคนนี้อาจใช้เวลานานหลายปี คนส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงความสับสนทางอารมณ์อย่างรุนแรง ในช่วงวัย 40 ขึ้นไป วิกฤตวัยกลางคนนี้อาจจะประกอบไปด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่สมัยก่อน ความไม่พึงพอใจใชชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน การสูญเสียโอกาส หรืออาจจะเป็นความหวาดกลัวต่ออนาคตที่ไม่แน่นอน และการแก่ตัวลง ในช่วงวัยรุ่น เราอาจจะมีความคาดหวังต่อชีวิตหลายๆ อย่าง แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ใช่ว่าทุกคนที่จะทำตามความฝันนั้นได้เสียทั้งหมด เมื่อเรามาถึงช่วงอายุ 40 ปี หลายคนจะเริ่มตระหนักว่าได้เดินทางมานานกว่าครึ่งชีวิต […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคน ภาวะที่อาจทำให้ชีวิต ผู้ชาย ต้องเสียศูนย์และสูญเสีย!!

การเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนุ่มสู่วัยที่เริ่มสูงอายุมากขึ้น เป็นช่วงวัยที่อาจทำให้ผู้ชายจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะที่เรียกกันว่า วิกฤตวัยกลางคน ซึ่งแม้สิ่งนี้จะไม่ใช่ “โรค” แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อทั้งการใช้ชีวิตและสุขภาพได้ โดยเฉพาะใน ผู้ชาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเพิกเฉยเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร คำว่า “วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis)” เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1965 โดย อีเลียต ฌาคส์ นักจิตวิเคราะห์ชาวแคนาดา โดยมักนำมาใช้เพื่อระบุถึงช่วงเวลาในชีวิตของคนเรา ขณะเปลี่ยนผ่านจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งบอกเราว่าเวลากำลังจะผ่านเราไปแล้ว และกระตุ้นให้เราต้องประเมินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราใหม่ และอาจเกิดผลกระทบทางอารมณ์หลายอย่าง ที่หากไม่สามารถรับมือได้ก็จะเกิดเป็น “วิกฤต” ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในแบบปัจจุบันทันด่วน อย่างไรก็ตาม ดร.แดน โจนส์ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการด้านสุขภาพจิต ของมหาวิทยาลัย Appalachian Stateในเมืองบูน รัฐนอร์ธแคโรไลน่า ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า วิกฤตวัยกลางคนไม่ใช่ภาวะโรคอย่างเป็นทางการ และวัยที่สามารถเกิดวิกฤตวัยกลางคนก็กว้างมาก โดยทั่วไปอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 35-55 ปี แต่ก็อาจเกิดกับผู้ชายในวัยหกสิบก็เป็นได้ โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ต่างก็สามารถเจอกับช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต หรือช่วงวัยวิกฤตได้เช่นเดียวกัน แต่การแสดงออกจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในผู้ชายด้วยกันเอง ก็อาจมีการแสดงออกที่ต่างกันไปได้ ทำไม “วัยกลางคน” จึงเกิด “วิกฤต”? ในช่วงวัย 35-55 ปี ผู้ชายมักพบกับแรงกดดันหลายอย่างในชีวิต การเลี้ยงดูครอบครัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน