การเดินเป็นวิธีรักษาสุขภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลือง เป็นการออกกำลังกายที่อิสระไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย แล้ว ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบกันเลย
การเดินออกกำลังกายมีกี่แบบ
การเดินออกกำลังกายมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
- เดินช้า คล้ายเหมือนการเดินเล่นทั่วไป หรือเป็นการเดินแบบจงกรม
- เดินเร็ว เป็นรูปแบบการเดินที่ง่าย และเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น
- Brisk walking คือ การเดินเร็วกว่าการเดินทอดน่องแบบธรรมดา
- Power Walking คือ การเดินในจังหวะที่เร็วกว่าการเดินปกติ หรือมีการเพิ่มก้าวเดินทีละน้อย โดยแกว่งแขนไปมาขณะเดินไปด้วย
- เดินแข่ง เดินเร็วจนพูดไม่เป็นคำ พูดคุยกันไม่ได้ศัพท์ เนื่องจากมีความเหนื่อยมากกว่าเดินช้ารวมถึงการเดินเร็ว เพราะมีความรู้สึกการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวข้อง
การเดินดีสำหรับผู้สูงอายุหรือไม่
คำตอบคือ ใช่ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ดี ๆ ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านร่างกาย สุขภาพ และสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีร่างกายแข็งแรงสามารถทำได้ โดยสำหรับผู้เริ่มต้น การเดินนั้นมีแรงกระแทกต่ำ หมายความว่าเป็นวิธีที่ง่ายต่อการออกกำลังกาย สามารถปรับสุขภาพ และ สมรรถภาพทางกายโดยรวม ซึ่งการเดินร่วมกับผู้อื่นก็ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าการเดินจะไม่ได้เผาผลาญพลังงานได้มากเท่ากับการออกกำลังกายแบบประเภทอื่น ๆ แต่การเดินก็ถือเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ สำหรับผู้สูงอายุ
สิ่งสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย คือ
การเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการเดินแม้ว่าการเดินอาจจะเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่มีรองเท้ากีฬาที่สวมใส่สบาย และพอดีกับเท้าของตนเอง รวมไปถึงถุงเท้าที่ดูดซับความชื้นซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เหงื่อออกจนมากเกินไปทำให้อึดอัด สิ่งสำคัญในการเดินออกกำลังกาย คือ ท่าเดิน ไม่ควรก้าวยาวเกินไป แกว่งแขนตามธรรมชาติ ไม่ก้มหรือเงยหน้าขณะเดิน ทุกคนสามารถออกกำลังกายด้วยวิธีการเดินได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้สูงอายุควรให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์แนะนำก่อนการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้สูงอายุกำลังจะไปออกกำลังกายคนเดียว อย่าลืมบอกให้เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวให้รู้ว่ากำลังจะไปที่ไหน
ประโยชน์ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย จะได้รับมีอะไรบ้าง
การเดินมีผลพอๆ กับการวิ่ง แถมการเดินยังลดอาการบาดเจ็บของร่างกายได้มากกว่าวิ่ง
- การเดินช่วยป้องกัน และลดความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบ
- ลดความเสี่ยงการพิการในผู้สูงอายุ รวมถึงการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ช่วยเรื่องสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด จากการศึกษาค้นพบว่าการเดินไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย หรือผู้หญิงก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง
- เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เดินเป็นประจำจะมีอาการป่วยน้อยกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลย
- เพิ่มอิสระในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ โดยไม่เป็นภาระกับลูก หรือหลาน
ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกายควรทำอย่างต่อเนื่องวันละ 30 นาที อย่างน้อย 4-5 วัน/สัปดาห์ เป็นการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินไป หากไม่สามารถเดินติดต่อกันได้นาน 30 นาที อาจแบ่งเป็นช่วง ช่วงละ 10-15 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลา โดยการเดินออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องออกกำลังอย่างหนัก หรือเดินนาน ๆ
[embed-health-tool-bmi]