backup og meta

ป้องกัน เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ด้วยการเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ป้องกัน เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ด้วยการเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสม

    คุณกำลังรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ ใต้ฝ่าเท้าอยู่หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าเดิน วิ่ง และโดยเฉพาะผู้ที่ทำกิจกรรมในการยืน หรือนั่งกับที่เป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิด เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ โดยที่คุณไม่รู้ตัว มารู้จักกับอาการนี้ไปพร้อมกับบทความของ Hello คุณหมอ ที่มีคำแนะนำในการเลือกรองเท้าสวมใส่อย่างเหมาะสมมาฝากทุกคนค่ะ

    รู้จักกับอาการ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

    เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis) มักมีอาการปวดในบริเวณฝ่าเท้าบน และด้านล่างช่วงส้นเท้า เหมือนกับมีคนกำลังเอาของมีคมมาทิ่มแทง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อนั้นหนาขึ้นเรียกสั้นๆ ได้ว่า พังผืด ที่เชื่อมต่อไปยังส้นเท้าด้านหลังที่ช่วยในการเคลื่อนตัว ทำให้เกิดอาการคล้ายเส้นยึดในบริเวณฝ่าเท้า และรู้สึกเจ็บ ส่วนมากอาการนี้มักพบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย

    สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บจนก้าวเท้าออกข้างนอกได้ยากนั้น อาจเป็นเพราะ การมีน้ำหนักเกินมาเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ชอบด้านการออกกำลังกายด้านการวิ่ง เช่น วิ่งมาราธอน รวมถึงการเลือกรองเท้าที่ใส่ในชีวิตประจำวันแบบผิดๆ จึงทำให้ฝ่าเท้าของคุณเกิดเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว

    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

    • อายุ : เอ็นฝ่าเท้าอักเสบพบได้มากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี หรือผู้ที่รักการออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อใต้เท้าเกิดการบวมอักเสบ
    • น้ำหนักเกินมาตรฐาน : เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่รองรับน้ำหนักเราแทบทั้งตัว จึงทำให้เมื่อเคลื่อนไหว หรือหักโหมในการทำกิจกรรมอย่างหนัก อาจทำให้ฝ่าเท้าเกิดตึงและปวดได้
    • อาชีพ : ในตำแหน่งหน้าที่ของการทำงานนั้น มีหลากหลายมากมาย และยังส่งผลให้เกิดอาการฝ่าเท้าอักเสบได้ เมื่อต้องยืน หรืออยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น ครู พนักงานแคชเชียร์ พนักงานห้าง คนงานในโรงงาน เป็นต้น

    วิธีรักษา เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ให้หายขาด

    การดูแลให้สุขภาพเท้าของคุณใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรเริ่มจากการรักษาน้ำหนักให้สมดุลกับฝ่าเท้าที่รับน้ำหนักคุณได้ไหว เลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสม หรือเมื่อเกิดอาการปวดเล็กน้อยให้ใช้น้ำแข็งประคบ และนวดบริเวณที่คุณปวดประมาณ 15 นาที

    แต่หากเกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง คุณควรรีบเข้ารับการรักษาทันที โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้อุปกรณ์อัลตร้าซาวด์ในการระบุตำแหน่งที่อักเสบ และอาจใช้วิธีการเหล่านี้เข้าช่วยร่วมด้วย

    • การรักษาแบบบำบัดกล้ามเนื้อของฝ่าเท้า
    • ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) , นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium)
    • ฉีดยาสเตียรอยด์
    • การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Extracorporeal shock wave therapy)
    • การผ่าตัดแยกพังผืดออกจากกระดูกเพิ่มความเคลื่อนไหว

     เคล็ดลับการเลือกรองเท้า เพื่อป้องกันเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

    1. เลือกรองเท้าที่มีความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกได้ดีเมื่อคุณต้องทำกิจกรรมที่ต้องมีการลงน้ำหนักฝ่าเท้า
    2. รองเท้าที่สวมใส่ต้องมีขนาด ไซส์ และรูปทรงที่เหมาะกับลักษณะเท้าของเรา
    3. สวมใส่ถุงเท้าทุกครั้งเพื่อถนอมฝ่าเท้า เมื่อต้องทำกิจกรรมอย่างหนักทั้งนอกบ้าน และในบ้าน
    4. รองเท้าที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง หรือตามแฟชั่นเสมอไป ควรเน้นที่ความสบาย และการใช้งานเป็นหลัก
    5. เมื่อรองเท้าที่คุณสวมใส่เสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะวัสดุที่รองรับแรงกระแทกอาจสึกหรอได้ตามกาลเวลา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา