backup og meta

ค่าความดันเลือดปกติ ของแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ในเกณฑ์ใด


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/07/2021

    ค่าความดันเลือดปกติ ของแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ในเกณฑ์ใด

    การวัดค่าความดันเลือด หรือความดันโลหิต คุณสามารถวัดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงแค่มีเครื่องวัดความดันแบบพกพา โดยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ของตัวเลขจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมี ค่าความดันเลือดปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

    ค่าความดันเลือดปกติ ของช่วงวัยผู้ใหญ่

    ปกติค่าความดันโลหิตมีหน่วยตามหลักสากลเป็น มิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มม. โดยตัวเลขแรกเป็นค่าความดันเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือกทางหลอดเลือด (Sustolic) และตัวเลขด้านหลังหมายถึงความดันเมื่อหัวใจหยุดนิ่ง (Diastolic) หากคุณวัดค่าความดันด้วยตัวเองแล้ว สามารถนำตัวเลขบนหน้ามอนิเตอร์มาเทียบกับเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ได้ เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง

    • ความดันโลหิตปกติ : ซิสโตลิก (Sustolic) ต่ำกว่า 120 มม. และ ไดแอสโตลิก (Diastolic) ต่ำกว่า 80 มม.
    • ความดันโลหิตสูง : ซิสโตลิก 120-129  มม. และไดแอสโตลิก ต่ำกว่า 80 มม.
    • ความดันโลหิตสูระยะที่ 1 : ซิสโตลิก 130-139  มม. และไดแอสโตลิก  80-89 มม.
    • ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 : ซิสโตลิก สูงกว่า 140 มม. และไดแอสโตลิก สูงกว่า 90 มม.

    ค่าความดันเลือดปกติ ของช่วงวัยเด็ก

    การวัดค่าความดันโลหิตสำหรับช่วงวัยเด็กมักค่อนข้างจัดเกณฑ์ได้ยากกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากจะแบ่งตามช่วงอายุ เพศ และส่วงสูงร่วม ทำให้การคำนวณด้วยเครื่องวัดความดันทั่วไปอาจได้แค่ผลลัพธ์คร่าว ๆ ออกมา ดังนี้

    ทารกแรกเกิด 

    • ซิสโตลิก 60-90 มิลลิเมตรปรอท
    • ไดแอสโตลิก 20-60 มิลลิเมตรปรอท

    ทารก

    • ซิสโตลิก 87-105 มิลลิเมตรปรอท
    • ไดแอสโตลิก  53-66 มิลลิเมตรปรอท

    เด็กวัยหัดเดิน

    • ซิสโตลิก 95-105 มิลลิเมตรปรอท
    • ไดแอสโตลิก 53-66 มิลลิเมตรปรอท

    เด็กก่อนวัยเรียน

    • ซิสโตลิก 95-110 มิลลิเมตรปรอท
    • ไดแอสโตลิก 56-70 มิลลิเมตรปรอท

    เด็กวัยเรียน

    • ซิสโตลิก 97-112 มิลลิเมตรปรอท
    • ไดแอสโตลิก 57-71 มิลลิเมตรปรอท

    วัยรุ่น

    • ซิสโตลิก 112-128 มิลลิเมตรปรอท
    • ไดแอสโตลิก 66-80 มิลลิเมตรปรอท

    เพื่อความแม่นยำอีกขั้นสำหรับการเช็กค่าความดันทั้งสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ คุณสามารถเข้าขอรับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อีกครั้งในโรงพยาบาลใกล้สถานที่อยู่อาศัยคุณ เพราะนอกจากจะทำให้รู้ตัวเลขค่าความดันแล้ว ยังอาจทราบสาเหตุของสภาวะสุขภาพที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ เช่น โรคหลอดเลือดผิดปกติ โรคหัวใจ โรคไต น้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นต้น

    คำแนะนำป้องกันความดันโลหิตสูง

    ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ของค่าความดันโลหิตจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ก็ควรมีการปรับพฤติกรรม เพื่อป้องกันไม่ว่าค่าความดันลหิตสูงขึ้นไปกว่าเดิม โดยสิ่งที่คุณควรปฏิบัตินั้นมีวีต่าง ๆ ดังนี้

    • จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • เพิ่มปริมาณการรับประทานผัก และผลไม้ พร้อมลดอาหารที่มีรสชาติเค็ม และโซเดียม หรือเกลือ
    • ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่อยู่มีน้ำหนักเกิน
    • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน
    • ลดการดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม
    • หยุดสูบบุหรี่

    หากคุณต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเองป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถเข้าติดต่อสอบถามจากแพทย์ได้ เพื่อรับข้อมูลอื่น ๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันร่วมสงเสริมสุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา