โรคจมูก

จมูก คือส่วนประกอบสำคัญของระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาทสัมผัส การดมกลิ่น เราจำเป็นต้องพึ่งพาจมูกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพของจมูกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ โรคจมูก รวมไปถึงการดูแลและการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากปัญหาจมูก ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคจมูก

หายใจไม่สะดวก เกิดจากอะไร และบรรเทาอาการได้อย่างไร

หายใจไม่สะดวก เป็นปัญหาการหายใจที่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อและสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้เยื่อจมูกเกิดการอักเสบ บวม และมีน้ำมูกมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก นอกจากนี้ อาการหายใจไม่สะดวกยังอาจเกิดจากความผิดปกติของกายภาพ และความรู้สึกที่ผู้ป่วยคิดว่าอากาศเข้าและออกทางจมูกได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น หากพบว่าอาการหายใจไม่สะดวกมีอาการแย่ลงหรือเกิดขึ้นเป็นเวลานานจึงควรเข้าพบคุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] หายใจไม่สะดวก เกิดจากอะไร อาการหายใจไม่สะดวก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่อาจพบได้บ่อย คือ เกิดจากการติดเชื้อหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น เป็นหวัด ไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้ ละอองเกสรดอกได้ มลพิษ ฝุ่น ซึ่งการติดเชื้อและสารก่อภูมิแพ้อาจทำให้เกิดการอักเสบภายในจมูก ส่งผลให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ำมูกเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้นเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ในบางกรณี ปัญหาการหายใจอาจเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง เช่น ไซนัสอักเสบเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา น้ำตาไหล แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงหวีด หายใจตื้น โดยอาการหายใจไม่สะดวกอาจแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุ ดังนี้ อากาศที่ผ่านเข้าและออกจากจมูกน้อยลง เกิดจากเยื่อบุจมูกบวม และปริมาณน้ำมูกที่มากขึ้น เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบไม่ใช่ภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ โรคริดสีดวงจมูก อากาศที่ผ่านเข้าและออกจากจมูกน้อยลง เกิดจากความผิดปกติของกายวิภาพ […]

สำรวจ โรคจมูก

โรคจมูก

เช็กด่วน! 6 อาการเสี่ยงสัญญาณเตือน ริดสีดวงจมูก

วันนี้ Hello คุณหมอ พาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “ริดสีดวงจมูก” กันค่ะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการแน่นจมูก หายใจลำบาก ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดปัญหาในการรับรสและกลิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าริดสีดวงจมูกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจนำภัยมาซึ่งสุขภาพของเราได้ เอาล่ะ! ลองมาเช็กกันดูสิคะว่า คุณมีอาการเข้าข่ายต่อการเป็นริดสีดวงจมูกหรือไม่ ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp) คืออะไร? ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp)  คือ เยื่อบุโพรงจมูก บริเวณโพรงจมูก มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ มีลักษณะเหมือนหยดน้ำหรือคล้ายเมล็ดองุ่น ทำให้จมูกเกิดอาการระคายเคือง บวม อักเสบ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกหายใจลำบาก มีปัญหาในการดมกลิ่น และการรับรส อย่างไรก็ตามริดสีดวงจมูกสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด ส่วนใหญ่มักพบในช่วงวัยกลางคนทั้งเพศชายและหญิง  สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก ปัจจุบันยังไม่มีการระบุที่แน่ชัดว่าแท้จริงแล้วริดสีดวงจมูกนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ได้มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยริดสีดวงจมูกมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดริดสีดวงจมูกได้ ดังนี้ โรคหอบหืด เป็นโรคที่ทำให้ระบบทางหายใจเกิดการอักเสบได้ง่าย การแพ้ยา เช่น การแพ้ยาแอสไพริน (Aspirin) ไซนัสอักเสบจากเชื้อรา เช่น อาการแพ้เชื้อราในอากาศ โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic Fibrosis) โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่อาจส่งผลให้โพรงจมูกผลิตของเหลวออกมาเหนียวข้นกว่าปกติ โรคหลอดเลือดอักเสบในปอด หรือ โรคอีโอสิโนฟิลิก โพลีแองจิไอติส (Churg-Strauss Syndrome […]


โรคจมูก

ไขข้อข้องใจ ทำไม จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง บางครั้งไม่ได้กลิ่น เกิดจากอะไรกันแน่

Hyposmia เป็นอาการได้กลิ่นน้อยลง บางครั้งอาจสูญเสียการได้กลิ่นไปเพียงบางส่วน แต่บางครั้งก็ไม่ได้กลิ่นเลย ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องน่ารำคาญ แต่จริงๆ แล้วอาการนี้สามารถส่งผลร้ายแรงได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาการได้กลิ่น จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง จริงๆ แล้วเกิดจากอะไรกันแน่ จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง มีสาเหตุมาจากอะไร Hyposmia เป็นอาการที่จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง บางครั้งก็ไม่สามารถรับกลิ่นได้เลย ซึ่งมีสาเหตุมากจากหลายปัจจัย ดังนี้ ภูมิแพ้ ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน ได้รับบาดเจ็บ การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด โพรงจมูกผิดรูป ไซนัสเรื้อรัง การสูบบุหรี่ ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาสุขภาพฟัน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่เกิดจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะหลายชนิดรวมถึง ampicillin และ tetracycline ยากล่อมประสาทบางชนิดเช่น amitriptyline ยาแก้แพ้บางชนิดเช่น loratadine ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่ การสูญเสียการรับกลิ่นอาจรวมถึง การได้รับสารเคมีบางชนิดในระยะยาว การสูบบุหรี่ การใช้ยา เช่น โคเคน การรักษาด้วยรังสี สำหรับโรคมะเร็ง บริเวณศีรษะและลำคอ เงื่อนไขที่อาจเกี่ยวข้องกับจมูกรับกลิ่นได้น้อยลง จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง นอกจากจะทำให้เรามีปัญหาในเรื่องของการดมกลิ่นแล้ว การที่จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง ยังเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอีกมากมาย เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) โรคอัลไซเมอร์ จากผลการวิจัยที่ได้ทำการศึกษาในปี 2013 โดยมีผู้เข้าร่วมหารวิจัยจำนวน 50 คน พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ที่มีโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้น อาจมีการสูญเสียการได้กลิ่นบางส่วน การที่บางคนสูญเสียการได้กลิ่น หรือรับรู้กลิ่นได้น้อยลงนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเสมอไป ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการได้กลิ่นเช่น โรคอ้วน […]


โรคจมูก

จมูกไม่ได้กลิ่น อย่ามัวนิ่งนอนใจ อาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงได้

จมูกถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายเรา นอกจากจะทำหน้าที่หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายแล้ว จมูกยังมีอีกหน้าที่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือ การรับกลิ่น ซึ่งบางครั้งกระบวนการรับกลิ่นก็อาจทำงานได้ไม่ดีนัก เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพหรือไลฟ์สไตล์บางอย่าง เช่น ไข้หวัด โรคภูมิแพ้ การสูบบุหรี่ หรืออายุที่มากขึ้น แม้ปัญหา จมูกไม่ได้กลิ่น จะดูเป็นภาวะที่พบได้บ่อย แต่หากเกิดขึ้นแล้ว คุณก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงถึงชีวิตได้ กระบวนการรับกลิ่น กับภาวะจมูกไม่ได้กลิ่น ระบบรับกลิ่นของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มจากโมเลกุลในสสาร เช่น น้ำหอม ดอกไม้ เข้าสู่จมูกและไปกระตุ้นเซลล์รับกลิ่น (olfactory cells) ที่อยู่บริเวณเพดานช่องจมูก จากนั้นเซลล์ดังกล่าวก็จะส่งข้อมูลหรือกระแสประสาทผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง แล้วสมองก็จะแปลข้อมูลว่ากลิ่นที่เข้ามากระทบในจมูกนั้นเป็นกลิ่นอะไร แต่หากมีปัจจัยบางอย่างมารบกวนกระบวนการดังกล่าว เช่น อาการคัดจมูก ภาวะช่องจมูกอุดตัน เซลล์ประสาทถูกทำลาย ก็จะทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น หรือมีภาวะสูญเสียการรับกลิ่น (Anosmia) ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการรับรสได้ด้วย เพราะเมื่อไม่ได้กลิ่น ต่อมรับรสของเราก็จะรับรสชาติได้เพียงแค่ไม่กี่รสเท่านั้น จมูกไม่ได้กลิ่น เป็นเพราะอะไรกันนะ ภาวะจมูกไม่ได้กลิ่น หรือ สูญเสียการรับกลิ่น มักเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ช่องจมูกหรือโพรงจมูกอุดตัน เนื่องจากเนื้องอก ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp) กระดูกในโพรงจมูกหรือผนังกั้นช่องจมูกผิดรูป เยื่อเมือกในจมูกระคายเคือง เนื่องจากไซนัสอักเสบ ไข้หวัด การสูบบุหรี่ ไข้หวัดใหญ่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคจมูกอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ (Non-Allergic […]


โรคจมูก

หายใจไม่สะดวก คัดจมูกบ่อยๆ อาจมีสาเหตุมาจาก ผนังกั้นช่องจมูกคด

ผนังกั้นช่องจมูกคด เกิดขึ้นเมื่อผนังจมูกมีการผิดรูป 1 ข้าง ซึ่งทำให้รูเข้าอากาศของรูจมูกข้างหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกข้างหนึ่ง ซึ่งบางคนมีอาการคดมากจนอากาศที่เข้าไปในร่างกายได้น้อย และหายใจได้ยาก วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการผนังกั้นช่องจมูกคดว่าเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated Nasal Septum) คืออะไร ผนังกั้นช่องจมูกเป็นกระดูกอ่อนที่อยู่ตรงกลางระหว่างรูจมูกทั้ง 2 ข้าง โดยปกติแล้วผนังกั้นจะแบ่งรูจมูกทั้งสองข้างได้อย่างเท่าๆ กัน แต่ในบางกรณีจะมีการกั้นที่ผิดรูป รูจมูกข้างหนึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีผนั้งกั้นช่องจมูกแบ่งได้ไม่เท่ากัน หรือมีความเล็กใหญ่แตกต่างกันมากจะเรียกว่าผนังกั้นช่องจมูกคด ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น จมูกตัน หายใจลำบาก หรืออาจเป็นต้นเหตุของอาการนอนกรน  โดยปกติแล้วร้อยละ 80 ของคนทั่วไปนั้นผนังกั้นช่องจมูกจะมีความเอียงแต่สำหรับผู้ที่ผนังกั้นช่องจมูกมีความเอียงมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือส่งผลกระทบต่อร่างกายควรเข้ารีบการปรึกษาจากแพทย์เพื่อหาวิธีในการรักษาต่อไป เมื่อ ผนังกั้นช่องจมูกคด จะมีอาการอย่างไร สำหรับคนที่มีอาการผนังกั้นช่องจมูกคด นั้นจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนที่มีสัดส่วนการคดที่น้อยก็อาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ส่วนคนที่มีสัดส่วนการคดมากจะมีอาการต่างๆ ดังนี้ หายใจลำบาก โดยรูจมูกข้างหนึ่งหายใจได้สะดวกกว่าอีกข้าง เลือดกำเดาไหล มีการติดเชื้อไซนัส จมูกแห้ง มีอาการนอนกรน นอนหายใจดัง มีอาการคัดจมูก หรือมีความดันในจมูกผิดปกติ สำหรับบางคนอาจจะมีอาการปวดที่บริเวณหน้า เพราะข้างที่รูจมูกเล็กจะมีแรงดันในการหายใจมากกว่าปกติ เมื่อหายใจก็อาจส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณหน้าได้ สำหรับคนที่เลือดกำเดาไหลบ่อยๆ หรือมีการติดเชื้อไซนัสควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการรักษา สาเหตุของผนังกั้นช่องจมูกคด การที่ผนังกั้นช่องจมูกคดโดยมากแล้วมักจะเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่ก็มีสาเหตุอย่างอื่นได้อีก เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อจมูก จมูกได้รับความกระทบกระเทือนจนกระทั่งมีความคด งอ หรืออาจจะเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น มวย หรือกีฬาอย่างอื่นๆ […]


โรคจมูก

เลือดกำเดาไหลออกจากจมูกส่วนไหนกันแน่

เลือดกำเดาไหล หมายถึงอาการที่มีเลือดไหลออกจากจมูก ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้ แม้ว่าอาการเลือดกำเดาไหลนั้นอาจจะดูน่ากลัว แต่โดยปกติแล้วมักจะไม่เป็นอันตรายใดๆ มีใครรู้บ้างว่าแท้จริงแล้วนั้น เลือดกำเดาไหลออกจากส่วนไหนของจมูก เข้าใจถึงโครงสร้างของจมูก โครงสร้างของจมูกนั้นประกอบด้วย กระดูกและกระดูกอ่อนภายใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดและรูปร่างของจมูก ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ภายในและด้านหลังจมูกจะช่วยในการหายใจ กระดูกทำหน้าที่รองรับส่วนสะพานจมูก และกระดูกอ่อนส่วนบนรองรับด้านข้างจมูก กระดูกอ่อนส่วนล่างช่วยกำหนดความกว้าง ความสูง ฐานรอบๆ จมูก และกำหนดรูปร่างของรูจมูกและปลายจมูก ภายในโพรงจมูกนั้นจะมีช่องกลวงภายในด้านหลังของจมูกเพื่อให้อากาศไหลผ่านได้ ส่วนผนังกลางจมูก (Septum) ที่สร้างขึ้นมาจากกระดูกอ่อนและกระดูกนั้นคั่นกลางระหว่างรูจมูกทั้งสอง ส่วนกระดูกม้วน (Turbinates) ที่ด้านข้างจมูกแต่ละด้านมีลักษณะเป็นแนวกระดูกโค้งที่เชื่อมต่อกับเยื่อเมือก ทำหน้าที่เพิ่มความอุ่นและความชื้นให้กับอากาศที่ไหลผ่านเข้ามา โพรงจมูกหรือไซนัส (Sinuses) คือช่องกลวงด้านข้างจมูกที่ช่วยให้อากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ โดยปกติ น้ำมูกจะออกมาจากโพรงจมูกและไหลออกจากจมูกผ่านทางรูจมูก เลือดกำเดาไหล มาจากตรงไหนกันแน่ เลือดกำเดาไหลมาได้จาก 2 จุดภายในจมูก คือบริเวณส่วนด้านหน้าของจมูก (Anterior) และส่วนด้านหลังของจมูก (Posterior) และสามารถระบุแหล่งที่มาของเลือดกำเดาไหลได้โดยการแยกแยะจากจุดบริเวณที่เลือดกำเดาไหลออกมา เลือดกำเดาไหลจากจมูกส่วนหน้า (Anterior nosebleeds) เป็นลักษณะของเลือดกำเดาไหลส่วนใหญ่ ผนังกลางจมูกที่คั่นระหว่างรูจมูกทั้งสองรูนั้นมีหลอดเลือดฝอยซึ่งเปราะบางอยู่มากมาย เมื่อหลอดเลือดฝอยนั้นแตกเนื่องจากแรงกระแทกที่จมูก หรือจากการแคะจมูก ก็จะทำให้มีเลือดกำเดาไหลออกจากหลอดเลือดฝอยนั้น เลือดกำเดาไหลจากจมูกส่วนหลัง (Posterior nosebleeds) เลือดกำเดาไหลชนิดนี้พบได้น้อย จุดกำเนิดของเลือดกำเดาไหลอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดที่คือด้านหลังของจมูก โดยมักจะไหลลงสู่ลำคอแม้ว่าเราจะนั่งหรือยืนก็ตาม เลือดกำเดาชนิดนี้พบได้มากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการบาดเจ็บบนใบหน้า การแยกแยะระหว่างเลือดกำเดาไหลทั้งสองประเภทนั้นอาจจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเลือดกำเดาไหลทั้งสองประเภทล้วนแล้วแต่จะไหลลงคอถ้าหากเงยหน้าหรือนอนหงาย ดังนั้น เมื่อมีเลือดกำเดาไหล […]


โรคจมูก

ข้อเท็จจริงอันน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับ จมูก และการรับกลิ่นของคนเรา

จมูก เป็นอวัยวะบนใบหน้าอย่างหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ที่สำคัญของชีวิต มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กลิ่นและสุขภาพโดยรวม ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นจากจำนวนกลิ่นที่จมูกรับรู้ได้ บทความนี้จะทำให้คุณทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริง 5 ประการเกี่ยวกับ จมูก และการรับรู้กลิ่นที่อาจทำให้คุณประหลาดใจได้ ข้อเท็จจริง 1 : คนเราสามารถจำแนกกลิ่นที่แตกต่างกันได้อย่างน้อยหนึ่งล้านล้านกลิ่น การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ จากมหาวิทยาลัยร็อคกี้เฟลเลอร์ ในสหรัฐฯ เผยว่า คนเราสามารถดมกลิ่นที่แตกต่างกันได้ อย่างน้อยหนึ่งล้านล้านกลิ่น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เมื่อกลิ่นเข้าไปในจมูก กลิ่นจะเดินทางไปยังโพรงจมูกส่วนบน ไปสู่ร่องรับกลิ่น (olfactory cleft) เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่อยู่ในบริเวณนี้ มีตัวรับกลิ่นที่หลากหลาย ซึ่งสามารถตรวจจับกลิ่นต่างๆ กัน เมื่อเส้นประสาทถูกกระตุ้น จะส่งสัญญาณไปยังสมอง ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะที่สามารถตรวจจับได้ กลิ่นวานิลลา กลิ่นส้มในบางรูปแบบ อบเชย สีเทียน และคุกกี้ อยู่ในกลุ่มกลิ่นซึ่งเป็นที่พึงปรารถนามากที่สุด ข้อเท็จจริง 2 : คุณสามารถได้กลิ่นความกลัวและความรังเกียจ จากการศึกษาเมื่อปี 2012 เราสามารถได้กลิ่นความรู้สึกกลัวและรังเกียจผ่านทางเหงื่อ แล้วสามารถรู้สึกได้ถึงอารมณ์แบบเดียวกัน มีการเก็บตัวอย่างเหงื่อจากผู้ชายขณะที่รู้สึกกลัวและรังเกียจ จากนั้น นักวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง ดมกลิ่นตัวอย่างเหงื่อโดยที่ไม่รู้ตัว และสังเกตการเคลื่อนไหวของดวงตา และการแสดงออกทางสีหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชายในการศึกษานี้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกลิ่น และไม่สูบบุหรี่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน