โรคหู

หู คือส่วนสำคัญในประสาทการรับฟังเสียง หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับหู ก็อาจส่งผลกระทบต่อการรับฟัง และทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเกิดปัญหาขึ้นได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหู ตั้งแต่โรคที่พบได้บ่อย ตลอดไปจนถึงการดูแลรักษาสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคหู ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหู

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

สำรวจ โรคหู

โรคหู

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction)

ท่อยูสเตเชียน เป็นท่อที่อยู่ภายในช่องหูที่เชื่อมต่อระหว่างโพรงจมูกหลังหูและหูชั้นกลาง มีหน้าที่หลักในการช่วยควบคุมระดับความดันในหู และระบายของเหลวที่อยู่ด้านในออก แต่ถ้าหากเกิดกรณีที่ ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ จนผลกระทบต่อการได้ยิน คุณอาจสามารถค้นหาสาเหตุเบื้องต้นได้ จากบทความของ Hello คุณหมอ นี้ที่นำมาฝากกันทุกคนได้เลยค่ะ คำจำกัดความท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ คืออะไร ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction ; ETD) คือ การที่ภายในหูชั้นกลางเกิดการอุดกั้นเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ความดันอากาศที่ผ่านเข้าภายในหูเวลาบดเคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร หรือหาว เพิ่มระดับขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น เช่น หูอื้อ ปวดหู ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีอาการป่วยเป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า นั่งเครื่องบิน อาการอาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาการอาจแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ รู้สึกเหมือนมีน้ำขังในหู หูอื้อ ได้ยินเสียงรอบข้างไม่ชัดเจน รู้สึกปวดหู และบริเวณรอบหู มีอาการเวียนศีรษะ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด โดยปกติ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาจหายไปได้เอง โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่หากเป็นกรณีที่มีการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการปวดหูนานเกิน 2 สัปดาห์ […]


โรคหู

หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)

หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) หรือเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อคือ โรคหูน้ำหนวก คือการอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่บริเวณหูชั้นกลาง จนบวม แดง คำจำกัดความหูชั้นกลางอักเสบ คืออะไร หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือ โรคหูน้ำหนวก คือการอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่บริเวณหูชั้นกลาง จนเกิดอาการบวม แดง และมีการสะสมของเหลวขึ้นที่บริเวณแก้วหู หูชั้นกลางอักเสบ พบบ่อยแค่ไหน โรคหูชั้นกลางอักเสบ เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่โดยมากแล้วมักจะพบอาการหูชั้นกลางอักเสบได้ในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกอายุตั้งแต่ 6-15 เดือนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ อาการอาการของ หูชั้นกลางอักเสบ อาการโดยทั่วไปของ โรคหูชั้นกลางอักเสบ มีดังนี้ อาการหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก ปวดหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนอนราบกับพื้น มีอาการกระตุกที่หู เด็กมักจะดึงหูบ่อยผิดปกติ มีปัญหาด้านการนอนหลับ ร้องไห้มากกว่าปกติ มีอาการงอแง มีปัญหาด้านการได้ยิน มีปัญหาด้านการตอบรับต่อเสียงที่ได้ยิน สูญเสียความสมดุล มีไข้สูงประมาณ 38 องศาหรือมากกว่า มีของเหลวไหลออกจากหู ปวดศีรษะ ไม่ค่อยกระหายน้ำ อาการหูชั้นกลางอักเสบในผู้ใหญ่ ปวดหู มีของเหลวไหลออกมาจากหู สูญเสียการได้ยิน ได้ยินไม่ค่อยชัด อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาคุณหมอ ควรพบหมอเมื่อใด หากมีอาการหรือสัญญาณของหูชั้นกลางอักเสบ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ มีอาการหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าหนึ่งวัน มีอาการหูชั้นกลางอักเสบในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน มีอาการปวดหูอย่างรุนแรง เด็กที่มีอาการหูชั้นกลางอักเสบนอนหลับได้น้อย หรือมีอาการหงุดหงิดหลังจากมีไข้หรือเป็นหวัด มีของเหลว น้ำหนอง หรือของเหลวที่ปนเลือดไหลออกมาจากหู สาเหตุสาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบ อาการของ โรคหูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ซึ่งมักเป็นอาการที่พบได้หลังเป็นหวัด หรือเมื่อเป็นหวัด หรือเมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ในสภาวะดังกล่าว เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสสามารถที่จะเดินทางเข้าสู่หูชั้นกลางผ่านท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและบริเวณลำคอ แบคทีเรียหรือไวรัสจะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้ท่อยูสเตเชียนบวมและอุดตันจนของเหลวที่เกิดขึ้นในหูชั้นกลางไม่สามารถจะระบายออกไปได้ เมื่อของเหลวดังกล่าวไม่สามารถระบายออกได้ก็จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตจนกระทั่งเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดอาการบวม แดง และปวดตามมา ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดหูชั้นกลางอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ […]


โรคหู

เยื่อแก้วหูทะลุ เป็นอันตรายไหม แล้วจะรักษาได้หรือเปล่า

หูของคนเราจะมีแก้วหูหรือเยื่อแก้วหูบาง ๆ ทำหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวกลางคอยรับแรงสั่นสะเทือนต่าง ๆ ที่ถูกส่งผ่านเข้ามาในรูหู แต่ถ้าเยื่อแก้วหูได้รับแรงสั่นสะเทือนหรือได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนักหรือรุนแรงก็จะก่อให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เยื่อแก้วหูทะลุ ซึ่งเป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดขึ้นได้หากไม่ระวังหรือได้รับอุบัติเหตุแบบไม่ทันตั้งตัว Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จักกับ อาการเยื่อแก้วหูทะลุ ให้มากขึ้นค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] เยื่อแก้วหูทะลุ เกิดจากอะไร อาการเยื่อแก้วหูทะลุ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ การติดเชื้อในหู การติดเชื้อในหูเป็นสาเหตุสุดคลาสสิคของ อาการเยื่อแก้วหูทะลุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อวัยวะต่าง ๆ มีความบอบบาง จึงเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อเกิดการติดเชื้อภายในช่องหู ก็จะส่งผลให้มีของเหลวสะสมอยู่ในหูชั้นกลางเป็นจำนวนมาก และแรงดันจากของเหลวเหล่านี้นี่แหละที่เสี่ยงจะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ การบาดเจ็บจากแรงกดดัน อาการบาดเจ็บเนื่องจากแรงกดดัน (Barotrauma) เกิดขึ้นเมื่อความดันของอากาศภายในหูกับความดันของกาศภายนอกไม่สมดุลกัน มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่สภาพแวดล้อมรอบตัวมีแรงดันหรือแรงกดอากาศสูงอย่างกะทันหัน เช่น เวลาดำน้ำ เวลาที่มีคนมาเป่าลมโดยตรงที่หู การขึ้นเครื่องบิน การบาดเจ็บบริเวณหู อุบัติเหตุใดก็ตามที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงที่บริเวณหูหรือข้างศีรษะ สามารถก่อให้เกิด อาการเยื่อแก้วหูทะลุ ได้ เช่น การตบหู การพลัดตก หกล้ม การเดินชน หรือการถูกตีแรง ๆ ที่ข้างศีรษะ เสียงดัง เสียงดังจากเครื่องเสียง เสียงดังจากการตะโกน เสียงดังจากหูฟัง เสียงดังจากการยิงปืน หรือเสียงของระเบิด เสียงใด ๆ ก็ตาม ที่ดังมากและดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน แรงสั่นสะเทือนจากเสียงนั้นเสี่ยงที่จะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ การนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เรานำเข้าหู ไม่ว่าจะเป็น สำลีก้าน ที่แคะหู […]


โรคหู

คันหูก็ต้อง แคะหู แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี และแคะหูบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด

คันหูไม่รู้เป็นอะไร แต่ถ้าขี้หูเยอะไป อาจถึงเวลาที่จะต้อง แคะหู ได้แล้ว แต่การแคะหูที่ดูเป็นเรื่องทั่วไปนี้ ก็จำเป็นจะต้องทำให้ถูกวิธีเหมือนกัน เพราะอาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อหูได้หากไม่ระวัง หรือทำไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาบอกวิธีแคะหูที่ถูกต้องกันค่ะ  ทำไมถึงต้อง แคะหู ขี้หู เป็นสิ่งที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นจากการสะสมเอาทั้งสิ่งสกปรก แบคทีเรีย หรือเศษซากเล็กน้อยต่างๆ หมักหมมกันจนมีลักษณะคล้ายกับขี้ผึ้งหรือที่เราเรียกว่าขี้หูนั่นเอง ตามปกติแล้วขี้หูสามารถกำจัดออกไปได้ผ่านกลไกธรรมชาติของร่างกายที่เรียกว่าการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของอวัยวะช่วงกราม เช่น การเคี้ยวอาหาร การดูดน้ำ การเป่า หรือแม้แต่การสนทนากัน แต่กระบวนการนี้อาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อยกว่าที่ขี้หูจะออกมาจากหูได้หมด ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดเอาขี้หูออกไปก็คือการแคะหูนั่นเอง เพราะถ้าปล่อยให้ขี้หูหมักหมมเป็นจำนวนมากต่อไปเรื่อยๆ จะมีผลต่อการสะสมสิ่งสกปรกเอาไว้กับตัว อาจมีผลต่อการได้ยิน และทำให้เสียบุคลิกภาพได้ด้วย แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี การแคะหูก็จำเป็นต้องใช้ศิลปะในการแคะหูเหมือนกับการแกะสลักหรือการทำงานประดิษฐ์อื่นๆ เพราะถ้าแคะแรงไปก็เสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ แต่ถ้าแคะเบาไปก็อาจจะไม่สามารถกำจัดขี้หูออกไปได้หมด ดังนั้นเพื่อให้การแคะหูเป็นไปด้วยความปลอดภัยและถูกต้องตามหลักของการทำความสะอาดหู วิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหู เพื่อที่จะได้รับการดูแลและทำความสะอาดหูอย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุด อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถไปพบคุณหมอได้ ก็ยังสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ที่บ้านแบบง่ายๆ  เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหูภายนอก บริเวณใบหูทั้งหน้าและหลัง ใช้ดรอปเปอร์หรือที่หยดน้ำ หยดเบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ลงไปในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความชื้นและอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้โดยง่าย เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ค่อยๆ แหย่ก้านสำลีหรืออุปกรณ์แคะหูเข้าไปทีละนิดด้วยความเบามือ เมื่อแคะขี้หูออกมาได้มากที่สุดแล้ว ทำความสะอาดหูด้วยน้ำสะอาดหรือเบบี้ออยล์อีกครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง ข้อควรระวังเมื่อต้องแคะหูด้วยตนเอง ใส่ใจเรื่องของอุปกรณ์ หากเลือกใช้สำลีก้านในการแคะหู ควรเช็กความแน่นของสำลีเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้สำลีเกิดการหลุดออกจากก้านขณะที่กำลังแคะหู […]


โรคหู

การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน

ปัจุบัน หูฟัง แทบจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่เราแทบจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะขึ้นรถไฟฟ้า วิ่งที่สวนสาธารณะ หรือออกกำลังกายที่ฟิตเนส ทุกคนล้วนใช้หูฟังแทบจะตลอดเวลา บางครั้งขณะทำงานเราก็เปิดเพลง ใส่หูฟังไปด้วย แต่บางครั้งหลายคนอาจจะใช้หูฟังแบบผิดๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำใน การใช้หูฟัง อย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากกันค่ะ การใช้หูฟัง ทำให้สูญเสียการได้ยินได้หรือไม่ การที่ต้องเผชิญกับเสียงดังๆ อย่างในผับ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งในร้านคาราโอเกะ รวมไปถึงการใช้หูฟัง เปิดเพลงดัง ๆ เป็นเวลานาน กิจกรรมการได้รับเสียงดัง ๆ เหล่านี้ หากได้รับเสียงที่ดังในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อหู หรือเกิดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินได้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประมาณการไว้ว่าประชากรหนุ่มสาวกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกนั้น อาจมีความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน จากในจำนวนนี้ ผู้ที่อายุ 13-35 ปี จำนวนมากว่า 43 ล้านคนใช้มีปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งจำนวนร้อยละ 50 นั้นสูญเสียการได้ยินจากปัญหาในการใช้หูฟัง ใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ทำได้อย่างไร การใช้หูฟังให้มีความปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ระดับความดัง ระยะเวลาในการใช้งาน และความถี่ที่ได้รับ ปัจจัยทั้งสามนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งการได้รับเสียงดัง ในระยะเวลาสั้น อาจมีค่าเท่ากับการได้รับเสียงที่เบาลงแต่ได้รับนานขึ้น ระดับเสียงสูงสุดที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย […]


โรคหู

ขี้หูอุดตันปัญหาที่ไม่ควรละเลย

ขี้หู (Earwax) เป็นของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นตามปกติและมีความสำคัญ หลายคนชอบแคะหูเพราะรู้สึกว่าขี้หูนั้นน่ารังเกียจจนต้องกำจัดออก แต่ทราบหรือไม่ว่าวิธีนี้กลับส่งผลให้เกิดอาการ ขี้หูอุดตัน ทำให้อาจจะได้ยินไม่ชัดเจน เพราะขณะแคะหูก็กลายเป็นการดันขี้หูเข้าไปนั่นเอง ขี้หูอุดตันที่สะสมในรูหู (Cerumen Impaction) ขี้หูอุดตันที่สะสมในรูหู (Cerumen Impaction) เกิดจากการสะสมของขี้หูที่อยู่บริเวณหูชั้นนอก ซึ่งมีลักษณะแห้งและแข็งจนไม่สามารถหลุดออกได้เองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็นภาวะอุดตันในรูหู ขี้หูอุดตันได้อย่างไรกัน โดยปกติขี้หูจะช่วยในการดักจับฝุ่นละออง เศษผง หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กไม่ให้เข้าไปในรูหูด้านใน รวมทั้งช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญภายในรูหูอย่างเช่น “แก้วหู” ไม่ให้ถูกทำลาย จากนั้นขี้หูก็จะเกิดการหลุดลอกออกมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะแห้งและร่วงไปเองโดยไม่ต้องใช้วิธีการแคะออก ทั้งนี้หากมีขี้หูมากเกินไปหรือไม่สามารถหลุกออกได้เองตามปกติ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการขี้หูอุดตันได้ ซึ่งพบว่ามักจะมีสาเหตุมาจากการใช้สำลีพันก้านหรือ คอตตอนบัด เช็ดในช่องรูหูและดันขี้หูเข้าไปในข้างในลึกมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีช่องหูตีบแคบอันเกิดจากการติดเชื้อหรือโรคผิวหนัง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง ที่อุดหู หรือหูฟังแบบสอดเข้าไปในหู ก็มีผลทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้เช่นกัน 5 อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีขี้หูอุดตัน รู้สึกหูอื้อข้างที่อุดตัน มีอาการปวดหู การได้ยินลดลง ได้ยินเสียงดังเกิดขึ้นภายในหู มีอาการคันในบริเวณหูหรืออาจจะมีของเหลวไหลออกจากหู อีกทั้งอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไอและเวียนศีรษะ อาการที่กล่าวมานี้บ่งชี้ได้ถึงการอุดตันของขี้หู ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจภายในช่องหู เพราะอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน รักษาได้ แค่ใช้เครื่องดูดขี้หูจริงรึเปล่า วิธีรักษาอาการขี้หูอุดตันด้วยการใช้ “เครื่องดูดขี้หู” เป็นวิธีที่น่าสนใจ โดยแพทย์เฉพาะทางในด้านหู คอ จมูก หรือที่เรียกว่าโสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngologist) จะใช้เครื่องมือสำหรับดูดขี้หูโดยเฉพาะ ซึ่งประกอบไปด้วยที่ดูดขี้หู อุปกรณ์คีบหรือเขี่ย และอุปกรณ์อื่นๆ ทางการแพทย์ ระหว่างที่แพทย์ดูดขี้หูนั้น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการคัน […]


โรคหู

เสียงแว่วในหู แค่คิดไปเอง หรือ เกิดความผิดปกติกับ "หู"

Tinnitus หรืออาการ เสียงแว่วในหู เป็นการที่เราได้ยินเสียงแว่วในหู ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถพบได้โดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วมักจะพบเพียงร้อยละ 15-20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น การสูญเสียการได้ยินเมื่อายุมากขึ้น การได้รับบาดเจ็บที่หู หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิต แม้อาการ เสียงแว่วในหูนั้นสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น แต่ก็ไม่ได้มีความร้ายแรงใดๆ ส่วนใหญ่แล้วอาการจะรุนแรงขึ้นตามอายุ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการนี้มาฝากกันค่ะ อาการของ เสียงแว่วในหู อาการเสียงแว่วในหู นั้นเป็นอาการที่เราจะสามารถรับรู้หรือได้ยินเสียงในหู แต่จะไม่มีเสียงที่เกิดขึ้นจริงภายนอก หรือคนอื่นๆ จะไม่ได้ยินเสียงในหูของเรา โดยแต่ละคนจะได้ยินเสียงในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ เสียง วิ้งๆ เสียงเหมือนแมลงกระพือปีก เสียงคำราม เสียงคลิกๆ เหมือนคลิกคีย์บอร์ด หรือการเคาะ เสียงฟ่อๆ เหมือนงูขู่ เสียงอื้ออึง ซึ่งเสียงที่เราได้ยินนั้น จะได้ยินอย่างหลากหลาย ทั้งเสียงต่ำและเสียงสูง บางคนอาจจะได้ยินจากหูเพียงข้างเดียว แต่สำหรับบางคนนั้นอาจจะได้ยินทั้ง 2 ข้าง บางคนที่ได้ยินหนักๆ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ โดยจะสนใจเสียงในหูโดยไม่สนใจเสียงรอบๆ ข้าง ส่วนอาการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปบางครั้งก็เป็นๆ หายๆ บางครั้งก็ดังนานติดต่อกัน สาเหตุของอาการ เสียงแว่วในหู ปัญหาทางสุขภาพๆ หลายๆ อย่างสามารถทำให้เกิดอาการเสียงแว่วในหูได้ หรือทำให้อาการเสียงแว่วในหูแย่ลงได้ แต่เหตุผลที่แท้จริงของการเกิดอาการเสียงแว่วในหูนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งสามารถที่พบได้โดยทั่วไป คือ เสื่อมตามอายุ ในหลายๆ คน ความสามารถในการได้ยินนั้น […]


โรคหู

เอ๊ะ! ปวดหู แบบนี้รู้ไหมว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการ ปวดหู นั้นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาภายในหูหรืออาจจะเกิดจากภายนอกก็ได้ ซึ่ง อาการปวดหูจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิด บางครั้งอาการปวดหูอาจเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดหัว วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาเหตุของการเกิดอาการปวดหูมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ สาเหตุของอาการ ปวดหู มีอะไรบ้างนะ อาการปวดหูมีสาเหตุได้ทั้งจากปวดจากภายในหูและปวดนอกหู ซึ่งสาเหตุของอาการปวดหูนั้นสามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ 2 รูปแบบ คือ สาเหตุหลัก กับ สาเหตุรอง สาเหตุหลักของการ ปวดหู อาการปวดภายในหู หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการที่หูชั้นกลางมีการติดเชื้อที่บริเวณเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดอาการบวม บางครั้งอาจมีของเหลวไหลออกมาจากหู ซึ่งผู้ที่มีอาการหูชั้นกลางอักเสบ จะมีอาการปวดลึก ๆ ในหู มีอาการคัดจมูก ไอ หรืออาจจะมีไข้อ่อน ๆ ร่วมด้วย หูชั้นนอกอักเสบ หูชั้นนอกอักเสบเป็นการติดเชื้อบริเวณช่องหู ซึ่งมักจะมีอาการคัน รู้สึกหูตัน ๆ และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อดึงหู ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยหลังจากที่ว่ายน้ำ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Swimmer Ear เนื่องจากขณะที่ว่ายน้ำ น้ำเข้าไปในหูและคั่งอยู่ ไม่สามารถออกมาได้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ อีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้ คือการใช้สำลีก้าน หรือใช้อุปกรณ์ในการแคะหูแหย่เข้าใปในรูหู ขี้หูตัน ขี้หู มีไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละออง น้ำ […]


โรคหู

จู่ ๆ ก็ หูดับเฉียบพลัน แบบกะทันหัน ภาวะอันตรายที่คุณควรระวัง

อาการหูดับโดยทั่วไป ใช้ระยะเวลาเพียงไม่เท่าไหร่ก็กลับมาเป็นปกติได้ แต่อาการ หูดับเฉียบพลัน ร้ายแรงกว่าหูดับแบบธรรมดา เพราะคุณอาจหูดับไปตลอด และไม่ได้ยินเสียงอีกเลย Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่าน ไปรับทราบข้อมูลน่ารู้เรื่องนี้กันค่ะ หูดับเฉียบพลัน เป็นอย่างไร หากจะพูดถึงอาการหูดับ อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ และสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น ฟังเพลงโดยเปิดเสียงดังมากจนเกินไป หรือไปในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมากกว่าปกติ สถานการณ์เหล่านี้ เป็นเหตุให้มีอาการหูดับขึ้นมาได้ แต่ถ้าอยู่ ๆ เกิดหูดับขึ้นมากะทันหันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ไม่ว่าจะดับเพียงข้างเดียว หรือสองข้างก็ตาม (แต่โดยมากจะเกิดแค่เพียงข้างเดียว) คุณควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะนั่นเป็นสัญญาณอันตรายที่ไม่ควรละเลย สาเหตุที่เกิดอาการหูดับชนิดเฉียบพลัน อาการหูดับไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดเมื่อปีหรือสองปีที่ผ่านมา แต่ทว่า…จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของอาการหูดับแบบเฉียบพลันได้ว่าเกิดจากอะไร แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง โรคแพ้ภูมิตัวเอง ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางชนิดที่ใช่รักษาโรคมะเร็ง หรือรักษาอาการติดเชื้อชนิดรุนแรง ปัญหาการไหลเวียนของโลหิต ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เส้นเลือดตีบ ความผิดปกติที่หูชั้นใน เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการ หูดับเฉียบพลัน สัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าคุณกำลังจะมีอาการหูดับเฉียบหลันนั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีสัญญาณใด ๆ ทางสุขภาพที่แสดงออกมาให้รับรู้ได้ มีเพียงความผิดปกติทางการได้ยินเท่านั้น ที่ทำให้คุณสามารถที่จะเดาออกว่า คุณกำลังอยู่ในสภาวะหูดับแบบเฉียบพลัน โดยอาจมีการหูดับทันทีในครั้งเดียว หรือค่อย ๆ ดับลงในระยะเวลา 2-3 […]


โรคหู

หูอื้อ ทำไงดี สาเหตุ และวิธีการแก้หูอื้ออย่างมีประสิทธิภาพ

อาการหูอื้อ อาจจะเป็นอาการที่ ไม่ว่าใครก็คงเคยเป็นกันสักครั้งหนึ่ง และหลายคนอาจจะไม่ให้ความสนใจกันเสียเท่าไหร่ เพราะคิดว่าอาการนี้ไม่เป็นอันตรายอะไร เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่ถ้าหากอาการ หูอื้อ ไม่ยอมหายไปเสียที เราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ หาคำตอบได้จากบทความของ Hello คุณหมอนี้ อย่างไรจึงจะเรียกว่า หูอื้อ หูอื้อ หมายถึงอาการที่เราจะได้ยินเสียงลดลง หรือได้ยินเสียงอื่น เช่น เสียงดังหึ่ง ๆ อยู่ในหู เป็นเวลาติดต่อกัน อาการหูอื้อนั้นเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ มากมาย เสียงแว่วที่ได้ยินนั้นอาจจะมีตั้งแต่เสียงก้องต่ำๆ ไปจนถึงเสียงหวีดแหลม ๆ และอาจได้ยินในหูข้างเดียว หรือได้ยินพร้อมกันทั้งสองข้าง แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วอาการหูอื้อนั้นจะไม่เป็นอันตรายอะไร นอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น แต่ในบางครั้ง อาการหูอื้อนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการนอนหลับ และอาจกลายเป็นตัวรบกวนทางจิตใจได้ รบกวนสมาธิของคุณ หรือทำให้คุณไม่สามารถได้ยินเสียงภายนอกได้อย่างชัดเจน เราอาจมีอาการหูอื้ออยู่ตลอดเวลา หรือเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้ อาการหูอื้อนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการหูอื้อแบบได้ยินอยู่คนเดียว (Subjective tinnitus) อาการนี้หมายความว่าไม่มีเสียงเกิดขึ้นจริง มีเพียงตัวผู้ที่มีอาการหูอื้อเท่านั้นที่ได้ยิน  อาการหูอื้อประเภทนี้เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด และอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสาทการได้ยิน อาการหูอื้อแบบคนอื่นได้ยินด้วย (Objective tinnitus) อาการนี้หมายถึงการเกิดเสียงที่แพทย์สามารถได้ยินด้วยในขณะที่ทำการตรวจร่างกาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน