backup og meta

ขี้หู ลักษณะต่าง ๆ บอกอะไรได้บ้าง

ขี้หู ลักษณะต่าง ๆ บอกอะไรได้บ้าง

ขี้หู เป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนช่วยให้หูของเราแข็งแรงมากขึ้น หน้าที่ของขี้หู คือ ป้องกันสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปในช่องหู ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้ คอตตอนบัด ทำความสะอาด เพราะหูเป็นอวัยวะที่ทำความสะอาดตัวเองได้ พร้อมทั้งผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วให้หลุดออกมาเอง

ลักษณะขี้หู ของแต่ละคน จะมีความนุ่ม แข็ง เป็นสะเก็ด หรือสีที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สีเหลือง สีขาว สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำ ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ ของก็ขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความแตกต่างของขี้หูมาให้อ่านกัน ลักษณะขี้หู ของแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาติดตามกัน

[embed-health-tool-heart-rate]

ขี้หู คืออะไร

ขี้หู (Ear wax) คือ สิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมา โดยผลิตออกมาจากต่อมซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นนอกประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ไขมัน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และสารคัดหลั่งที่ผลิตจากต่อมขี้หูที่อยู่บริเวณในรูหู

คุณสมบัติของขี้หู มีลักษณะเป็นกรดอ่อน ๆ และมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค ไม่ละลายน้ำ ทำให้สามารถเคลือบผิวหนังที่เปราะบางภายในรูหู และช่องหูชั้นนอกไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดในช่องหูได้ โดยปกติแล้วจะเคลื่อนตัวหลุดออกมาได้เอง

ลักษณะขี้หู บอกอะไรได้บ้าง

โดยปกติแล้วขี้หู จะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตามพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อายุ และอาหารที่เรารับประทาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบเปียกและแบบแห้ง แต่จริง ๆ แล้ว ลักษณะขี้หู มีดังนี้

  • ขี้หูเปียก ส่วนใหญ่มักจะพบได้ในคนผิวขาว (Caucasians) และคนแอฟริกัน (Negroid)
  • ขี้หูแห้ง ทั่วไปมักพบในคนอเมริกัน ชนเผ่าอินเดียแดง ชาวเกาะมหาสมุทรแปซิฟิก และคนเอเชียหรือมองโกลอยด์ (Mongoloid)นอกจากลักษณะความแห้งและเปียกแล้ว สี ก็สามารถบ่งบอกได้เช่นกัน
  • ขี้หูสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นมานานแล้ว จึงทำให้ได้สีเข้มเพราะฝุ่น ความสกปรก และแบคทีเรียถูกดักจับไว้ ในผู้ใหญ่จะมีสีที่เข้มและแข็งกว่าเด็ก
  • ขี้หูที่มีสีน้ำตาลเข้มปนแดง เป็นการปนเปื้อนของเลือดออกมาด้วย เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า หู มีอาการบาดเจ็บหรือเลือดออก
  • ขี้หูสีน้ำตาลอ่อน ส้ม หรือสีเหลือง แสดงว่าช่องหูของเรามีสุขภาพที่ดี แข็งแรง
  • ขี้หูสีขาวหรือซีดมีลักษณะเป็นแผ่น ๆ คนที่มีขี้หูลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่าร่างกายผลิตแอลลีลด้อย (Allele) ซึ่งจะทำให้เซลล์ไม่สามารถหลั่งไขมันออกมาได้ จึงเป็นลักษณะของขี้หูแห้ง มีผลทำให้ไม่ค่อยมีกลิ่นตัวด้วย เนื่องจากการผลิตไขมันที่น้อยลง
  • ขี้หูสีเข้มและเหนียว ที่รักแร้และขาหนีบจะมีต่อมเหงื่อประเภท ต่อมอะโพไครน์ (Apocrine Glands) ที่หลั่งเหงื่อ โปรตีน ไขมัน ต่างจากต่อมเหงื่อตามตำแหน่งอื่น ๆ ของร่างกาย กลิ่นตัวเกิดจากการที่แบคทีเรียกับไขมันที่หลั่งออกมาจากต่อมเหงื่อบริเวณนั้น ๆ การควบคุมการหลั่งไขมันออกนอกเซลล์ของต่อมเหงื่อก็ถูกควบคุมด้วยยีนส์ (Gene) เดียวกันกับการสร้างขี้หู เลยทำให้คนที่มีขี้หูเปียกมักจะมีกลิ่นตัว

ปัจจัยที่ทำให้มี ขี้หู มาก

ปกติแล้วร่างกายของคนเรารู้ว่า ควรผลิตขี้หูออกมาในปริมาณเท่าไร หากคุณมีการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีสุขอนามัยที่ดี มีการขยับบริเวณกรามอยู่เสมอ โดยการเคี้ยวอาหารหรือการพูด หูก็จะขับขี้หู สิ่งสกปรกออกมาโดยธรรมชาติ

แต่ถ้าหากเรามีการแคะหู หรือพยายามเอาขี้หูออกมาเอง การทำแบบนี้จะทำให้ร่างกายพยายามที่จะสร้างขี้หูออกมาอีก เพื่อป้องกันการดักจับสิ่งสกปรก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการได้ยิน ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา

นอกจากนี้ ความเครียดและความกลัวยังทำให้มีการผลิต ขี้หู เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต่อมอะโพไครน์ (Apocrine Glands) ที่ผลิตเหงื่อเป็นต่อมเดียวกันที่ผลิตขี้หูด้วย เมื่อเกิดความกลัวหรือความเครียดทำให้ร่างกายเราผลิตเหงื่อมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการผลิตเหงื่อก็จะมีการผลิตขี้หูตามมา และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ร่างกายผลิตขี้หูเพิ่มมากขึ้นด้วย คือ

  • คนที่มีขนในหูเยอะ
  • คนที่เป็นโรคหูอักเสบเรื้อรัง
  • ช่องหูมีรูปที่ผิดปกติไปจากเดิม
  • ผู้สูงอายุ

วิธีการทำความสะอาดหู

วิธีการทำความสะอาดหู มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • เช็ดทำความสะอาดหูด้วยผ้าชุบน้ำสบู่ที่มีความอุ่น หรืออาบน้ำด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขี้หูเกิดความอ่อนตัวแล้วไหลออกมาเอง
  • ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดหู ที่ได้การรับรองจากแพทย์ สะอาด ปลอดภัย
  • ตรวจสุขภาพช่องหูเป็นประจำทุกปี เพื่อทดสอบความผิดปกติ หรือสังเกตอาการได้อย่างทันที
  • ปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น การได้ยิน อาการเจ็บปวดที่หู หรือมีเลือดไหลออกจากหู

ข้อควรระวังเกี่ยวกับหู

  • ใช้คอตตอนบัด  (Cotton Bud)  เครื่องมือที่มีความคม โดยพยามยามที่จะเขี่ยหรือแคะขี้หูออกมาด้วยตัวเอง เพราะการทำแบบนี้ยิ่งทำให้เกิดการดันขี้หูเข้าไปในช่องหูให้ลึกกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ขี้หูไม่สามารถหลุดออกไปได้เองตามธรรมชาติ บางครั้งอาจร้ายแรงถึงทิ่มแรงถึงแก้วหูได้
  • การใช้เทียนละลายขี้หู (Ear Candling) การใช้เทียนไขสอดเข้าไปในรูหูแล้วจุดไฟอีกด้านหนึ่งเพื่อให้ขี้หูไหลออก เป็นเรื่องที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าสามารถทำได้จริง และการทำอย่างนี้อาจทำให้ผิวเกิดการไหม้จากไฟ อุดตัน แก้วหูทะลุ และการบาดเจ็บอื่น ๆ ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

what you need to know about earwax
https://www.healthyhearing.com/report/52679-What-you-need-to-know-about-earwax?fbclid=IwAR158WB1RzfoWgoFKtMDVPEq82zL2XWXTYvoQGSkKdvOViGyrfcqkkrc2Ek
Accesed November 15 , 2018

what does your earwax color mean? https://www.healthline.com/health/earwax-color Accesed November 15 , 2018

Earwax might be a bigger health issue than you think
https://www.healthline.com/health-news/ear-wax-might-be-a-bigger-health-hazard-than-you-think Accesed November 15 , 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีทำความสะอาดหู สำหรับลูกน้อยให้ปลอดภัยห่างไกลการติดเชื้อ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา