backup og meta

สูตรน้ำใบบัวบก

สูตรน้ำใบบัวบก

อกหัก ช้ำใน ใครต่อใครก็มักจะบอกให้ไปกินใบบัวบกแก้ช้ำ แต่จริง ๆ แล้วใบบัวบกมีประโยชน์มากกว่าการนำมาดื่มกินแก้ช้ำรัก เพราะใบบัวบกจัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา สามารถใช้บรรเทาหรือรักษาอาการทางสุขภาพได้หลายชนิด วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ สูตรน้ำใบบัวบก เพื่อสุขภาพ ให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้นำไปลองทำค่ะ 

สูตรน้ำใบบัวบก

ส่วนผสม สูตรน้ำใบบัวบก (สำหรับเสิร์ฟ 1-2 แก้ว)

ใบบัวบก (หั่นหยาบ ๆ ) 1/2 ถ้วย
น้ำต้มสุก 2 ถ้วย
น้ำเชื่อม 1/4 ถ้วย

ส่วนผสมสำหรับทำน้ำเชื่อม

น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
น้ำ 1/4 ถ้วย

อุปกรณ์

เครื่องปั่น ที่กรอง หม้อต้ม ช้อน แก้ว

วิธีทำ

  • นำใบบัวบกมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำใบบัวบกที่ล้างสะอาดแล้วไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำครึ่งส่วน ปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำ 
  • นำน้ำตาลทรายกับน้ำมาเคี่ยวจนข้นเป็นน้ำเชื่อม แล้วนำน้ำใบบัวบกที่คั้นได้ มาใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามใจชอบ

หากไม่ต้องการความหวานมาก สามารถลดระดับของน้ำเชื่อมลงได้ เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง  และถ้าหากคุณต้องการดื่มแบบชื่นใจ ก็สามารถเติมน้ำแข็งหรือนำไปแช่เย็นก่อนดื่มได้เช่นกัน

ใบบัวบก-ประโยชน์-สูตรน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก…มีดีกว่าแก้ช้ำใน

อุดมด้วยสารอาหารสำคัญ

ใบบัวบก ถึงจะจิ๋ว แต่ก็อัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสุดแจ๋ว ให้ทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญมากมาย การรับประทานใบบัวบก 100 กรัม จะได้สารอาหารสำคัญ ดังนี้

  • แคลเซียม 171 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 5.6
  • โพแทสเซียม 391
  • วิตามินเอ 442 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี 48.5 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.19 มิลลิกรัม

บำรุงความจำและระบบประสาท

ใบบัวบก มีสรรพคุณช่วยเสริมความจำและกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองที่ทดสอบถึงประสิทธิภาพของใบบัวบกในการรักษาอัลไซเมอร์ โดยจากการทดลองกับหนูที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease; AD) พบว่า สารสกัดจากใบบัวบกให้ผลลัพธ์ที่ดีต่ออาการของอัลไซเมอร์ ช่วยลดความเป็นพิษในระบบประสาท

อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อหาผลลัพธ์และความเชื่อมโยงสรรพคุณของใบบัวบกกับการรักษาหรือป้องกันอัลไซเมอร์

ลดอาการวิตกกังวล

ใบบัวบก มีสารไตรเทอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) ที่มีส่วนช่วยลดอาการวิตกกังวล และเสริมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพจิต จากผลการวิจัยเมื่อปีค.ศ. 2000 ที่ได้รับการเผยแพร่ลงใน Journal of Clinical Psychopharmacology พบว่า ผู้ป่วยด้วยโรควิตกกังวลมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับประทานสารสกัดจากใบบัวบก อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อการยืนยันในผลลัพธ์ต่อการบรรเทาอาการวิตกกังวล

บรรเทาอาการนอนไม่หลับ

หลายคนที่มีอาการนอนไม่หลับ อาจจะด้วยความเครียด หรือความวิตกกังวลต่าง ๆ การรับประทานใบบัวบก หรือสารสกัดจากใบบัวบก มีส่วนช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ แต่จำเป็นจะต้องได้รับคำสั่งยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

รักษาบาดแผล

นักสมุนไพรกล่าวว่า ใบบัวบกมีสรรพคุณที่ดีต่อการรักษาบาดแผล การใช้ผ้าพันแผลที่มีใบบัวบกแปะทับอยู่ด้วย มีส่วนช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น หรือมีอาการดีขึ้นได้ เนื่องจากใบบัวบกมีสารไตรเทอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง กระตุ้นการทำงานและการสร้างหลอดเลือดใหม่ในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผล จึงทำให้แผลสมานตัวได้ดีขึ้น

ดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต

จากผลการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (Chronic Venous Insufficiency หรือCVI) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อผนังหรือวาล์วของหลอดเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่หรือผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตจึงทำงานผิดวงจรไปจากเดิม  ทำให้เลือดไหลเวียนกลับไปสู่หัวใจได้ยาก

แต่..ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับสารสกัดใบบัวบก เนื่องจากสารไตรเทอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) มีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ (Cardiac Glycoside) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นและการหดตัวของหัวใจ ลดคราบไขมันในเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ปกติ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

สูตรน้ำใบบัวบก. http://www.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=1279. Accessed on October 26, 2020.

The Health Benefits of Gotu Kola. https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-gotu-kola-89566. Accessed on October 26, 2020.

Everything You Need to Know About Gotu Kola. https://www.healthline.com/health/gotu-kola-benefits. Accessed on October 26, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง

ผัก 10 ชนิด ที่ดีที่สุดบนโลกใบนี้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 27/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา