backup og meta

คุมแคลอรี่ วิธีช่วยควบคุมน้ำหนักได้แบบไม่ต้องทรมานตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    คุมแคลอรี่ วิธีช่วยควบคุมน้ำหนักได้แบบไม่ต้องทรมานตัวเอง

    คุมแคลอรี่ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สามารถลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ทำให้รู้สึกหิวโหยอยู่ตลอดเวลา และยังไม่เสียสุขภาพเหมือนการอดอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ

    เทคนิคการ คุมแคลอรี่ เพื่อการลดน้ำหนัก

    ตัดแคลอรี่ที่ไม่จำเป็นออกไป

    สำรวจสิ่งที่กำลังกินหรือดื่มเข้าไปให้ถ้วนถี่ ว่ามีสิ่งใดเกินความจำเป็นต่อร่างกายบ้าง อย่างเช่น เติมครีมเข้าไปในกาแฟหรือเปล่า นั่นจะทำให้มีแคลอรี่เพิ่มขึ้นถึง 100 แคลอรี่ต่อถ้วยเชียวนะ ทาครีมชีสลงบนขนมปังปิ้งในตอนเช้าๆ หรือเปล่า? ครีมชีสหนึ่งช้อนทำให้มีแคลอรี่เพิ่มขึ้น 150 แคลอรี่ นอกจากนี้ก็ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมด้วย

    เลือกกินของว่างให้เหมาะ

    การปล่อยให้ท้องหิวในระหว่างมื้อไม่ส่งผลดีต่อร่างกายเลยนะ เพราะนั่นอาจจะทำให้กินแบบไม่ยั้งในมื้อต่อไปได้ ฉะนั้น จึงควรหาอะไรมาทำให้ท้องอิ่มแบบมีประโยชน์หน่อย โดยอาจเลือกข้าวโพดคั่วแบบไม่ใช้น้ำมันหรือเนย แทนมันฝรั่งทอด เลือกกินผลไม้แทนขนมหวาน หรือถ้าชอบกินอะไรจิ้ม ๆ ก็ลองกินผักดิบจิ้มกับน้ำสลัดแบบแคลอรี่ต่ำดูก็ได้

    ลดปริมาณให้น้อยลง

    ควรระวังในเรื่องปริมาณเอาไว้ให้ดี เนื่องจากปริมาณยิ่งเยอะ ก็ยิ่งมีไขมันและแคลอรี่เยอะตามไปด้วย ถ้ากินอะไรที่ดูมีปริมาณน้อยไป ก็ลองจับคู่เข้ากับสลัดผักหรือสั่งผักนึ่งเพิ่มก็ได้ แต่ควรระวังเรื่องน้ำสลัดเอาไว้หน่อย เนื่องจากน้ำสลัดอาจทำให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพ กลายเป็นอาหารแย่ๆ ขึ้นมาในพริบตา

    ดื่มน้ำเยอะๆ

    เวลาที่รู้สึกหิวน้ำนั้น ร่างกายอาจส่งสัญญาณที่ทำให้สับสน โดยนึกว่าเป็นการหิวอาหารได้ ซึ่งถ้ารู้สึกหิว แต่ยังไม่ถึงเวลากิน ก็ลองดื่มน้ำเข้าไปซักหนึ่งแก้วก่อน แล้วรอประมาณ 15 นาทีเต็มๆ ถ้าอาหารหิวนั้นหายไป ก็แสดงว่าร่างกายแค่ต้องการน้ำเท่านั้นแหละ นอกจากนี้น้ำยังทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้นด้วย ฉะนั้น ก็ดื่มน้ำเยอะๆ ในระหว่างที่กินอาหาร

    ไม่ควรงดอาหารเช้า

    การงดอาหารเช้าไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายหรอกนะ หลังจากที่นอนหลับพักผ่อนมาตลอดทั้งคืน ร่างการก็ต้องการพลังงานที่เหมาะสม ฉะนั้น จึงนับเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องกินอาหารเช้า ไม่ว่าเป็นขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี โยเกิร์ตแคลอรี่ต่ำ หรืออะไรเบาๆ ที่ดีต่อสุขภาพ

    ลองกินอาหาร GI ต่ำ

    GI ย่อมาจาก Glycaemic Index ซึ่งก็คือดัชนีที่ใช้ในการวัดค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือด อาหารที่มี GI ต่ำ จึงเป็นอาหารที่ร่างกายดูดซึมได้ช้า จึงช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้น ซึ่งอาหารชนิดนี้ก็ได้แก่ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ พืชตระกูลถั่ว กล้วย องุ่น ลูกแพร์ เชอร์รี่ ส้ม กีวี แอปเปิ้ล และลูกพีช

    ตามใจปากเป็นบางครั้ง

    ถ้าเคร่งครัดต่อการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป โดยไม่ยอมเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ซักอย่างสองอย่างล่ะก็ ก็มีแนวโน้มที่จะกินอะไรแบบไม่ยั้งได้ ควรใช้ชีวิตได้อย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ฉะนั้น ก็ควรกินอะไรที่ดีต่อสุขภาพในวันปกติ แล้วอาจจะชิมพิซซ่าซักชิ้นสองชิ้นในคืนวันศุกร์ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญก็คือปริมาณที่เหมาะสม

    หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

    วิธีลดแคลอรี่ง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งก็คือ การกำจัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลออกไปจากเมนูอาหาร ซึ่งก็รวมถึงน้ำอัดลม น้ำผลไม้ นมผสมช็อกโกแล็ต รวมทั้งเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลต่างๆ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลนั้น มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นมากถึง 60% ถึงแม้น้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติในปริมาณเล็กน้อย จะไม่ส่งผลร้ายแรงอะไรต่อร่างกาย แต่เครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลเข้านั้น นับเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

    กินโปรตีนเยอะ ๆ จะช่วยลดความอยากลงได้

    เพื่อพูดถึงเรื่องการลดน้ำหนักแล้วล่ะก็ โปรตีนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากการเพิ่มโปรตีนเข้าไปในอาหารนั้นเป็นเรื่องง่าย และทำให้การลดน้ำหนักประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ ซึ่งการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรตีนจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้กับร่างกาย และช่วยควบคุมความรู้สึกอยากอาหารได้ด้วย

    เนื่องจากโปรตีนต้องการพลังงานในการเผาผลาญ อาหารที่มีโปรตีนสูงจึงสามารถเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่ได้ถึงวันละ 80-100 แคลอรี่ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สามารถลดแคลอรี่ลงได้ด้วยการเพิ่มโปรตีนเข้าไปในอาหารเท่านั้นเอง แล้วเชื่อเถอะว่าสามารถลดหรือควบคุมน้ำหนักได้อย่างสบาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา