backup og meta

ยาถ่าย รับประทานแล้วลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่?

ยาถ่าย รับประทานแล้วลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่?

ยาถ่าย (Laxative Drug) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นวิธีในการลดน้ำหนัก เพราะเชื่อว่าการขับถ่ายจะช่วยให้น้ำหนักลดลง พุงยุบ มีหน้าท้องที่แบนราบได้  แต่ความจริงแล้ว ยาถ่ายขับได้เพียงกากอาหาร หรือของเสียที่ตกค้างภายในลำไส้เท่านั้น ไม่สามารถขับไขมันหรืออาหารที่ร่างกายดูดซึมไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากรับประทานยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ลดลง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ระดับเกลือแร่เสียสมดุล เป็นต้น 

ยาถ่าย ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

นาวาโทนายแพทย์ บุญเลิศ อิมราพร ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า ยาถ่ายขับได้เพียงกากอาหาร หรือของเสียที่ตกค้างภายในลำไส้เท่านั้น ไม่สามารถขับไขมันหรืออาหารที่ร่างกายดูดซึมไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 

อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้มีอาการท้องผูก แต่ยังคงรับประทานยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ลดลง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ระดับเกลือแร่เสียสมดุล 

ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาถ่ายผิดวิธี

ยาถ่ายอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานผิดวิธีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ 

  • ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากยาระบายบางชนิด ออกฤทธิ์โดยการดึงน้ำเข้าไปในลำไส้และอุจจาระ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ อาจส่งผลให้ร่างกายมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผิวแห้ง เป็นต้น 
  • ระดับเกลือแร่เสียสมดุล การรับประทานยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้ระดับโพแทสเซียม โซเดียม ในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกลือแร่ภายในร่างกายเสียสมดุล (Electrolyte Imbalance)  ส่งผลให้ร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีอาการใจสั่น เป็นต้น 
  • ผลกระทบด้านอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพไว ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับถูกทำลาย เป็นต้น 

ลดน้ำหนัก อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องพึ่งยา

การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีนอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพแล้ว ยังปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงอีกด้วย โดยมีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เพราะจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มและลดความอยากอาหารได้ดี
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลสูง
  • ควรดื่มน้ำเปล่า ๆ เยอะ ๆ ในแต่ละวัน โดยเฉพาะการดื่มน้ำเปล่าก่อนรับประทานอาหาร อาจทำให้ปริมาณแคลอรี่ลดลง
  • เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง ให้พลังงานต่ำ จะช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนัก ได้
  • ปรับเรื่องพฤติกรรมการเคี้ยวอาหาร เคี้ยวให้ช้าลง การเคี้ยวช้าลงจะทำให้เรารู้สึกอิ่มกับอาหารมากขึ้น และได้รับปริมาณแคลอรี่ที่น้อยกว่าการรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ไขข้อข้องใจ ยาระบายกับการลดน้ำหนัก ?. https://www.vejthani.com/th/2021/03/ไขข้อข้องใจ-ยาระบายกับก/. Accessed March 21, 2021

What to Know About Taking Laxatives to Lose Weight. https://www.webmd.com/diet/taking-laxatives-to-lose-weight#1. Accessed December 07, 2021

LAXATIVE ABUSE. https://www.nationaleatingdisorders.org/learn/general-information/laxative-abuse. Accessed December 07, 2021

Dying to Be Thin: 7 Shocking Facts About Teen Laxative Abuse. https://www.mentalhelp.net/blogs/dying-to-be-thin-7-shocking-facts-about-teen-laxative-abuse/. Accessed December 07, 2021

Diet Pill and Laxative Use for Weight Control and Subsequent Incident Eating Disorder in US Young Women: 2001-2016. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31751147/. Accessed December 07, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระไม่ออกหลายวัน อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่ต้องรีบแก้ไข

ท้องผูกหนักจนท้องป่องไม่หายซะที ใช้ ยาระบาย ช่วยจะดีมั้ยนะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา