backup og meta

ยาถ่าย รับประทานแล้วลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

    ยาถ่าย รับประทานแล้วลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่?

    ยาถ่าย (Laxative Drug) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นวิธีในการลดน้ำหนัก เพราะเชื่อว่าการขับถ่ายจะช่วยให้น้ำหนักลดลง พุงยุบ มีหน้าท้องที่แบนราบได้  แต่ความจริงแล้ว ยาถ่ายขับได้เพียงกากอาหาร หรือของเสียที่ตกค้างภายในลำไส้เท่านั้น ไม่สามารถขับไขมันหรืออาหารที่ร่างกายดูดซึมไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากรับประทานยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ลดลง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ระดับเกลือแร่เสียสมดุล เป็นต้น 

    ยาถ่าย ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

    นาวาโทนายแพทย์ บุญเลิศ อิมราพร ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า ยาถ่ายขับได้เพียงกากอาหาร หรือของเสียที่ตกค้างภายในลำไส้เท่านั้น ไม่สามารถขับไขมันหรืออาหารที่ร่างกายดูดซึมไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 

    อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้มีอาการท้องผูก แต่ยังคงรับประทานยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ลดลง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ระดับเกลือแร่เสียสมดุล 

    ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาถ่ายผิดวิธี

    ยาถ่ายอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานผิดวิธีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ 

    • ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากยาระบายบางชนิด ออกฤทธิ์โดยการดึงน้ำเข้าไปในลำไส้และอุจจาระ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ อาจส่งผลให้ร่างกายมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผิวแห้ง เป็นต้น 
    • ระดับเกลือแร่เสียสมดุล การรับประทานยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้ระดับโพแทสเซียม โซเดียม ในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกลือแร่ภายในร่างกายเสียสมดุล (Electrolyte Imbalance)  ส่งผลให้ร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีอาการใจสั่น เป็นต้น 
    • ผลกระทบด้านอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพไว ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับถูกทำลาย เป็นต้น 

    ลดน้ำหนัก อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องพึ่งยา

    การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีนอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพแล้ว ยังปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงอีกด้วย โดยมีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เพราะจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มและลดความอยากอาหารได้ดี
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลสูง
    • ควรดื่มน้ำเปล่า ๆ เยอะ ๆ ในแต่ละวัน โดยเฉพาะการดื่มน้ำเปล่าก่อนรับประทานอาหาร อาจทำให้ปริมาณแคลอรี่ลดลง
    • เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง ให้พลังงานต่ำ จะช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนัก ได้
    • ปรับเรื่องพฤติกรรมการเคี้ยวอาหาร เคี้ยวให้ช้าลง การเคี้ยวช้าลงจะทำให้เรารู้สึกอิ่มกับอาหารมากขึ้น และได้รับปริมาณแคลอรี่ที่น้อยกว่าการรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา