backup og meta

กินเหล้า มีประโยชน์ไหม และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

กินเหล้า มีประโยชน์ไหม และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

เหล้า เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่นธัญพืชหรือผลไม้ที่หมักแล้ว โดยจัดเป็นเครื่องดื่มที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว บรั่นดี วอดก้า วิสกี้ ทั้งนี้ ควรงดเว้น การ กินเหล้า เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ระบุว่าหากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะอาจช่วยบำรุงสุขภาพได้

นิยามของเหล้า

เหล้า (Liquor หรือ Spirit) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง เกิดจากการกลั่นธัญพืช ผลไม้ ผัก หรือน้ำตาล ที่ผ่านการหมักมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อพูดถึงการ กินเหล้า จึงหมายถึงการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว เหล้าหวาน บรั่นดี วอดก้า วิสกี้ จิน รัม สาเก โชจู

ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรืออาการบาดเจ็บต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าเป็นประจำ หรือหากต้องการดื่ม ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว/วัน

ประโยชน์ของการ กินเหล้า

การกินเหล้ามักส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าส่งผลดี อย่างไรก็ตาม การกินเหล้าในปริมาณที่พอเหมาะอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ดังนี้

อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

การ กินเหล้า ในปริมาณพอเหมาะ หรือประมาณ 1-2 แก้ว/วัน อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เพราะเมื่อกินเหล้าแล้ว คอเลสเตอรอลชนิดดีหรือเอชดีแอล (HDL) จะสูงขึ้น โดยเอชดีแอลมีคุณสมบัติป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด เผยแพร่ในวารสาร Journal of the American College of Cardiology ปี พ.ศ. 2550 ระบุว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พอประมาณ หรือ 1 แก้ว/วัน สำหรับผู้หญิง และ 1-2 แก้ว/วัน สำหรับผู้ชาย ช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดได้ อย่างไรก็ตาม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากกว่านั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด และอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยทุกวันดีต่อสุขภาพมากกว่าการบริโภคอย่างหนักเป็นบางวัน

อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

แอลกอฮอล์ในเหล้า ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ไห้สูงเกินไป ดังนั้น การกินเหล้า จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของร่างกายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition, Metabolism and Cardiovascular Diseases ปี พ.ศ. 2553 นักวิจัยศึกษาผลการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นเกี่ยวกับบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และพบข้อสรุปดังนี้

  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่หากบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งคราว ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลในเลือดต่ำลง ยกเว้นในกรณีบริโภคร่วมกับยาต้านเบาหวานอย่างซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea)
  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวอาจเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

อาจช่วยป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี

การ กินเหล้า อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นในโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ เพราะแอลกอฮอล์ในเหล้ามีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี และช่วยทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดีในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องการบริโภคแอลกอฮอล์และโรคนิ่วในถุงน้ำดี ตีพิมพ์ในวารสาร Gut Liver ปี พ.ศ. 2562 นักวิจัยได้ศึกษาผลการศึกษาหลาย ๆ ชิ้น เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคแอลกอฮอล์และโรคนิ่วในถุงน้ำดี โดยพบข้อสรุปว่า การบริโภคแอลกอฮอล์อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่า แอลกอฮอล์ที่บริโภคเพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 กรัม/วัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ราว ๆ 12 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกับบทสรุปของงานวิจัยชิ้นดังกล่าว จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคแอลกอฮอล์และโรคนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มเติมต่อไป

ผลเสียของการ กินเหล้า

การ กินเหล้าอย่างหนักในปริมาณมาก หรือกินจนเมาต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้

  • โรคมะเร็ง เมื่อกินเหล้า ร่างกายจะย่อยสลายแอลกอฮอล์เป็นสารที่เรียกว่าอะเซตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) โดยสารนี้ออกฤทธิ์ทำลายดีเอ็นเอ และยังขัดขวางร่างกายไม่ให้ซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ
  • โรคตับ เมื่อ กินเหล้า อย่างหนักเป็นประจำ เซลล์ของตับจะถูกทำลายและเกิดใหม่ทดแทน อย่างไรก็ตาม หากกินเหล้าในปริมาณมากติดต่อกันหลายปี ตับจะเสียหายอย่างถาวรจากแอลกอฮอล์หรือเป็นโรคตับได้
  • โรคซึมเศร้า แอลกอฮอล์ในเหล้าสามารถสร้างความเสียหายต่อสมองและนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และโรคซึมเศร้า ตีพิมพ์ในวารสาร Archives Of General Psychiatry ปี พ.ศ. 2552 นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,055 ราย อายุระหว่าง 17-25 ปี และพบข้อสรุปว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า และในทางตรงกันข้าม ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจมีโอกาสติดเหล้าได้เช่นกัน
  • โรคความดันโลหิตสูง การดื่มเหล้าในปริมาณมากส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยความดันโลหิตที่สูงเป็นเวลานานและอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ความผิดปกติโดยกำเนิด แอลกอฮอล์ในเหล้า มีฤทธิ์แทรกแซงพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งส่วนของอวัยวะสำคัญและโครงสร้างร่างกาย และอาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติเมื่อคลอดออกมา

นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ในเหล้ายังเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุและการเสียชีวิตด้วย

ใครบ้างที่ไม่ควร กินเหล้า

เหล้าไม่เหมาะกับบุคคลในกลุ่มต่อไปนี้

  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่อยากมีบุตร รวมทั้งหญิงให้นมบุตร
  • ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดสมองแตก
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับหรือตับอ่อน
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือถูกวินิจฉัยว่าสุขภาพหัวใจอ่อนแอ
  • ผู้ที่ใช้ยาที่ฤทธิ์ยาอาจถูกรบกวนโดยแอลกอฮอล์

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alcohol and cardiovascular health: the razor-sharp double-edged sword. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17825708/. Accessed November 18, 2022

Alcohol and type 2 diabetes. A review. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20556883/. Accessed November 18, 2022

Tests of causal links between alcohol abuse or dependence and major depression. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19255375/. Accessed November 18, 2022

Alcohol: Balancing Risks and Benefits. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/healthy-drinks/drinks-to-consume-in-moderation/alcohol-full-story/. Accessed November 18, 2022

LDL and HDL Cholesterol and Triglycerides. https://www.cdc.gov/cholesterol/ldl_hdl.htm#:~:text=HDL%20(high%2Ddensity%20lipoprotein),for%20heart%20disease%20and%20stroke. Accessed November 18, 2022

Alcohol use: Weighing risks and benefits. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/alcohol/art-20044551#:~:text=Moderate%20alcohol%20consumption%20may%20provide,reducing%20your%20risk%20of%20diabetes. Accessed November 18, 2022

Diabetes and Alcohol. https://www.webmd.com/diabetes/drinking-alcohol. Accessed November 18, 2022

Alcohol Consumption Can Reduce the Risk of Gallstone Disease: A Systematic Review with a Dose-Response Meta-Analysis of Case-Control and Cohort Studies. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6346994/. Accessed November 18, 2022

Alcohol consumption and risk of gallstone disease: a meta-analysis. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27926662/. Accessed November 18, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

แอลกอฮอลิซึม (Alcoholism) ภาวะติดสุราเรื้อรัง บำบัดได้ เริ่มง่ายๆ ที่ตัวคุณ

เหงื่อออกตอนกลางคืนกับแอลกอฮอล์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา