backup og meta

FBS (การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร) คืออะไร มีวิธีตรวจอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    FBS (การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร) คืออะไร มีวิธีตรวจอย่างไร

    FBS ย่อมาจาก Fasting Blood Sugar คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบว่ามีระดับน้ำตาลสูงกว่ามาตรฐานหรือไม่ เป็นวิธีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น มักรวมอยู่ในเพคเก็จตรวจสุขภาพ หรือหรือสามารถพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจ

    FBS คืออะไร

    FBS คือ การเจาะเลือดจากเส้นเลือด (มิใช่การตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว) เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เป็นวิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่แม่นยำ โดยหากมีระดับน้ำตาล FBS สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาจหมายความว่า อินซูลินในร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีพอ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคเบาหวาน ได้

    ทำไมจึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS

    เนื่องจาก การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด FBS เป็นหนึ่งในเกณฑ์การวินิจจัยโรคเบาหวาน ดังนั้น การตรวจระดับน้ำตาล FBS สามารถช่วยตรวจคัดกรองได้ทั้ง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 รวมไปถึงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย ทั้งนี้หากตรวจพบเเละเริ่มการรักษาตั้งเเต่ระยะเเรกเริ่ม  อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาในอนาคต เช่น ภาวะจอประสาทตาเสือมจากเบาหวาน  เช่น ภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม การไหลเวียนเลือดไม่ดี โรคไต  อีกทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

    ใครควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS บ้าง

    การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะสุขภาพ ดังนี้

    • มีอายุมากกว่า 35 ปี
    • มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ เคยคลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
    • ผู้ที่เคยได้รับการตรวจเเล้วพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน/เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
    • มีภาวะน้ำหนักเกินโดยมีค่าดัชนีมวลกาย 25 กก./ม2 หรือเป็นโรคอ้วน และ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
    • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิตสูง
    • ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเเละหลอดเลือดสมอง 
    • ผู้ที่เป็นโรคกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ (polycystiv ovarian syndrome)
    • ผู้ที่ีมีอาการที่สงสัยอาจเป็นอาการของโรคเบาหวาน ได้เเก่ หรือน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย เหนือยล้าง่ายกว่าปกติ ปลายเท้าชา ตามัวมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
    • มีอาการปัสสาวะบ่อย

    วิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS

    การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS ที่แม่นยำ แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล เนื่องจากจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลจากเส้นเลือด และใช้เครื่องตรวจ/แปลผลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ อย่างไรก็ตามอาจทำการตรวจเบื้องต้นด้วยตนเองที่บ้านได้ โดยใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในปลายนิ้ว ซึ่งมีวิธีดังนี้

    1. งดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานก่อนตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
    2. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้ง
    3. เช็ดแอลกอฮอล์บริเวณปลายนิ้วมือที่จะเจาะเลือด
    4. เปิดเครื่อง ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วและนำแถบทดสอบระดับน้ำตาลสอดเข้ากับเครื่องตรวจ
    5. ช้ชุดเข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว เจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ และบีบปลายนิ้วเบา ๆ ให้เลือดหยดลงบนแถบทดสอบ
    6. ค่าระดับน้ำตาลในเลือดจะแสดงบนหน้าจอเครื่องตรวจ

    อย่างไรก็ตาม การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS ตามหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน แนำนำให้ตรวจซ้ำ/เพิ่มเติมที่โรงพยาบาล เพื่อความแม่นยำและถูกต้อง

    การแปลผลค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS

    ค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร หรือ FBS มีดังนี้

    • ระดับปกติ – ค่าระดับน้ำตาลในเลือด FBS น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ภาวะก่อนเบาหวาน /เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน – ค่าระดับน้ำตาลในเลือด FBS อยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • โรคเบาหวาน – ค่าระดับน้ำตาลในเลือด FBS ตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นต้นไป

    การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

    การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำได้ดังนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีมีน้ำตาล เเละ ไขมันต่ำ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ที่ดัชนีน้ำตาลต่ำ และธัญพืชไม่ขัดสี และควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดืมที่เติมน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมหวาน
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเเนะนำให้ออกกำลังกายระดับเหนื่อยปานกลาง เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ เต้นรำ เป็นระยะเวลารวม 150 นาที/สัปดาห์ หรือ 30 นาที/วัน
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 เเก้วต่อวัน
    • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา