backup og meta

ขี้เหล็ก ข้อมูลโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวัง

ขี้เหล็ก ข้อมูลโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวัง
ขี้เหล็ก ข้อมูลโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวัง

ขี้เหล็ก เป็นพืชสมุนไพร ที่นิยมนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ยำขี้เหล็ก แกงขี้เหล็ก ห่อหมกขี้เหล็ก  นอกจากนี้ ยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ แต่ก็ควรระมัดระวังการรับประทานใบขี้เหล็ก เนื่องจากอาจปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

[embed-health-tool-bmi]

ทำความรู้จักสมุนไพร ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก (Thai Copper Pod) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cassia siamea Lam. เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือมักเรียกว่า ขี้เหล็กหลวง ภาคกลาง เรียกว่า ขี้เหล็กใหญ่ ภาคใต้ เรียกว่า ยะหา เป็นต้น  โดยขี้เหล็กมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  • ขนาด เป็นไม้ยืนต้นมีขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้มคดงอเป็นปุ่ม เปลือกต้นมีสีน้ำตาลปนเทา เนื้อไม้มีน้ำตาล รอยแตกตามยาวของลำต้นเป็นร่องตื้น ๆ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อ ๆ
  • ใบ มีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ก้านใบมีสีน้ำตาลแดง
  • ดอก มีสีเหลือง มีดอกย่อยประมาณ 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงกลม 3-4 กลีบ ปลายมน มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน รังไข่มีขน
  • ผล เป็นฝักมีสีน้ำตาล ลักษณะฝักแบนกว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ยาวและหนา ถ้าฝักแห้งจะแตกออกเป็น 2 ซีก คล้ายกับฝักแค
  • เมล็ด มีเมล็ด 10-30 เมล็ดต่อฝัก สีน้ำตาลแก่ เป็นรูปไข่ยาวแบนเรียงตามขวาง

ข้อมูลโภชนาการ

ใบขี้เหล็ก 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังต่อไปนี้

พลังงาน 87 แคลอรี่
เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) 1.4 มิลลิกรัม
แคลเซียม 156 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม
เหล็ก 5.8 มิลลิกรัม
ไฟเบอร์ 5.6 กรัม
โปรตีน 7.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม

คุณประโยชน์ของสมุนไพรขี้เหล็ก

ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณทางยาสูง อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีสรรพคุณทางยา ดังต่อไปนี้

  • ดอก ดอกของขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต รักษาเส้นประสาท รักษาหืด สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่ค่อยหลับ  เพียงนำดอกขี้เหล็กมาต้มดื่ม จะช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับได้
  • ราก แก้เหน็บชา ฟกช้ำ บำรุงธาตุ ใช้รักษาแผลกามโรค
  • ลำต้นและกิ่ง ใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เป็นยาระบายแก้อาการท้องผูก
  • เปลือกต้น มีรสขม นำมาต้มดื่ม จะเป็นยาระบาย แก้กระษัย รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด
  • ใบ รักษาอาการท้องผูก โรคเหน็บชา แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ รักษาฝีมะม่วง ขับพยาธิ รักษาอาการนอนไม่หลับ
  • ผลหรือฝัก แก้พิษไข้ ขับเสมหะ แก้ไข้พิษเพื่อเอ็นตึง แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี
  • กระพี้ ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย แก้เส้นเอ็นพิการ

ข้อระวังในการบริโภค

ในใบขี้เหล็กอาจมีสารบาราคอล (Barakol) ที่สามารถส่งผลทำลายเซลล์ตับ ทำให้ตับเสื่อมสภาพ นอกจากนี้ ก่อนซื้อใบขี้เหล็กจากตลาด ควรถามผู้ขายให้ละเอียดว่า ใบขี้เหล็กได้ต้มน้ำทิ้งไปแล้วหรือยัง หากยังควรต้มน้ำทิ้งก่อนรับประทาน เพื่อกำจัดเอาสารเคมีที่อาจตกค้างอยู่ในใบขี้เหล็กออกเสียก่อน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Senna siamea. https://www.cabi.org/isc/datasheet/11462. Accessed  November  10, 2020

ขี้เหล็ก. https://il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/keelek.htm. Accessed November 30, 2021.

แกงขี้เหล็ก อาหารที่ถูกลืม. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/101/แกงขี้เหล็ก-อาหารที่ถูกลืม/. Accessed November 30, 2021.

Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby. https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/flora/3/1/3118. Accessed November 30, 2021.

Barakol contents in fresh and cooked Senna siamea leaves. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17125004/. Accessed November 30, 2021.

Senna. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-652/senna. Accessed November 30, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เก๋ากี้ ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

ขมิ้น สมุนไพรใกล้ตัว ใช้ บรรเทาอาการกรดไหลย้อน ได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา