backup og meta

7 วิธีดูแลปอดแบบง่าย ๆ เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย ‘รังนก’

7 วิธีดูแลปอดแบบง่าย ๆ เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย ‘รังนก’

รังนก เป็นอาหารบำรุงร่างกายที่มีสารสำคัญอย่าง ‘NANA’ (นานะ) เป็นส่วนประกอบ มีประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงปอด ซึ่งถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการฟอกออกซิเจน ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ และมีบทบาทต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันที่มีทั้งปัญหาฝุ่นมลพิษและโรคระบาดโควิด-19 ทำให้คนยุคนี้ต้องหันมาใส่ใจดูแลตัวเองและ ‘สุขภาพปอด’ กันมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ดังนั้น ทุกคนก็ไม่ควรละเลยการสร้างความแข็งแรงให้ ‘สุขภาพปอด’ จากภายในร่างกายของเราเอง เพราะปอดคืออวัยวะที่ทำงานสอดคล้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งการดูแลปอดแบบง่าย ๆ ให้ห่างไกลเชื้อโรค นอกจากการรับประทานสมุนไพรหรืออาหารบำรุงปอดให้แข็งแรงแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองในแต่ละวัน ยกตัวอย่างดังนี้ 

7 วิธีดูแลปอด

7 วิธีดูแลปอดให้แข็งแรง ห่างไกลเชื้อโรค เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย

1. รับประทานอาหารบำรุงปอด

การดูแลปอดทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งการดื่มรังนกแท้ที่มี NANA (นานะ หรือ N-Acetyl-Neuraminic Acid) ก็นับเป็นหนึ่งใน อาหารบำรุงปอด ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากนานะเป็นโปรตีนที่พบในรังนกแท้ มีคุณสมบัติพิเศษทำงานเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารสำคัญในรังนกสามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ เพราะมีกลไกในการขัดขวางการจับตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยตรง 

นักวิจัยจึงค้นพบว่ารังนกที่มีปริมาณนานะสูง ก็จะมีความสามารถในการต้านไวรัสดีขึ้นตามไปด้วย สอดคล้องกับการพบว่าไกลโคโปรตีนในรังนกทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวน จึงนับได้ว่ารังนกมีส่วนช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และอาจเป็นสารสำคัญในการต้านไวรัสได้นั่นเอง 

รังนก-บำรุงปอด

2. ออกกำลังกายบริหารปอด

หลายคนอาจนิยมออกกำลังกายโดยเน้นการสร้างกล้ามเนื้อ แต่จริง ๆ แล้ว การออกกำลังกายแบบ ‘คาร์ดิโอ’ (Cardio Exercise) เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดก็จะทำให้ปอดแข็งแรงมากขึ้นตามไปด้วย และสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การหายใจของเราดีขึ้น โดยการออกกำลังกายเสริมสุขภาพปอดให้แข็งแรง ควรเคลื่อนไหวขยับร่างกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที เช่น วิ่ง เดินเร็ว เดินยกขาสูง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น

ออกกำลังกาย-บำรุงปอด

3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายปอด

ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ห่างไกลจากปัจจัยที่ทำลายปอด หรือส่งผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานโดยตรง โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพปอดเรื้อรังมากกว่าคนที่ไม่สูบ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคปอดบวม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ฯลฯ รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อในปอด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้กลไกป้องกันการติดเชื้อของปอดลดลง รวมไปถึงควรหลีกเลี่ยงการสูดดมกลิ่นควันรถยนต์และมลภาวะ ซึ่งเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย หากสูดดมเป็นระยะเวลานาน อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอดได้

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปี ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้อวัยวะสำคัญได้ทำงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนอนหลับเกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คนที่อดนอนหรือนอนดึกติดต่อกันเป็นเวลานาน มักมีปัญหาด้านสุขภาพและสภาพจิตใจ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคลดลง เจ็บป่วยได้ง่าย รู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน และอาจเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจได้อีกด้วย

5. ดื่มน้ำให้ปอดชุ่มชื้น

การดื่มน้ำเปล่าสะอาดถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เราจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือประมาณวันละ 6-8 แก้ว เนื่องจากน้ำจะช่วยบำรุงปอดให้ชุ่มชื้น ทำให้ปอดไม่แห้ง เพราะหากปอดแห้งจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในปอด เมื่อปอดขาดน้ำและมีอุณหภูมิสูง ก็มักทำให้ปอดติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้ภูมิต้านทานตก มีอาการหิวน้ำ ไอแห้ง ๆ มีไข้ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจในเวลาต่อมาได้เช่นกัน

6. รักษาปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ

หากอยู่ในสถานที่มีอากาศหนาวเย็น ควรสวมเสื้อผ้าหนา ๆ หรือห่มผ้าให้มิดชิด เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ปอดอยู่เสมอ เนื่องจากเมื่ออากาศแห้งและเย็นจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ปอดของเราระคายเคือง อาจส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจหอบ เหนื่อยง่าย บางครั้งอาจมีเสียงหวีดขณะหายใจ หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเป็นปวดบวม ปอดชื้น และปอดติดเชื้อ จนมีอาการทางระบบหายใจที่รุนแรงมากขึ้น การทำให้ปอดอบอุ่นอยู่เสมอจึงถือเป็นวิธีดูแลปอดให้แข็งแรงที่เราไม่ควรมองข้าม 

7. หายใจเข้า-ออกแบบลึก ๆ

กระบวนการหายใจจำเป็นต้องพึ่งพาปอดเป็นหลัก เนื่องจากเมื่อเราหายใจเข้า จะนำออกซิเจนเข้าไปในปอดและเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเราหายใจออก ปอดก็จะเป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์ขับออกจากร่างกาย โดยเราสามารถช่วยดูแลปอดให้แข็งแรงได้ในทุกวัน ผ่านการฝึกหายใจเข้า-ออกแบบลึก ๆ อย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง เพื่อบริหารปอด กระบังลม และกล้ามเนื้อทรวงอก เนื่องจากการสูดลมหายใจเข้า-ออกลึก ๆ จะทำให้ปอดได้ขยายตัวอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เราหายใจได้สะดวกขึ้นนั่นเอง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

1.Thorburn C. 2014. The Edible Birds’ Nest Boom in Indonesia and South-east Asia. Food culture society. Vol.17, Issue 4; 535-554. 

https://www.researchgate.net/publication/269941850_The_Edible_Birds’_Nest_Boom_in_Indonesia_and_South-east_Asia_A_Nested_Political_Ecology

2.Chua L.S. and Zukefl S.N. 2016. A comprehensive review of edible bird nests and swiftlet farming. Journal of Integrative Medicine. Vol. 14, No.6; 415-428.

 http://dx.doi.org/10.1016/S2095-4964(16)60282-0 https://www.academia.edu/36861320/A_comprehensive_review_of_edible_bird_nests_and_2016_Journal_of_Integrative

3.Tai S.K., Koh R.Y., Ng K.Y. and Chye S. M. 2017. A Mini Review on Medicinal Effects of Edible Bird’s Nest. Lett Health Biol Sci. Vol. 2, Issue 1; 65-67. DOI: 10.15436/2475-6245.17.016.

https://www.researchgate.net/publication/317858316_A_Mini_Review_on_Medicinal_Effects_of_Edible_Bird’s_Nest

4.Hamzah Z., Ibrahim N.H., J S., Hussin K., Hashim O. and Lee B.B. 2013. Nutritional properties of edible bird nest. Journal of Asian Scientific Research. 3(6); 600-607. 

https://www.researchgate.net/publication/225300617_Preliminary_Study_of_the_Nutritional_Content_of_Malaysian_Edible_Bird’s_Nest

5.Zhao R., Li G., Kong X.J., Huang X.Y., Li W., Zeng Y.Y. and Lai X.P. 2016. The improvement effects of edible bird’s nest on proliferation and activation of B lymphocyte and its antagonistic effects on immunosuppression. Drug Design, Development and Therapy. 10; 371-381. 

https://www.dovepress.com/front_end/cr_data/cache/pdf/download_1598601931_5f48bacb9c0ce/DDDT-88193-in-vitro-and-in-vivo-immune-enhancing-effects-of-edible-bird_012116.pdf

6.Marcone M.F. 2005. Characterization of the Edible Bird’s Nest the “Caviar of the East”. Food Research International. 38, 1125-1134. http://dx.doi.org/10.1016/j.foodres.2005.02.008

7.Daud N.A., Yusop S.M., Babji A.S., Lim S.J., Sarbini S.R. and Yan T.H. 2019. Edible Bird’s Nest: Physicochemical Properties, Production, and Application of Bioactive Extracts and Glycopeptides. Food Reviews International. 1-19.

https://doi.org/10.1080/87559129.2019.1696359

https://www.researchgate.net/publication/337710013_Edible_Bird’s_Nest_Physicochemical_Properties_Production_and_Application_of_Bioactive_Extracts_and_Glycopeptides

8.Li H. and Fan X. 2014. Quantitative analysis of sialic acids in Chinese conventional foods by HPLC-FLD. Open Journal of Preventive Medicine. 4(2); 57-63.

https://www.scirp.org/journal/PaperInformation.aspx?PaperID=42604

9.Fucui M. and Daicheng L. 2012. Sketch of the edible bird’s nest and its important bioactivities. Food Research International. 48(2); 559–567. 

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0963996912001895

10.Chan K., Zheng K.Y., Zhu K.Y., Dong T.T. and Tsim K.W. 2013. Determination of free N-acetylneuraminic acid in edible bird nest: A development of chemical marker for quality control. The Journal of Ethnobiology and Traditional Medicine. 120; 620-628.

https://www.researchgate.net/publication/272683219_Determination_of_free_N-acetylneuraminic_acid_in_edible_bird_nest_A_development_of_chemical_marker_for_quality_control

11.Lun Chan G.K., Fai Wong Z.C., Ching Lam K.Y., Wai Cheng L.K., Zhang L.M., Lin H., et al. 2015_ Edible Bird’s Nest, an Asian Health Food Supplement, Possesses Skin Lightening Activities: Identification of N-Acetylneuraminic Acid as Active Ingredient. Journal of Cosmetics, Dermatological Sciences and Applications. 5; 262-274. 

https://www.researchgate.net/publication/284785696_Edible_Bird’s_Nest_an_Asian_Health_Food_Supplement_Possesses_Skin_Lightening_Activities_Identification_of_N-Acetylneuraminic_Acid_as_Active_Ingredient

12.Guo C.T., Takahashi T., Bukawa W., Takahashi N., Yagi H., Kato K. et al. 2006. Edible bird’s nest extract inhibits influenza virus infection. Antiviral Research. 70; 140–146.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16581142

13.Kong Y.C., , K H Chan K.H. and Ng M.H., et al. 1986. Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlet’s (Collocalia) nest. Biochem Intern. 13;521-531. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3790144/

14.Kong Y.C., Keung W. M., Yip T.T., Ko K.M., Tsao S.W., Nget M.H. 1987. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet’s (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol. 87B(2);221-226. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3497769

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากสุขภาพดี มีปอดแข็งแรง หันมากิน อาหารบำรุงปอด กันเถอะ

อาหารบำรุงหัวใจ ต้องกินอะไร สุขภาพหัวใจถึงจะแข็งแรง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา