backup og meta

มะลิ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการใช้

มะลิ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการใช้

มะลิ เป็นพืชเขตร้อน พบได้มากในจีน ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ลักษณะของลำต้นเป็นไม้พุ่มออกดอกสีขาวมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาสกัดใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ แก้ปวดท้อง น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิช่วยให้ผ่อนคลาย ส่วนมะลิบางสายพันธุ์สามารถนำดอกมาทำเป็นชามะลิ  มะลิอาจช่วยแก้ปัญหาน้ำนมล้นเต้ามากเกินไป  ในกรณีของผู้หญิงให้นมบุตรหรือผู้ที่ต้องการหยุดน้ำนมหลังคลอด อีกทั้งยังมีสารแอโฟรดิซซิแอค (Aphrodisiac) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศตามธรรมชาติ นอกจากนั้น กลิ่นของมะลิอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และช่วยทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายจากความเครียด

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของมะลิ

ดอกมะลิแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ โดยมีโซเดียมประมาณ 20 มิลลิกรัม

นอกจากนั้น ยังนิยมนำดอกมะลิไปต้มร่วมกับใบชาได้เป็นชามะลิ โดยชามะลิ 1 ถ้วย ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และมีแร่ธาตุต่าง ๆ จากใบชา อาทิ เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ทองแดง และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับคอเลสเตอรอล บำรุงสุขภาพ

ประโยชน์ของมะลิต่อสุขภาพ

มะลิ เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน โดยมีผลการศึกษาสนับสนุน ดังต่อไปนี้

1.อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

กลิ่นหอมของดอกมะลิ อาจมีสรรพคุณช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้

อ้างอิงจากการศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับผลของการของสูดน้ำมันหอมระเหยจากมะลิ ต่ออาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่น เผยแพร่ในวารสาร International Journal of Science and Research ปี พ.ศ. 2561

ในการศึกษาดังกล่าว ได้ให้หญิงวัยมีประจำเดือนจำนวน 55 รายสูดดมกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยจากมะลิ ทั้งนี้นักวิจัยได้อธิบายว่า เมื่อสูดดมน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกมะลิ โมเลกุลของน้ำมันหอมระเหย จะเข้าไปในร่างกาย กระตุ้นสมองและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้หลั่งสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหรือรู้สึกมีความสุข เช่น ไดนอร์ฟิน (Dynorphin) เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) นอกจากนั้นสารเหล่านั้นอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน จึงสรุปได้ว่า ผู้หญิงที่มีประวัติปวดประจำเดือนหากสูดดอมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือนอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้

2.อาจช่วยบรรเทาอาหารเต้านมคัดตึง

มะลิ มีสรรพคุณระงับการผลิตน้ำนมสำหรับผู้ที่ต้องการหยุดน้ำนมหลังคลอด หรือผู้ที่มีน้ำนมไหลออกมามากเกินไปขณะให้นมบุตร เนื่องจากมะลิอาจไปช่วยลดระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการผลิตน้ำนม นอกจากนั้น การใช้น้ำมันดอกมะลิทาบริเวณเต้านม อาจช่วยบรรเทาอาการเต้านมคัดตึง ในผู้หญิงระยะให้นมบุตรที่เกิดจากน้ำนมสะสมในเต้ามากเกินไปได้

จากผลการวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Obstetrics and Gynaecology ปี พ.ศ. 2531 เกี่ยวกับการดูแลสตรีในภาวะหลังคลอดโดยใช้ดอกมะลิ นักวิจัยพบว่า การบริโภคมะลิอาจช่วยยับยั้งการผลิตน้ำนมหลังคลอดได้ เช่นเดียวกับการรับประทานยาโบรโมคริปทีน (Bromocriptine) อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับยาโบรโมคริปทีนแล้ว ยาสามารถระงับปริมาณน้ำนมให้ลดลงได้ดีกว่าดอกมะลิ

3.อาจช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า

น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ มีคุณสมบัติช่วยลดความดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบหรือคลายตัว ซึ่งอาจช่วยบำบัดอาการซึมเศร้ารวมถึงควบคุมความดันโลหิตได้

งานวิจัยหนึ่งศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำมันดอกมะลิ ที่ใช้การนวดแบบสุคนธบำบัดหรือการนวดพร้อมใช้กลิ่นเพื่อบำบัดโรค เผยแพร่ในวารสาร Natural Product Communications ปี พ.ศ. 2553 โดยได้ทดลองจะทาน้ำมันหอมระเหยจากมะลิและยาหลอกลงบนหน้าท้องของอาสาสมัครและนวดบำบัด จากนั้นตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย พบว่าผู้ที่ทาน้ำมันหอมระเหยจากมะลิมีอัตราการหายใจดีขึ้น ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดดีขึ้น ความดันโลหิตดีขึ้น การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น  อีกทั้งอาสาสมัครที่ทาน้ำมันหอมระเหยรู้สึกสงบขึ้น อารมณ์ดีขึ้น จึงสรุปได้ว่า น้ำมันดอกมะลิมีสรรพคุณที่อาจช่วยลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้

ขณะเดียวกัน บทความวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสุคนธบำบัดต่อโรคซึมเศร้า เผยแพร่ในวารสาร Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้น ยังระบุว่า การนวดแบบสุคนธบำบัด และการสูดดมน้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ อาจทำให้อาการซึมเศร้าทุเลาลงได้ ทั้งนี้ การนวดแบบสุคนธบำบัดจะให้ผลดีกว่าการสูดดมเพื่อบำบัดเพียงอย่างเดียว

4.อาจช่วยให้จิตใจสงบ

มะลิ มีสารกล่อมประสาทช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย การสูดดมกลิ่นมะลิ อาจช่วยให้จิตใจสงบลง นอกจากนั้น กลิ่นหอมของดอกมะลิส่งผลโดยตรงต่อการหลั่งสารเคมีในระบบประสาทในสมองที่ชื่อว่า กาบา (Gaba) ทำให้ระบบประสาทผ่อนคลาย ลดความกังวลและความตึงเครียด

โดยมีผลงานวิจัยหนึ่งซึ่งทำการทดสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติของกลิ่นมะลิในชา เผยแพร่ในวารสาร European Journal of Applied Physiology ปี พ.ศ.2548

ในการทดสอบดังกล่าว นักวิจัยให้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 24 ราย ดมกลิ่นชามะลิในระดับความเข้มข้นต่ำ แล้ววัดอัตราการเต้นของหัวใจ พบว่า อาสาสมัครหัวใจเต้นช้าลง จิตใจสงบ อารมณ์ดี   จึงอาจสรุปได้ว่า กลิ่นของชามะลิ อาจมีฤทธิ์กล่อมประสาท ทำให้ภาวะอารมณ์ รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติของมนุษย์สงบลง

ข้อควรระวังในการบริโภคและใช้มะลิ

โดยทั่วไปการบริโภคและใช้มะลิค่อนข้างปลอดภัย ทั้งการดื่มชามะลิ การสูดดมน้ำมันหอมระเหยดอกมะลิ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนว่าการใช้มะลิเพื่อเป็นยานั้นปลอดภัยต่อร่างกายหรือไม่ และมะลิอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางราย รวมทั้งอาจเป็นสาเหตุของภาวะสุขภาพต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • อาการระคายเคือง น้ำมันจากดอกมะลิ ซึ่งใช้ในการนวดแบบสุคนธบำบัด อาจเป็นสาเหตุของการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง หากได้รับในปริมาณมากหรือถี่เกินไป ทั้งนี้ ผู้ที่มีผิวหนังไวต่อสารต่าง ๆ ควรเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยที่เจือจางแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงผิวหนังระคายเคืองหรือเกิดอาการแพ้
  • ไมเกรน กลิ่นหอมของดอกมะลิ อาจทำให้อาการปวดหัวเนื่องจากโรคไมเกรนรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยไมเกรนจึงควรเลี่ยงดมกลิ่นดอกมะลิ

สตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร สามารถบริโภคและใช้มะลิได้อย่างปลอดภัยในปริมาณจำกัด โดยเฉพาะการบริโภคชามะลิเนื่องจากปริมาณคาเฟอีนที่อยู่ในชา นอกจากนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหากต้องการนวดแบบสุคนธบำบัดและสูดดมน้ำมันหอมระเหยดอกมะลิ

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Effect of Jasmine Inhalation Aromatherapy on the Intensity of Haid Pain (Dismenorea) in Adolescents.
https://www.ijsr.net/archive/v8i8/ART2020398.pdf.

Sedative effects of the jasmine tea odor and (R)-(-)-linalool, one of its major odor components, on autonomic nerve activity and mood states. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15976995/. Accessed May 12, 2022

Suppression of puerperal lactation using jasmine flowers (Jasminum sambac). https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3214386/. Accessed May 12, 2022

Stimulating Effect of Aromatherapy Massage with Jasmine Oil. https://www.researchgate.net/profile/Tapanee-Hongratanaworakit/publication/41576755_Stimulating_Effect_of_Aromatherapy_Massage_with_Jasmine_Oil/links/0deec52676a247e8e2000000/Stimulating-Effect-of-Aromatherapy-Massage-with-Jasmine-Oil.pdf. Accessed May 12, 2022

The Effectiveness of Aromatherapy for Depressive Symptoms: A Systematic Review. https://www.hindawi.com/journals/ecam/2017/5869315/. Accessed May 12, 2022

Jasmine – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-617/jasmine. Accessed May 12, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/05/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผักกาดขาว สารอาหารและข้อควรระวังในการบริโภคต่อสุขภาพ

ผลส้ม คุณค่าทางโภชนาการและข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 27/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา