backup og meta

มะเดื่อฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะเดื่อฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะเดื่อฝรั่ง หรือลูกฟิก (Fig) เป็นผลไม้ยืนต้นที่มีผลเป็นทรงกลมหรือทรงคล้ายระฆังคว่ำ ผลอ่อนเปลือกสีเขียวแต่เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม เนื้อสีแดงเข้มมีเมล็ดเล็ก ๆ สีขาวปนอยู่กับเนื้อ ให้รสหวานอมเปรี้ยว มะเดื่อฝรั่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันตก หรือจากตุรกีไปจนถึงตอนเหนือของประเทศอินเดีย มะเดื่อฝรั่งอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม แคลเซียม เบตา-แคโรทีน (β-Carotene)

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของ มะเดื่อฝรั่ง

มะเดื่อฝรั่งสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 74 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 19.2 กรัม
  • โปรตีน 0.75 กรัม
  • โพแทสเซียม 166 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 35 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 26.7 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม
  • โคลีน (Choline) 4.7 มิลลิกรัม
  • เบตา-แคโรทีน 85 ไมโครกรัม

นอกจากนี้ มะเดื่อฝรั่งยังมีสารอาหารอื่น ๆ เช่น โซเดียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานีส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินเค โฟเลต (Folate)

ประโยชน์ของ มะเดื่อฝรั่ง ต่อสุขภาพ

อาจช่วยแก้ท้องผูกได้

มะเดื่อฝรั่งอุดมไปด้วยใยอาหาร การบริโภคมะเดื่อฝรั่งจึงอาจช่วยกระตุ้นการขับถ่าย เสริมสร้างการทำงานของลำไส้ และบรรเทาอาการท้องผูกได้ ทั้งนี้

ในงานวิจัยว่าด้วยประสิทธิภาพของมะเดื่อฝรั่งบดในการช่วยลดอาการท้องผูกในสุนัขบีเกิล เผยแพร่ในวารสาร Lab Animal ปี พ.ศ. 2554 นักวิจัยทำการวิจัยกับสุนัขบีเกิลจำนวน 15 ตัวรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 9 สัปดาห์ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ครั้ง ครั้งละ 3 สัปดาห์ โดย 3 สัปดาห์แรกเป็นการทดลองโดยไม่ได้ให้สุนัขบีเกิลบริโภคอาหารเพิ่มเติมจากเดิม 3 สัปดาห์ต่อมา สุนัขบีเกิลทั้งหมดถูกทำให้ท้องผูก และ 3 สัปดาห์สุดท้าย ให้สุนัขบีเกิลทั้ง 15 ตัว บริโภคมะเดื่อฝรั่งบดจำนวน 12 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เป็นประจำทุกวันตลอด 3 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นักวิจัยพบว่า มะเดื่อฝรั่งช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระในสุนัขท้องผูกได้อย่างมีนัยสำคัญ และสรุปเพิ่มเติมว่ามะเดื่อฝรั่งอาจมีส่วนช่วยรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังได้

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการทดสอบในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพของมะเดื่อฝรั่งสำหรับแก้ท้องผูก

ข้อควรระวังในการบริโภค มะเดื่อฝรั่ง

การบริโภคมะเดื่อฝรั่ง มีข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • น้ำยางของมะเดื่อฝรั่งอาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ ขณะเดียวกัน ผู้แพ้ผลหม่อนและแพ้ยาง อาจมีอาการแพ้มะเดื่อฝรั่งร่วมด้วย
  • หากรับประทานมะเดื่อฝรั่งมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือปัญหาทางเดินอาหารอื่น ๆ ได้ จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอดีไม่ควรเกินวันละ 2-3 ผล
  • มะเดื่อฝรั่งมีปริมาณน้ำตาลสูง
  • หญิงมีครรภ์และหญิงระยะให้นมบุตรสามารถบริโภคมะเดื่อฝรั่งได้ อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคในปริมาณจำกัดและควรบริโภคอาหารต่าง ๆ ให้หลากหลาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Figs, raw. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/173021/nutrients. Accessed July 5, 2022

Antitumoral activity of Ficus carica L. on colorectal cancer cell lines. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31472041/. Accessed July 5, 2022

The Effect of Fig Tree Latex (Ficus carica) on Stomach Cancer Line. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3371962/. Accessed July 5, 2022

Ficus carica leaf extract modulates the lipid profile of rats fed with a high-fat diet through an increase of HDL-C. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23606376/. Accessed July 5, 2022

Effects of Ficus carica paste on constipation induced by a high-protein feed and movement restriction in beagles. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22232635/. Accessed July 5, 2022

In vitro antioxidant, collagenase inhibition, and in vivo anti-wrinkle effects of combined formulation containing Punica granatum, Ginkgo biloba, Ficus carica, and Morus alba fruits extract. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26203268/. Accessed July 5, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกฟิก หรือมะเดื่อฝรั่ง กับประโยชน์สุขภาพเริ่ดๆ ที่ควรต้องลอง

สูตรสลัดลูกฟิก (สลัดลูกมะเดื่อฝรั่ง)


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา