backup og meta

ลูกท้อ สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ลูกท้อ สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค
ลูกท้อ สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ลูกท้อ หรือ ลูกพีช เป็นพืชเมืองร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร สุขภาพหัวใจ สุขภาพผิว เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อาจช่วยลดอาการภูมิแพ้ รวมถึงยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานลูกท้อในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmr]

คุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารของลูกท้อ

ลูกท้อ 1 ถ้วย ปริมาณ 168 กรัม เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินเค แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

  • พลังงาน 65.5 แคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม
  • น้ำตาล 14.10 กรัม
  • ไฟเบอร์ 2.52 กรัม
  • โปรตีน 1.53 กรัม
  • ไขมัน 0.42 กรัม

นอกจากนี้ ลูกท้อสุกยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ภายในร่างกาย ชะลอความเสื่อมสภาพของผิวหนังตามอายุ และอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

ประโยชน์ของลูกท้อ

  1. เสริมสร้างระบบย่อยอาหาร

ลูกท้อมีใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งอาจช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ดีขึ้น และเพิ่มมวลอุจจาระช่วยให้ขับถ่ายง่าย ลดอาการท้องผูก โดยงานวิจัยหนึ่งในวารสาร World Journal of Gastroenterology ปี พ.ศ. 2555 ทำการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคใยอาหารและอาการท้องผูก โดยรวบรวมผลงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องจำนวน 1,322 ชิ้น พบว่าการบริโภคใยอาหาร เช่น สารสกัดจากพืช ธัญพืช รำข้าว สามารถเพิ่มความถี่ในการถ่ายของผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกได้

  1. สุขภาพหัวใจ

งานวิจัยในวารสาร Academy of Nutrition and Dietetics ปี พ.ศ. 2556 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไขมันในเลือดและฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และสติลบีน (Stilbene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ ผัก และถั่ว โดยมีผู้ร่วมทดลอง 1,393 คน พบว่าลูกท้อ ลูกพีช แอปเปิล ลูกแพร์ อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์และสติลบีน  ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูงและลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะในผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญ

  1. สุขภาพผิว

สารสกัดจากเมล็ดหรือดอกลูกท้ออาจช่วยลดความเสื่อมของผิวจากรังสียูวี และช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นบนผิว จากการวิจัยและทดลองในวารสารการแพทย์ Current Medicinal Chemistry ปี พ.ศ. 2560 ระบุว่า ลูกท้อมีเซราไมด์ (Ceramides) ซึ่งเป็นน้ำมันในผิวตามธรรมชาติ ที่สามารถช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นและช่วยให้ผิวเรียบเนียนมีสุขภาพดี

  1. อาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ลูกท้อมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซี โพลีฟีนอล (Polyphenol) แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่อาจมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ จากงานวิจัยในวารสาร Food Chemistry Volume 204 ปี พ.ศ.2559 พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระในลูกท้ออาจช่วยต้านเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส (Listeria monocytogenes) นอกจากนี้ อาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ได้อีกด้วย

  1. อาจลดอาการภูมิแพ้

ฮีสตามีน (Histamines) เป็นสารเคมีที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อตอบสนองสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น คัน ไอ จาม ผื่นการวิจัยในวารสาร Natural Product Communications เกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารไซยาโนเจน (Cyanogenic) และฟีนอลไกลโคไซด์ (Phenolic glycosides)  จากเมล็ดของลูกท้อ ปี พ.ศ. 2556 พบว่า ไซยาโนเจนและฟีนอลไกลโคไซด์เป็นสารประกอบที่พบได้ในเมล็ดพืชบางชนิด เช่น ลูกท้อ เชอร์รี่ แอปริคอต อัลมอนด์สารสกัดจากเมล็ดของลูกท้อนี้อาจช่วยยับยั้งการหลั่งของฮีสตามีนในเลือด และช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้

  1. อาจลดความเสี่ยงของมะเร็ง

ลูกท้อเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ จากการวิจัยในวารสาร Molecular and Cellular Biochemistry เกี่ยวกับกรดคาเฟอีนต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง ปี พ.ศ. 2554 และการวิจัยในวารสาร Cellular Biochemistry เกี่ยวกับลูทีน ไลโคปีน ในการป้องกันมะเร็ง ปี พ.ศ. 2558 ระบุว่า เปลือกและเนื้อลูกพีชอุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ลูทีน (Lutein) ไลโคปีน (lycopene) และกรดคาเฟอีน (Caffeic acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็งได้

ข้อควรระวังในการบริโภคลูกท้อ

ความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อรับประทานลูกท้อที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้

  • ลูกท้อมีสารซาลิไซเลต (Salicylates) และอะมิกดาลิน (Amygdalin) เป็นสารที่อาจทำให้บางคนอาจมีอาการแพ้ได้ เช่น บวมและคันบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และลำคอ อาเจียน ท้อเสีย
  • ลูกท้อมีน้ำตาลหมัก (Fermentable sugar) ที่ลำไส้เล็กอาจดูดซึมได้ไม่ดี ทำให้น้ำตาลหมักถูกลำเลียงและสะสมในลำไส้ใหญ่และปล่อยก๊าซออกมา ดังนั้น การรับประทานลูกท้อมากเกินไปจึงอาจทำให้มีอาการท้องอืดได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anti-allergic inflammatory effects of cyanogenic and phenolic glycosides from the seed of Prunus persica. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24555287/. Accessed December 2, 2021

Effects of Peach (Prunus persica)-Derived Glucosylceramide on the Human Skin. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5740493/. Accessed December 2, 2021

Estimated daily flavonoid and stilbene intake from fruits, vegetables, and nuts and associations with lipid profiles in Chinese adults. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23522824/. Accessed December 2, 2021

Prokinetic activity of Prunus persica (L.) Batsch flowers extract and its possible mechanism of action in rats. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25821812/. Accessed December 2, 2021

Review article: prebiotics in the gastrointestinal tract. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16918875/. Accessed December 2, 2021

Effect of dietary fiber on constipation: a meta analysis. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23326148/. Accessed December 2, 2021

Bioactive compounds contents, antioxidant and antimicrobial activities during ripening of Prunus persica L. varieties from the North West of Tunisia. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26988472/. Accessed December 2, 2021

Inhibitory effect of caffeic acid on cancer cell proliferation by oxidative mechanism in human HT-1080 fibrosarcoma cell line. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21116690/. Accessed December 2, 2021

Lutein, lycopene, and their oxidative metabolites in chemoprevention of cancer. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8538204/. Accessed December 2, 2021

Prunus persica var. platycarpa (Tabacchiera Peach): Bioactive Compounds and Antioxidant Activity of Pulp, Peel and Seed Ethanolic Extracts. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26138775/. Accessed December 2, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/12/2021

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหาร 5 หมู่ และสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยโภชนาการ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 13/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา