backup og meta

เฉาก๊วย เมนูคลายร้อนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เฉาก๊วย เมนูคลายร้อนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เฉาก๊วย เป็นของหวานที่ช่วยคลายร้อย ทั้งยังมีสรรพคุณทางยา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย ป้องกันความดันโลหิตสูง แต่หากรับประทานคู่กับน้ำตาล หรือน้ำเชื่อม ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะพอดี

ประโยชน์ของเฉาก๊วย

เฉาก๊วย ถูกทำมาจากต้นเฉาก๊วย (Mesona Chinensis Benth) ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับมิ้นต์ หรือสะระแหน่ ถูกค้นพบได้มากในประเทศจีน และถูกแพร่กระจายออกไปในวงกว้างในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจนำใช้ปรุงเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร การรับประทานเฉาก๊วยไม่ใช่แค่เพื่อความอร่อยเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยบำรุงร่างกาย ปรับปรุงสุขภาพภายในต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ดูแลช่องทางเดินอาหาร

เพราะพืชที่นำมาใช้ทำเฉาก๊วยมีสารแอลคาลอยด์ (Alkaloid) วิตามินบี วิตามินซี และสารน้ำตาลบางอย่างประกอบจำนวนมาก จึงอาจทำให้ป้องกันอาการปวดท้อง ท้องร่วง ท้องผูก พร้อมยังมีไฟเบอร์ที่ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องทางเดินอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารมีการทำงานที่ดีขึ้นอีกด้วย

  • ลดน้ำหนัก

เนื่องด้วยเฉาก๊วยถูกการแปรรูปด้วยพืช จึงอาจทำให้สารอาหารบางส่วนยังคงอยู่ไม่ว่าจะเป็น วิตามินบี 1 ฟอสฟอรัส และไฟเบอร์สูง จึงทำให้ปริมาณแคลอรี่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ เหมาะแก่การนำมารับประทานเพื่อลดน้ำหนัก แต่ถึงอย่างไร ไม่ควรรับประทานเฉาก๊วยแทนอาหารหลักสำคัญ เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ โปรตีน เพราะอาจทำให้ร่างกายรับสารอาหารไม่เพียงพอ จนอาจเกิดการเจ็บป่วยได้

  • ป้องกันโรคเบาหวาน

ในพันธุ์พืชของเฉาก๊วยมีสารประกอบมากมาย ซึ่ง Bisbenzilsokuinolin Compounds ก็เช่นเดียวกัน ที่อาจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งยังอาจปรับปรุงการทำงานของระดับอินซูลิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน

  • รักษาไข้

สารประกอบหลากหลายภายในเฉาก๊วย เช่น คาร์โบไฮเดรต พอลิฟีนอล (Polyphenols) ซาโปนิน (Saponins) ล้วนมีคุณสมบัติต่อต้าน หรือกำจัดสารพิษที่เป็นตัวการเข้ามาทำลายระบบการทำงานของร่างกาย รวมทั้งยังช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่มีไข้ขึ้นสูงได้

  • ป้องกันโรคมะเร็ง

นอกจากเฉาก๊วยในรูปแบบวุ้น ยังสามารถนำใบจากต้นสด ๆ มาสับให้ละเอียด และต้มในน้ำเดือด เพื่อนำมาดื่มเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร พร้อมทั้งยังอาจช่วยต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก และยังอาจกำจัดเซลล์มะเร็งได้มากถึง 55%-90% เลยทีเดียว

เฉาก๊วย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย

หากนิยมนำเฉาก๊วยรับประทานคู่กับน้ำเชื่อม น้ำตาล โปรดระวังเพราะอาจทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในรับสูงขึ้น และอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวาน ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดี หรือใช้น้ำตาลเทียมที่สกัดมาจากหญ้าหวานทดแทน

อีกทั้งกระบวนการแปรรูปจากพืชมาสู่รูปแบบวุ้น ทำให้อาจมีสารปนเปื้อนอย่างสารบอแร็กซ์ (Borax) ซึ่งสารนี้อาจถูกนำมาผสมเพื่อเพิ่มความข้นเหนียวของอาหาร และเป็นการยืดอายุให้อยู่ได้นานขึ้น แต่ถ้ารับประทานเข้าไปปริมาณมากก็อาจก่อให้เกิดผลเสียแก่ร่างกาย จึงควรตรวจสอบฉลากข้างถุงให้ดีเสียก่อน ก่อนการนำเฉาก๊วยมาบริโภคทุกครั้ง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mesona Chinensis Benth extract prevents AGE formation and protein oxidation against fructose-induced protein glycation in vitro. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3985549/ Accessed May 07, 2020

22 Health Benefits of Grass Jelly. https://drhealthbenefits.com/food-bevarages/beverages/health-benefits-of-grass-jelly. Accessed May 07, 2020

6 Benefits of Grass Jelly.  https://www.health-talks.net/2019/03/14/6-benefits-of-grass-jelly/. Accessed May 07, 2020

Effects of grass jelly on glycemic control: hydrocolloids may inhibit gut carbohydrate. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29384320/. Accessed December 06, 2021

Black Grass Jelly (Mesona Palustris Bl) Effervescent Powder has Anti-Dyslipidemia in High Cholesterol Diet-Fed Rats and Antioxidant Activity. https://www.researchgate.net/publication/322425711_Black_Grass_Jelly_Mesona_Palustris_Bl_Effervescent_Powder_has_Anti-Dyslipidemia_in_High_Cholesterol_Diet-Fed_Rats_and_Antioxidant_Activity. Accessed December 06, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/12/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ อาหารที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง มีอะไรบ้าง?

อาหารแดช หรือแดชไดเอท (DASH Diet) ช่วยลดความดัน และลดน้ำหนักได้ด้วย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา