backup og meta

ประโยชน์ของกล้วยมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของกล้วยมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของกล้วย ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมีหลายประการ เพราะกล้วยอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างโพแทสเซียม แมกนีเซียม ไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 6 วิตามินซี และวิตามินเอ ที่อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ลดความดันโลหิต เพิ่มความจำ นอกจากนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและมะเร็งได้

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย

กล้วยขนาดกลาง 1 ลูกน้ำหนักประมาณ 100 กรัม ประกอบไปด้วยปริมาณสารอาหาร ดังนี้

  • พลังงาน 105 แคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 14.4 กรัม
  • ไฟเบอร์ 3.1 กรัม
  • โปรตีน 1.3 กรัม
  • โฟเลต 23.6 ไมโครกรัม
  • แมกนีเซียม 31.9 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 422 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 10.3 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 6 0.367 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของกล้วยต่อสุขภาพ

เสริมสุขภาพทางเดินอาหาร

กล้วยอุดมไปด้วยไฟเบอร์และน้ำที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อยีสต์และทางเดินปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อทางเดินอาหารบางชนิด ลดการแพ้แลคโตส และยังเป็นหนึ่งในอาหาร BRAT ไดเอทที่ช่วยรักษาอาการท้องเสีย โดยประกอบด้วย (Bananas) ข้าว (Rice) ซอสแอปเปิล (Apple sauce) และขนมปังปิ้ง (Toast)  นอกจากนี้ กล้วยอาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ปวดท้องของผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบให้ดีขึ้นได้

ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ

กล้วยมีไฟเบอร์ โพแทสเซียม โฟเลต และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ช่วยให้เซลล์ประสาทตอบสนองได้ดี ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ ควบคุมความดันโลหิต นอกจากนั้น การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอาจช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (LDL) และช่วยลดระดับไขมันเลว (HDL) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการบริโภคไฟเบอร์ที่มีต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เผยแพร่ในวารสาร Journal of Chiropractic Medicine พ.ศ.2560 ระบุว่า การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด LDL ซึ่งเป็นไขมันเลว อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ

เสริมความจำและการควบคุมอารมณ์

กล้วยมี ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่อาจช่วยรักษาความจำ เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และอาจช่วยควบคุมอารมณ์ให้คงที่ได้ด้วย

ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน

กล้วยอดุมไปด้วยไฟเบอร์ซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติในผู้ป่วยเบาหวาน และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีกด้วย

ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

โปรตีนแลคติน (Lectin) ในกล้วยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ กล้วยยังมีวิตามินซี วิตามินเอ ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันมะเร็งได้เช่นกัน

อาจช่วยป้องกันโรคหอบหืด

เนื่องจากกล้วยมีสารต้านอนุมูลอิสระและโพแทสเซียม ที่อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินหายใจ และป้องกันโรคหอบหืดได้

ข้อควรระวังในการบริโภคกล้วย

แม้ว่ากล้วยจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ แต่ควรรับประทานให้พอเหมาะ โดยมีข้อควรระวังในการบริโภค ดังนี้

  • ผู้ที่ใช้ยา เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งยาชนิดนี้อาจเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือด ดังนั้น ผู้ที่ต้องรับประทานยาชนิดนี้ควรจำกัดปริมาณการรับประทานกล้วย เพราะกล้วยมีระดับโพแทสเซียมสูง อาจเสี่ยงทำให้ไตทำงานไม่เต็มที่ และไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินได้หมดและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • โรคภูมิแพ้ กล้วยอาจทำให้เกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะในผู้ที่แพ้พืชยางธรรมชาติ เช่น ขนุน หากรับประทานแล้วมีอาการคัน หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Health Benefits of Bananas. https://www.webmd.com/food-recipes/health-benefits-bananas. Accessed September 26, 2022.

Banana, raw. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/1102653/nutrients. Accessed September 26, 2022.

A Primer on Potassium. https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/sodium/potassium. Accessed September 26, 2022.

Banana Lectin: A Brief Review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6272006/. Accessed September 26, 2022.

Dietary Fiber Is Beneficial for the Prevention of Cardiovascular Disease: An Umbrella Review of Meta-analyses. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5731843/. Accessed September 26, 2022.

Dietary Fiber Intake and Type 2 Diabetes Mellitus: An Umbrella Review of Meta-analyses. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5883628/. Accessed September 26, 2022.

Eating Well Fruit. https://www.diabetes.org/healthy-living/recipes-nutrition/eating-well/fruit.Accessed September 26, 2022.

Dietary Patterns and Self-Reported Associations of Diet with Symptoms of Inflammatory Bowel Disease. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3552110/. Accessed September 26, 2022.

Bland Diet. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538142/. Accessed September 26, 2022.

Influence of Tryptophan and Serotonin on Mood and Cognition with a Possible Role of the Gut-Brain Axis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4728667/. Accessed September 26, 2022.

Potassium. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Potassium-HealthProfessional/. Accessed September 26, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

กล้วย ประโยชน์ต่อสุขภาพผม และสูตรมาสก์ผมด้วยกล้วย

ป้อนกล้วยทารก เสี่ยงตายได้ หากไม่ถึงวัยอันควร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 26/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา