backup og meta

วิตามินบำรุงผม ที่ช่วยให้ผมสวยสุขภาพดี มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 19/08/2022

    วิตามินบำรุงผม ที่ช่วยให้ผมสวยสุขภาพดี มีอะไรบ้าง

    วิตามินบำรุงผม มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วตามิซี วิตามินเอ วิตามินบี ซึ่งช่วยให้ผมมีสุขภาพดี เงางาม นอกจากนี้ ยังอาจช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวของกับผม เช่น ผมแห้ง ผมขาดหลุดร่วง ผมแห้ง โดยวิตามินบำรุงผมอาจพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอุดมด้วยวิตามิน อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพเส้นผมให้แข็งแรง

    วิตามินบำรุงผม เพื่อผมสวยสุขภาพดี

    สำหรับวิตามินบำรุงผมที่ช่วยให้ผมสวยสุขภาพดี อาจมีดังนี้

    วิตามินเอ

    วิตามินเออาจจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ และเส้นผม รวมถึง ยังอาจช่วยส่งเสริมการผลิตไขมันบนหนังศีรษะ ซึ่งเป็นน้ำมันตามธรรมชาติที่ช่วยให้เส้นผมชุ่มชื่นเงางาม มีสุขภาพดี โดยวิตามินเออาจพบได้มากในแครอท มันหวาน ฟักทอง คะน้า โยเกิร์ต นม และไข่ อย่างไรก็ตาม การรับประทานวิตามินเอมากเกินไปก็อาจทำให้ผมร่วงได้

    โดยปริมาณวิตามินเอที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับในแต่ละช่วงวัย อาจมีดังนี้

    • เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรได้รับวิตามินเอ 400 ไมโครกรัม/วัน
    • ทารกอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินเอ 500 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 300 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 400 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 600 ไมโครกรัม/วัน
    • ผู้หญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 700 ไมโครกรัม/วัน และผู้ชายควรได้รับวิตามินเอ 900 ไมโครกรัม/วัน
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์อายุ 14-18 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 750 ไมโครกรัม/วัน และอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 770 ไมโครกรัม/วัน
    • ผู้หญิงให้นมบุตรอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 1,200 ไมโครกรัม/วัน และอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 1,300 ไมโครกรัม/วัน

    วิตามินซี

    วิตามินซีเป็นอีกหนึ่งวิตามินบำรุงผมที่ควรได้รับอย่างเพียงพอ ซึ่งวิตามินซีมีเป็นส้รานต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ จึงอาจช่วยชะลอการหงอกของเส้นผม นอกจากนี้ การรับประทานวิตามินซีเป็นประจำให้ปริมาณที่พอเหมาะ ยังอาจช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนได้มากขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้กระชับเนื้อเยื่อของเส้นผมและเสริมสร้างโครงสร้างเส้นผม ทำให้ผมสุขภาพดีขึ้น โดยวิตามินซีอาจพบได้มากในผักและผลไม้ เช่น เชอร์รี่ กล้วย แอปเปิล องุ่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ มะเขือเทศ บร็อคโคลี กะหล่ำดอก

    โดยปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับในแต่ละช่วงวัย อาจมีดังนี้

    • ทารก 0-6 เดือน ควรได้รับวิตามินซี 40 มิลลิกรัม/วัน
    • ทารก 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินซี 50 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินซี 15 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินซี 25 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินซี 45 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กผู้หญิงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับวิตามินซี 65 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กผู้ชายอายุ 14-18 ปี ควรได้รับวิตามินซี 75 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ใหญ่เพศหญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินซี 75 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ใหญ่เพศชายอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินซี 90 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตามินซี 80-85 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับวิตามินซี 115-120 มิลลิกรัม/วัน

    วิตามินอี

    วิตามินอีอาจช่วยเพิ่มกระบวนการเจริญเติบโตของเส้นผม ซึ่งการรับประทานวิตามินอีเป็นประจำ อาจช่วยให้เส้นผมกลับมาเจริญเติบโตได้ภายใน 8 เดือน โดยวิตามินอีอาจวิตามินพบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน ผักโขม อัลมอนด์ ไข่แดง นม ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน

    โดยปริมาณวิตามินอีที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับในแต่ละช่วงวัย อาจมีดังนี้

    • เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรได้รับวิตามินอี 400 มิลลิกรัม/วัน
    • ทารกอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินอี 5 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินอี 6 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินอี 7 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินอี 11 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงและผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินอี 15 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์อายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินอี 15 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงให้นมบุตรอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินอี 19 มิลลิกรัม/วัน

    วิตามินบี

    วิตามินบี หรือ โบไบโอติน อาจช่วยลดปัญหาผมร่วงจากการขาดไบโอติน และอาจช่วยให้เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงหนังศีรษะ และรูขุมขน ซึ่งอาจช่วยทำให้หนังศีรษะแข็งแรง ผมไม่ขาดหลุดร่วง ซึ่งวิตามินบีอาจพบได้ในธัญพืช ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ นนและผลิตภัณฑ์จากนม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 19/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา