backup og meta

สูตรก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

สูตรก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน เป็นเมนูที่ถือว่าทำง่าย นอกจากจะทานเป็นอาหารมื้อหลักได้แล้ว ยังสามารถทานเล่นได้อีกด้วย ในก๋วยเตี๋ยวลุยสวนนั้นประกอบด้วยผักนานาชนิดและเนื้อสัตว์ จึงถือได้ว่าทานแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สูตรก๋วยเตี๋ยวลุยสวน มาฝากให้ได้ลองทำทานกันดู

ประโยชน์ของใบโหระพา ที่ควรรู้

ใบโหระพา เป็นผักที่นิยมนำมาปรุงอาหาร เนื่องจากใบของโหระพานั้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมื่อนำมาปรุงกับอาหาร จะทำให้อาหารมีกลิ่นที่หอมไปด้วย นอกจากความเฉพาะตัวเรื่องกลิ่นแล้ว ใบโหระพายังมีดีมากกว่าความหอม เพราะประโยชน์ของใบโหระพา มีมากมาย ดังนี้

  1. ดีสำหรับการย่อย : ในหนังสือ “Healing Foods” โดย DK Publishing ได้ระบุเอาไว้ว่า ใบโหระพา สามารถช่วยย่อยอาหารได้ดีที่สุด นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยปรับสมดุลกรดภายในร่างกายและฟื้นฟูระดับ pH ที่เหมาะสมของร่างกาย
  2. ต้านอาการอักเสบ : ใบโหระพา ช่วยลดการอักเสบได้ด้วยการยับยั้งผ่านเอนไซม์ นอกจากนั้นยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไขข้ออักเสบ และสภาพลำไส้อักเสบ นอกจากนั้น การรับประทานใบโหระพา ยังสามารถบรรเทาไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ หวัด และอาการไอจากไข้หวัด ได้ด้วย
  3. ประโยชน์ด้านผิว : ใบโหระพา ช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวมันเป็นอย่างมาก ทั้งยังช่วยขจัดสิ่งสกปรกและสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขน รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดสิว
  4. ต่อสู้กับอาหารซึมเศร้า : น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในใบโหระพา อาจช่วยจัดการภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล
  5. จัดการกับโรคเบาหวาน : การบริโภคใบโหระพา จะช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดหลั่งช้า ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในโหระพา ยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
  6. รองรับการทำงานของตับ และช่วยล้างพิษในร่างกาย : ใบโหระพา มีคุณสมบัติช่วยในการดีท็อกซ์ ทั้งยังทำให้สุขภาพตับของคุณดีขึ้นด้วย
  7. ช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง : โหระพา ช่วยฟื้นฟูระดับค่า pH ตามธรรมชาติ และให้อาหารต่อแบคทีเรีย ที่มีประโยชน์ภายในลำไส้ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและส่งเสริมการย่อยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  8. รักษาอาหารปวดท้อง : การบริโภคใบโหระพา สามารถช่วยลดอาการบวมน้ำ และการกักเก็บน้ำ ทั้งยังสามารถกระตุ้นการสูญเสียความอยากอาหาร และสามารถรักษากรดไหลย้อน ได้ด้วย

ใบโหระพา

ผักกาดหอม มีดีอย่างไร

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผักกาดหอม ถือเป็นผักที่นิยมมากเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ในผักสลัด และอาหารชนิดอื่นๆ เช่น แซนวิช ซุป  นอกจากนั้นยังสามารถนำมาห่ออาหาร ได้ด้วย ผักกาดหอม อุดมไปด้วยวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  1. ต้านอาหารอักเสบ โปรตีนบางชนิดในผักกาดหอม ช่วยควบคุมอาการอักเสบ เนื่องจากผักกาดหอมอุดมไปด้วย วิตามินเค
  2. ส่งเสริมสุขภาพสมอง ผักกาดหอมอุดมไปด้วยไนเตรท สารอาหารนี้จะถูกแปลงไปเป็นไนตริกออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยควบคุมการตายของเซลล์ประสาทได้
  3. ช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง  การบริโภคผักกาดหอม ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งปาก มะเร็งคอ และมะเร็งหลอดอาหาร
  4. ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน ผักกาดหอมช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  5. ช่วยในเรื่องของการมองเห็น ในผักกาดหอมมีแซนทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเพิ่มการมองเห็น ส่งเสริมสุขภาพของดวงตา ป้องกันโรคต้อกระจก (Cataract) และโรคต่างอื่นๆ
  6. ช่วยในเรื่องของทางเดินอาหาร  เส้นใยในผักกาดหอม ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร บรรเทาอาหารปวดท้อง ท้องผูก ท้องอืด และช่วยปรับปรุงสุขภาพของลำไส้ด้วย
  7. รักษาอาการนอนไม่หลับ  ในผักกาดหอม มีสารที่ช่วยระงับระบบประสาท และส่งเสริมการนอนหลับ
  8. เพิ่มภูมิคุ้มกัน แม้จะไม่มีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่วิตามินเอ และวิตามินซี ในผักกาดหอม ถือเป็นอาหารที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นผักกาดหอม ยังมีคุณสมบัติในการเป็นสารจุลชีพ
  9. ดีสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์  วิตามินเคในผักกาดสามารถลดอัตราการตกเลือด ซึ่งถือเป็นประโยชน์ระหว่างการคลอดบุตรเป็นอย่างมาก แถมไฟเบอร์ในผักกาดหอม ก็สามารถป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มักจะเกิดในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์
  10. ปรับปรุงสุขภาพผิวและเส้นผม โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ :
  • วิตามินเอ : ฟื้นฟูผิวและเพิ่มการหมุนเวียนของเซลล์
  • โพแทสเซียม : เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • วิตามินซี : ปกป้องผิวจากรังสี ชะลอการเกิดริ้วรอย
  • วิตามินเค : เพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม และป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม

สูตรก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

วัตถุดิบ

(สำหรับ 3-4 ที่ ใช้เวลา 20 นาที)

  1. เส้นก๋วยเตี๋ยว 1/2 กิโลกรัม
  2. หมูสับ 200 กรัม
  3. เห็ดหอมหั่นเต๋าเล็ก 4 ช้อนโต๊ะ
  4. ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
  5. น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
  6. พริกไทย 1 ช้อนชา
  7. ผักกาดหอม
  8. ใบโหระพา
  9. ผักชีฝรั่ง
  10. แครอท 4 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมน้ำจิ้ม

  1. พริกเขียว 10-15 เม็ด
  2. ผักชีและราก 1/2 ถ้วยตวง
  3. กระเทียม 1/2 ถ้วยตวง
  4. น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง
  5. น้ำมะนาว 4 ช้อนโต๊ะ
  6. น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ
  7. เกลือป่น 2 ช้อนชา

วิธีทำ

  1. ทำไส้หมูสับโดยตั้งกระทะ ใส่น้ำมันเล็กน้อย ใส่เห็ดหอมผัดให้หอม ใส่หมูสับลงผัด ตามด้วยแครอท ผัดให้สุก
  2. ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว น้ำตาล และพริกไทย ผัดให้เข้ากัน ตักขึ้น พักให้เย็น
  3. ทำน้ำจิ้มโดยนำพริก ผักชี กระเทียม และน้ำเปล่า ปั่นให้ละเอียด ปรุงรสด้วย น้ำตาล น้ำมะนาว และเกลือป่น ปั่นอีกครั้งให้เข้ากันดี
  4. ห่อก๋วยเตี๋ยว โดยนำแผ่เส้นก๋วยเตี๋ยวมาวาง จากนั้นวางผักต่างๆ และไส้หมูสับที่ผัดไว้ลงไป แล้วม้วนให้แน่นตัดเป็นชิ้นพอดีคำ จัดเสิร์ฟ พร้อมน้ำจิ้มที่เตรียมไว้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน. https://food.ndtv.com/food-drinks/9-incredible-benefits-of-basil-leaves-you-may-not-have-known-1834742. Accessed November 01, 2019

9 Incredible Benefits Of Basil Leaves You May Not Have Known. https://food.ndtv.com/food-drinks/9-incredible-benefits-of-basil-leaves-you-may-not-have-known-1834742. Accessed November 01, 2019

16 Best Benefits Of Lettuce For Skin, Hair, And Health. https://www.stylecraze.com/articles/best-benefits-of-lettuce-for-skin-hair-and-health/#gref. Accessed November 01, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีแก้ปวดหัว สุดเจ๋ง ดูแลตัวเองได้...ไม่ต้องพึ่งยา

ระดับความรุนแรงของสิว และ การรักษาสิว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา