backup og meta

สูตรต้มเลือดหมู แหล่งรวมประโยชน์ต่อสุขภาพ

สูตรต้มเลือดหมู แหล่งรวมประโยชน์ต่อสุขภาพ

ต้มเลือดหมู เป็นเมนูที่มีส่วนประกอบของน้ำซุปกระดูกหมู ตำลึง เลือดหมู และเนื้อหมู ซึ่งล้วนแต่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซีม ธาตุเหล็ก ที่อาจช่วยบำรุงสายตา ช่วยกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดง ป้องกันโลหิตจาง ช่วยบำรุงสุขภาพกระดูกและฟัน และอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้ สูตรต้มเลือดหมู ที่นอกจากจะทำง่ายแล้ว ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

[embed-health-tool-bmi]

ต้มเลือดหมู แหล่งรวมประโยชน์ต่อสุขภาพ

เมนูต้มเลือดหมูนั้นจัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูสุขภาพ ที่ควรค่าแก่การรับประทาน เนื่องจากเต็มไปด้วยส่วนผสมที่อุดมไปด้วยค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

  • น้ำซุปกระดูกหมู น้ำซุปที่ได้จากการเคี่ยวกระดูกหมูนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินเค2 แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และกรดไขมันโอเมก้า 3 นอกจากนี้ ในซุปกระดูกหมูยังอุดมไปด้วยคอลลาเจน กรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยให้ผิวดูเต่งตึงและมีสุขภาพดีอีกด้วย
  • ใบตำลึง ใบตำลึงเป็นผักพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยในการบำรุงสายตา ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังมีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า ใบตำลึงนั้นสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และเหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย
  • เลือดหมู ในเลือดหมู 100 กรัม จะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก เลือดหมูนั้นเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับการบำรุงร่างกายโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดหรือการขาดธาตุเหล็ก โดยการรับประทานต้มเลือดหมู 1 ชาม จะให้ปริมาณของธาตุเหล็กมากเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยป้องกันท้องผูกได้อีกด้วย

สูตรต้มเลือดหมู

วัตถุดิบ

  1. กระดูกหมู 500 กรัม
  2. ใบตำลึงเด็ด 1 กำมือ
  3. ตับหมู 50 กรัม
  4. ผักกาดหอม 3-4 ใบ
  5. เลือดหมู 1 ก้อนใหญ่ (หั่นชิ้นพอดีคำ)
  6. หมูสับ 100 กรัม
  7. ไส้อ่อน 50 กรัม
  8. เนื้อหมูก้อน 50 กรัม
  9. พริกไทย
  10. น้ำปลา ½ ช้อนโต๊ะ
  11. ซอสถั่วเหลือง ½ ช้อนโต๊ะ
  12. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  13. กระเทียมเจียว
  14. ผักชี
  15. ต้นหอมซอย
  16. น้ำเปล่า 700 กรัม

วิธีทำ

  1. ต้มน้ำให้เดือด ใส่กระดูกหมู และปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง พริกไทย ปิดฝา ต้มจนเดือด ประมาณ 30 นาที
  2. ตักกระดูกหมูออก ใส่หมูสับปั้นก้อน เนื้อหมู แล้วตามด้วยเครื่องใน ตับ ไส้อ่อน และเลือดหมู ต้มให้เดือด
  3. เตรียมถ้วย ใส่ใบตำลึงและผักกาดลงในถ้วย แล้วราดด้วยน้ำซุปกระดูกหมู พร้อมกับเลือดหมูและเครื่องอื่นๆ โรยด้วยกระเทียมเจียว ผักชี และต้นหอมซอย
  4. เสิร์ฟพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ พร้อมรับประทาน

ข้อควรระวังในการรับประทานต้มเลือดหมู

เพียงเท่านี้ ก็จะได้รับประทานเมนูต้มเลือดหมูร้อนๆ แสนอร่อย แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าต้มเลือดหมูจะเป็นเมนูอาหารที่มีรสชาติอร่อย หารับประทานได้ง่าย และให้ประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ แต่ผู้ที่มีสภาวะบางอย่าง เช่น ผู้ป่วยโรคเกาต์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานต้มเลือดหมู เนื่องจากตำลึง เครื่องใน และส่วนผสมอื่นๆ ที่อยู่ในเมนูต้มเลือดหมูนั้นล้วนแล้วแต่ก็เป็นอาหารที่มีค่าพิวรีน (Purine) สูง ซึ่งสารพิวรีนนี้จะถูกเผาผลาญแล้วกลายเป็นกรดยูริก ทำให้อาการของโรคเกาต์รุนแรงขึ้นได้ในภายหลัง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Benefits of Bone Broth. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-bone-broth#1. Accessed 27 June, 2022.

Calcium. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/calcium/#:~:text=Calcium%20is%20a%20mineral%20most,heart%20rhythms%20and%20nerve%20functions. Accessed 27 June, 2022.

Potassium and Your CKD Diet. https://www.kidney.org/atoz/content/potassium. Accessed 27 June, 2022.

Vitamin A. https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/vitamin-a/#:~:text=Vitamin%20A%2C%20also%20known%20as,such%20as%20the%20nose%2C%20healthy. Accessed 27 June, 2022.

Pork: Is It Good for You? https://www.webmd.com/diet/pork-good-for-you. Accessed 27 June, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตำลึง ผักริมรั้ว ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทาน

เบาหวาน ป้องกันได้ ด้วย สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา