backup og meta

สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เพื่ออาหารสีสดใส แบบไร้สารเคมี

สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เพื่ออาหารสีสดใส แบบไร้สารเคมี

การใช้สีผสมอาหาร เพื่อช่วยทำให้อาหารมีสีสันสดใส ดูน่ารับประทาน เป็นเรื่องปกติที่เป็นที่นิยมมากในการทำอาหาร และการทำขนมต่างๆ โดยสีผสมอาหารเหล่านั้นจะเป็นสีสังเคราะห์ เพื่อเลียนแบบสีที่มีอยู่จริง แต่การรับประทานสีผสมอาหารสังเคราะห์เหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้น เราจึงควรหันมาลองใช้ สีผสมอาหารจากธรรมชาติ แบบปลอดภัย ไร้สารเคมี แถมยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

สีผสมอาหารจากธรรมชาติ มีอะไรบ้าง

สีแดง

บีทรูท (Beetroot) บีทรูท หรือหัวบีท เป็นผักที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นสีผสมอาหารจากธรรมชาติ โดยการคั้นน้ำบีทรูทมาผสมอาหาร มากน้อยตามความเข้มข้นของสี ถ้าใส่มากก็จะได้สีแดง ใส่น้อยก็จะได้สีชมพู บีทรูทนั้นมีคุณค่าทางสารอาหารสูง โดยเฉพาะวิตามินซีและโฟเลต นอกจากนี้ยังดีต่อสุขภาพของหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ต้านอักเสบ และยังอาจช่วยบำรุงสมองอีกด้วย

  • ข้อควรระวัง อย่างไรก็ตาม บีทรูทนั้นอาจจะทำให้ปัสสาวะมีสีชมพูหรือสีแดงได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิด ภาวะแคลเซียมต่ำ (Hypocalcemia)และไตเสียหายได้ ผู้ที่เป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานบีทรูท

กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบแดงก็เป็นอีกหนึ่งพืชที่จะให้สีแดงสด และมักจะใช้ในการย้อมผ้า แต่ก็สามารถนำมาประกอบอาหารเพื่อใช้เป้นสีผสมอาหารได้เช่นกัน กระเจี๊ยบแดงนั้นสามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล ช่วยบำรุงสุขภาพของตับ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

  • ข้อควรระวัง การรับประทานกระเจี๊ยบในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเป็นพิษได้ นอกจากนี้กระเจี๊ยบแดงก็อาจจะทำปฏิกิริยากับสมุนไพรและยาอื่นที่คุณกำลังใช้ เช่น ยาที่ใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูง การรับประทานยานั้นพร้อมกับกระเจี๊ยบแดง อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงต่ำเกิดไปจนเป็นอันตรายได้

สีเหลือง

ขมิ้นชัน ขมิ้นชันนั้นมีการนำมาใช้เพื่อเป็นสีผสมอาหาร เพราะสามารถให้สีที่เหลืองสด โดยใช้ปริมาณไม่มาก มีราคาที่ไม่แพง หาง่าย และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ขมิ้นชันสามารถช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด ต้านอักเสบ เพิ่มการทำงานของสมอง และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

  • ข้อควรระวัง บางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน หรือท้องเสียจากการรับประทานขมิ้นชันได้

หญ้าฝรั่น (Saffron) หญ้าฝรั่นเป็นพืชที่นิยมนำมาใช้เพื่อให้อาหารมีสีเหลืองอมส้ม ดูสวยงาม โดยเฉพาะในเมนูข้าวผัดสเปน (Paella) ที่จะขาดหญ้าฝรั่นไปไม่ได้ ประโยชน์ของหญ้าฝรั่นคือมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ทำให้อารมณ์ดี และช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome ; PMS) ได้

  • ข้อควรระวัง หญ้าฝรั่นเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างหายาก จึงทำให้มีราคาแพง การรับประทานหญ้าฝรั่นมากกว่า 5 กรัมอาจจะเป็นพิษได้ โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ควรบริโภคหญ้าฝรั่นเกิน 5 กรัม เพราะอาจส่งผลกระทบต่อมดลูกได้

สีเขียว

ใบเตย ใบเตยเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมที่คนไทยนิยมนำมาใส่ในอาหารและขนมเพื่อให้มีกลิ่นหอม และให้สีเขียวสวยเวลาใส่ในอาหาร ประโยชน์ของใบเตยคือช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ แก้หวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ดับกระหาย เป็นต้น

  • ข้อควรระวัง ใบเตยค่อนข้างปลอดภัยในการรับประทาน แต่ควรระมัดระวังอย่าเคี้ยวกินใบสดๆ เพราะอาจทำให้อาเจียนได้

สีน้ำเงิน

อัญชัน ดอกอัญชันสามารถให้ได้ทั้งสีน้ำเงินและสีม่วง เมื่อเราคั้นน้ำที่ได้จากดอกอัญชันก็จะมีสีน้ำเงินเข้ม แต่หากเราเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยก็จะกลายเป็นสีม่วง ดอกอัญชันสามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บำรุงสายตา ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดอุดตันอีกด้วย

  • ข้อควรระวัง ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่กำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางได้

สุดท้ายนี้ สีผสมอาหารจากธรรมชาติ แม้ว่าจะมีความปลอดภัยมากกว่าสีผสมอาหารสังเคราะห์ แต่การควบคุมระดับของสีและความสม่ำเสมอของสีที่ออกมาอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะสีผสมอาหารที่ได้จากธรรมชาติ มักจะไม่เด่นชัดเท่ากับสีผสมอาหารสังเคราะห์ นอกจากนี้การใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ อาจกลายเป็นการเพิ่มรสและเพิ่มกลิ่นในอาหาร และส่งผลกระทบกับอาหารที่ทำได้ การเลือกใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติจึงควรเน้นการทดลองทำบ่อย ๆ เพื่อกะดูปริมาณของสีและรสชาติที่เหมาะสมในการทำอาหารนั้น ๆ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

9 Easy, Natural Ways to Color Your Food https://health.clevelandclinic.org/green-mac-n-cheese-anyone-9-easy-natural-ways-to-color-your-food/. Accessed 31 March 2020
สีผสมอาหารที่ได้จากธรรมชาติ
http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/. Accessed 31 March 2020
9 Impressive Health Benefits of Beets https://www.healthline.com/nutrition/benefits-of-beets#section1. Accessed 31 March 2020
Roselle benefits and side effects https://bodynutrition.org/roselle/. Accessed 31 March 2020
10 Proven Health Benefits of Turmeric and Curcumin. https://www.healthline.com/nutrition/top-10-evidence-based-health-benefits-of-turmeric#section1. Accessed 31 March 2020
What are the health benefits of saffron? https://www.medicalnewstoday.com/articles/327017#benefits. Accessed 31 March 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมลิสต์สุดยอด อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ที่ดีต่อสุขภาพ และดีต่อการลดน้ำหนัก

สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา