backup og meta

ผลไม้ที่มะเร็งกลัว หมายถึงผลไม้อะไรบ้าง

ผลไม้ที่มะเร็งกลัว หมายถึงผลไม้อะไรบ้าง

มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เซลล์ในร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็วผิดปกติ และแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ จนกระทั่งส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลวจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม มะเร็งอาจป้องกันได้ ด้วยออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งการรับประทาน ผลไม้ที่มะเร็งกลัว ซึ่งมีสารอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง อย่างส้ม แอปเปิล หรือทับทิม

[embed-health-tool-bmr]

มะเร็ง คืออะไร

มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เซลล์ในร่างกายเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติ และหากไม่รีบรักษา เซลล์มะเร็งหรือเนื้อร้ายจะเติบโตจนเกินควบคุม และแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ปกติแล้ว มะเร็งอาจเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง สมอง ปอด ตับ กระดูก ต่อมลูกหมาก หรือปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของมะเร็งนั้นเกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ (DNA) หรือสารพันธุกรรมในเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์ปกติที่มีสุขภาพดีเติบโตรวดเร็วผิดปกติ และยากที่จะควบคุม

ในประเทศไทย พบผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2564 ระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในประเทศไทย มีจำนวน 139,206 คน/ปี ในขณะที่ผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็ง มีจำนวนประมาณ 84,073 คน/ปี

ทั้งนี้ มะเร็ง 5 อันดับแรกที่พบมากที่สุดในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก

ผลไม้ที่มะเร็งกลัว มีอะไรบ้าง

มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสนับสนุนว่าผลไม้บางอย่างอาจมีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็งได้ ได้แก่

ส้ม

ผลส้มรวมทั้งเปลือกส้มอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างวิตามินซี เบต้า-คริปโตแซนทีน (Beta-Cryptoxanthin) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง ป้องกันการเติบโตและการแพร่กระจายของเนื้อร้าย การบริโภคส้ม จึงอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผลไม้ตระกูลส้มและโอกาสเป็นมะเร็ง เผยแพร่ใน International Journal of Cancer ปี พ.ศ. 2553 นักวิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นอายุระหว่าง 40-79 ปี จำนวน 42,470 ราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง 2546 พบข้อสรุปว่า การบริโภคผลไม้ตระกูลส้มอาจสัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงที่ลดลงต่อการเป็นมะเร็งทุกชนิด โดยเฉพาะในผู้ที่บริโภคชาเขียวอย่างต่อเนื่องร่วมด้วย

ลูกหม่อน

ในลูกหม่อนมีสารต้านมะเร็งหลายชนิด เช่น แอนโทไซยานิน  (Anthocyanin) ไซยานิดิน 3 กลูโคโคไซด์ (Cyanidin 3-glucoside) ไมริเซติน (Myricetin) รูทิน (Rutin) ดังนั้น การบริโภคลูกหม่อนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารสกัดลูกหม่อน ในการทำลายและยับยั้งการเติบโตเซลล์ของมะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular Carcinoma) ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Food and Drug Analysis ปี พ.ศ. 2563 นักวิจัยให้หนูทดลองที่เป็นโรคมะเร็งตับบริโภคสารสกัดจากน้ำลูกหม่อน หลังสิ้นสุดการทดลองผลปรากฏว่า เซลล์มะเร็งตับในร่างกายของหนูทดลองมีขนาดเล็กกว่าเซลล์มะเร็งตับในร่างกายของหนูที่ไม่ได้บริโภคสารสกัดจากน้ำลูกหม่อน

ดังนั้น นักวิจัยจึงสรุปว่า สารสกัดลูกหม่อนอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งตับ

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าการบริโภคลูกหม่อนอาจช่วยป้องกันมะเร็งในมนุษย์ได้

ทับทิม

ทับทิมมีสารแอนโทไซยานิน แอลลาจิกแทนนิน (Ellagitannins) และไฮโดรไลเซเบอ แทนนิน (Hydrolyzable Tannins) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง จึงนับเป็น ผลไม้ที่มะเร็งกลัว การบริโภคทับทิมจึงอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้

งานวิจัยหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของทับทิมในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง เผยแพร่ในวารสาร Molecules ปี พ.ศ. 2560 ระบุโดยอ้างอิงข้อมูลจากผลการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นว่า  ทับทิมโดยเฉพาะน้ำทับทิมและน้ำมันทับทิม มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ หยุดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ และยับยั้งการเกิดเนื้องอก ดังนั้น การบริโภคทับทิมจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและการหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

แอปเปิล

แอปเปิลมีสารประกอบโพลิฟีนอล (Polyphenol Compounds) และใยอาหาร เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกาย สารอาหารทั้ง 2 ชนิด จะทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ในลําไส้ มีผลให้เสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดน้อยลง

นอกจากนี้ วิตามินซีในแอปเปิลยังมีคุณสมบัติส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และต่อต้านการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

งานวิจัยหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคแอปเปิลและความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ตีพิมพ์ในวารสาร Public Health Nutrition ปี พ.ศ. 2559 นักวิจัยได้ศึกษางานวิจัยหลาย ๆ ชิ้น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของแอปเปิลต่อโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยสรุปได้ว่า การบริโภคแอปเปิลอาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงในการเป็นมะเร็งแต่ละชนิด

นอกจากเหนือจากผลไม้ที่กล่าวถึงข้างต้น ผลไม้ที่มะเร็งกลัวอื่น ๆ ได้แก่

  • บลูเบอร์รี
  • เลมอน
  • ลูกแพร์
  • สตรอว์เบอร์รี่
  • เชอร์รี่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Cancer?. https://www.cancer.gov/about-cancer/understanding/what-is-cancer#:~:text=Cancer%20is%20a%20disease%20in,up%20of%20trillions%20of%20cells. Accessed December 6, 2022

What Is Cancer?. https://www.cancer.org/treatment/understanding-your-diagnosis/what-is-cancer.html. Accessed December 6, 2022

Where cancer can spread. https://www.cancerresearchuk.org/what-is-cancer/how-cancer-can-spread/where-cancer-can-spread. Accessed December 6, 2022

Cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cancer/symptoms-causes/syc-20370588. Accessed December 6, 2022

10 ธันวาคม วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ. https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/168106/. Accessed December 6, 2022

Citrus consumption and cancer incidence: the Ohsaki cohort study. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20104526/. Accessed December 6, 2022

Pomegranate for Prevention and Treatment of Cancer: An Update. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5560105/#:~:text=Studies%20have%20suggested%20the%20whole,by%20modulating%20multiple%20signaling%20pathways. Accessed December 6, 2022

Can an Apple a Day Help Keep Cancer Away?. https://www.nfcr.org/blog/can-an-apple-a-day-help-keep-cancer-away/#:~:text=The%20vitamin%20C%20in%20apples,may%20also%20support%20cancer%20recovery. Accessed December 6, 2022

Apple intake and cancer risk: a systematic review and meta-analysis of observational studies. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27000627/. Accessed December 6, 2022

Mulberry fruits extracts induce apoptosis and autophagy of liver cancer cell and prevent hepatocarcinogenesis in vivo. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31883611/. Accessed December 6, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/12/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจเมื่อไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง

นมโต ผิดปกติไหม เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 16/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา