คนอ้วน หรือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อาจทำให้ร่างกายเกิดการสะสมของไขมันจนอาจนำไปสู่โรคอ้วน รวมถึงอาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้น การวัดค่าดัชนีมวลกาย การดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
[embed-health-tool-bmi]
เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินดัชนีมวลกาย
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเทคนิคการวัดความเชื่อมโยงของน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อนำมาเปรียบเทียบว่า ตนเองจัดอยู่ในเกณฑ์ร่างกายขาดสารอาหาร หรืออ้วนจนเกินไปหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยค่าดัชนีมวลกายนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ จากการนำ น้ำหนัก (กก.) ÷ ความสูง (เมตร) 2 แล้วจึงจะได้ผลลัพธ์ และนำไปตรวจตามเกณฑ์ด้านล่างนี้
ยกตัวอย่าง เช่น 70 ÷ (1.60) 2 = 27.34 (น้ำหนักเกินมาตรฐาน)
- ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
- ค่าดัชนีมวลกาย 5-24.9 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักปกติดีต่อสุขภาพ
- ค่าดัชนีมวลกาย 0-29.9 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- ค่าดัชนีมวลกาย 00 ขึ้นไป อาจอยู่จัดอยู่ในเกณฑ์ อ้วนที่จำเป็นต้องวางแผนลดน้ำหนัก
ภาวะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในคนอ้วน
แน่นอนว่า เมื่อน้ำหนักและปริมาณไขมันเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการเผาผลาญออก ก็สามารถส่งผลให้มีการกระจายตัวของไขมันไปเกาะติดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งยังสามารถเพิ่มการอักเสบให้แก่ระบบการทำงานของภายใน จนสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรัง หรืออาการที่มีความรุนแรงขึ้นได้ทั้ง 10 ปัญหา ดังนี้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดในสมอง
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ระดับความดันโลหิตสูง
- โรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี
- โรคมะเร็งบางชนิด
- โรคซึมเศร้า
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคข้อเข่า และข้อต่อเสื่อม
หากไม่อยากเป็นโรครุนแรงข้างต้น ควรเริ่มหันมาดูสุขภาพของตนเองเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะตกอยู่ในภาวะอ้วนมากจนมีโรคอื่น ๆ ตามมา จนอาจส่งผลให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด
วิธีดูแลสุขภาพก่อนอ้วนมาก
หากเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคอ้วน ควรเริ่มวางแผนการลดน้ำหนักอย่างน้อย 5% ของน้ำหนักตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ในแต่ละมื้อจำเป็นต้องประกอบด้วยไฟเบอร์หรือผักให้มากกว่าคาร์โบไฮเดรต รวมถึงปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยอาจลองเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชเป็นหลัก เช่น ขนมปัง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
นอกจากนั้น การงดหรือจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจำพวก โซดา น้ำผลไม้สังเคราะห์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรทำ นอกจากนั้น ควรออกกำลังกาย 30 นาที/วันควบคู่ไปด้วย เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้มีการทำงานที่ดีขึ้น