backup og meta

อ้วนลงพุง เกิดจากอะไร และวิธีรับมือภาวะอ้วนลงพุง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

    อ้วนลงพุง เกิดจากอะไร และวิธีรับมือภาวะอ้วนลงพุง

    อ้วนลงพุง คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง หากอยากรู้ว่ากำลังอยู่ในกลุ่มอ้วนลงพุงหรือไม่ อาจวัดได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) สำหรับบุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากค่าดัชนีมากกว่า 25 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีรูปร่างอ้วน

    สาเหตุของอ้วนลงพุง

    สาเหตุของอ้วนลงพุง อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้ เช่น

  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก ลูกอม เครื่องดื่มที่มีความหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากของหวานอาจชะลอการทำงานของระบบเผาผลาญ และอาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ที่เป็นไขมันสังเคราะห์ หากไขมันชนิดนี้เกาะผนังหลอดเลือด และอวัยวะต่าง ๆ ภายในอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอ้วนได้
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น และอาจเกิดการสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะรอบเอว เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจไปขัดขวางการเผาผลาญไขมัน
  • ไม่ออกกำลังกาย หากรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน และไม่ออกกำลังกาย อาจส่งผลให้อ้วนลงพุง
  • ความเครียด เมื่อเกิด ความเครียด หรืออยู่ในสถานการณ์ที่มีความกดดันสูง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด ที่อาจส่งผลต่อระบบเผาผลาญ โดยส่วนใหญ่เมื่อเกิดความเครียดก็อาจทำให้รับประทานมากขึ้น เพื่อลดความเครียด ซึ่งอาจเป็นปัจจัยของการเกิดโรคอ้วน
  • ผลกระทบของอ้วนลงพุงต่อสุขภาพร่างกาย

    • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างที่ควรจะเป็น ส่งผลให้อินซูลิน ที่ทำหน้าลดระดับน้ำตาลในเลือดทำงานผิดปกติ จึงอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด หากระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และมีภาวะความดันโลหิตสูง อาจทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน อาจทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดลดลง
    • โรคหลอดเลือดสมอง หากมีไขมันอุดตันในหลอดเลือด อาจทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอได้
    • โรคหอบหืด ไขมันอาจเข้าไปสะสมภายในปอด และอาจทำให้หายใจลำบาก
    • สมองเสื่อม อ้วนลงพุงอาจทำให้เกิดการดื้ออินซูลิน ซึ่งในสมองก็มีอินซูลินเช่นกัน
    • มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
    • มะเร็งลำไส้ อาจเกิดจากระดับอินซูลินที่สูง ทำให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อได้

    อ้วนลงพุง ควรดูแลตัวเองอย่างไร

    เมื่ออ้วนลงพุง อาจดูแลตัวเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น

    • การปรับสมดุลอาหารในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานเยอะเกินไป อาจแบ่งการรับประทานอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ และแต่ละมื้อควรมีโภชนาการครบ 5 หมู่  เพิ่มการออกกำลังกาย โดยอาจออกกำลังกายในระดับเบา แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับหากร่างกายเริ่มปรับตัวได้ ทั้งนี้ ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมเกินขีดจำกัดของตนเอง
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน รักษาส่วนที่สึกหรอ และฟื้นฟูร่างกาย การพักผ่อนอย่างเพียงพออาจส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเลปติน (Leptin) เป็นปกติ ซึ่งเลปตินเป็นฮอร์โมนที่ทำให้สมองระงับความอยากอาหาร ทำให้ไม่รู้สึกหิว

    วิธีป้องกันการอ้วนลงพุง

    อ้วนลงพุงอาจป้องกันได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนไขมันต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง
    • ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน เช่น การเดิน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจช่วยกำจัดไขมันที่หน้าท้องได้
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสารที่อยู่ในบุหรี่ เช่น นิโคติน และสารที่อยู่ในแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล อาจไปชะลอการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้การเผาผลาญลดประสิทธิภาพลง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา