backup og meta

‘HMB’ สารช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของ กล้ามเนื้อ

‘HMB’ สารช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของ กล้ามเนื้อ

รู้หรือไม่ว่าร่างกายของคนเราจะค่อย ๆ สูญเสีย กล้ามเนื้อ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น หลังจากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี[1] โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่มักเผชิญกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายและเสริมโภชนาการด้วยโปรตีนที่มีคุณภาพดีหลายชนิดถือเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มี ‘HMB’ เป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติ ซึ่งต้องรับประทานในปริมาณมาก เพื่อให้ได้ HMB เพียงพอวันละ 1.5 กรัม ตามที่ร่างกายต้องการ เพื่อช่วยชะลอการสลายและช่วยเสริมสร้างให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรง

HMB-1

สาเหตุ และอัตราการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

แม้ว่าโดยปกติแล้ว มวลกล้ามเนื้อจะมีการสร้างและสลายตัวตลอดเวลาตามธรรมชาติ แต่เมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี และเพิ่มเป็น 15% ในทุกๆ 10 ปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ปัญหาที่ผู้สูงวัยถึง 1 ใน 3 ต้องเผชิญ คือ ‘ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย’ (Sarcopenia) สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวไม่ดี หกล้มบ่อย ลุกนั่งลำบาก และเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่เหมือนเดิม โดยความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ อุบัติการณ์ของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเท่ากับ 27 – 42 % ต่อปี[2] ซึ่งการหกล้มอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสุขภาพที่ไม่ดีและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ลดน้อยลง ดังนั้น การดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อจึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะละเลยได้อีกต่อไป

HMB-2

เพิ่มความแข็งแรงให้ กล้ามเนื้อ ได้ด้วย HMB

‘HMB’ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิต HMB ได้น้อยลง ทั้งนี้ HMB พบได้ในอาหารและร่างกายเพียงเล็กน้อย การทำงานร่วมกันระหว่าง HMB และโปรตีนคุณภาพดีที่หลากหลาย จะช่วยสร้างสมดุล ชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อและเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

  • HMB คืออะไร?

HMB คือ ‘เบต้า ไฮดรอกซี เบต้า เมทิลบิวไทเรต’ (beta-hydroxy-beta-methylbutyrate) เป็นสารที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนลิวซีน (Leucine Amino Acid) ที่พบได้ในกล้ามเนื้อ จากการศึกษาพบว่า HMB มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมวลน้ำหนักตัวที่ไม่รวมไขมัน (Lean Body Mass) เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยลดการสูญเสียโปรตีนของร่างกาย

HMB ถูกพัฒนาจากวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่อาหารสูตรครบถ้วน โดยการศึกษาในนักกีฬาแสดงให้เห็นผลในเชิงบวกของ HMB ต่อการเสริมสร้างการฟื้นตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยเหตุนี้ HMB จึงถูกนำมาพัฒนาให้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารสูตรครบถ้วน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

HMB-3

  • HMB พบได้ในอาหารชนิดใดบ้าง?

จากงานวิจัยพบว่า ปริมาณ HMB ที่เหมาะสมเพื่อช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อของร่างกายให้แข็งแรงนั้นอยู่ที่ 1.5 กรัมต่อวัน[3] โดย HMB สามารถช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อหากทานคู่กับโปรตีนคุณภาพดีหลายชนิด เช่น โปรตีนเวย์ เคซีน และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง จะยิ่งช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ดังนั้น การที่เราบริโภคอาหารที่มีทั้ง HMB และ โปรตีนหลายชนิด จะช่วยทั้งเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น

HMB-4

HMB พบในอาหารธรรมชาติบางชนิด เช่น ไข่ไก่ เนื้ออกไก่ อะโวคาโด และกะหล่ำดอกปรุงสุก นอกจากนี้ จากงานวิจัยพบว่า ปริมาณ HMB ที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อของร่างกายนั้นอยู่ที่ 1.5 กรัมต่อวัน หากต้องการได้รับ HMB ในปริมาณดังกล่าว จะใกล้เคียงกับการบริโภคไข่ไก่มากถึง 50 ฟอง หรือเนื้ออกไก่ 7 ชิ้น และอาจจะต้องรับประทานอะโวคาโดถึง 3,000 ลูก หรือ กะหล่ำดอกปรุงสุก 6,500 ถ้วย

จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะรับประทานอาหารปริมาณนี้ เพื่อให้ได้ HMB ตามที่ร่างกายต้องการ จึงทำให้หลายคนหันมาเสริมโภชนาการด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB และโปรตีนคุณภาพดีที่หลากหลายแทน

HMB-5

  • ทำไม HMB จึงสำคัญกับผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นปริมาณ HMB ในร่างกายอาจลดลงโดยธรรมชาติ ในกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป มักมีปัญหาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยจะมีอัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือประมาณ 15% ในทุกๆ 10 ปี[4] ทำให้ความสมดุลของกล้ามเนื้อเสียไป  ผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะนอกจากโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการแล้ว เรื่องของการเสริม HMB ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะ HMB ไม่ใช่แค่เสริมสร้าง แต่ยังช่วยชะลอการสลายของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติได้อีกด้วย

HMB-6

ดังนั้น HMB จึงมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อผู้สูงอายุ เพราะมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เราจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อตั้งแต่วันนี้ โดยการให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ครบถ้วนจากอาหารหลัก 5 หมู่ รวมถึงการทานโปรตีนควบคู่กับการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี

HMB และโปรตีนคุณภาพดีที่หลากหลาย มีส่วนช่วยชะลอการสลายตัวของกล้ามเนื้อ[5] ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวที่ดี อีกทั้งส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[1] Elena Volpi, Reza Nazemi, Satoshi Fujita. Muscle tissue changes with aging. Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 2004 Jul;7(4):405-10. doi: 10.1097/01.mco.0000134362.76653.b2. PMID: 15192443. Accessed June 14, 2022.

[2] สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 – 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/violence/การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ%20ปี%202560-2564.pdf. Accessed June 14, 2022.

[3] S Nissen, R Sharp, M Ray, J A Rathmacher, D Rice, J C Fuller Jr, A S Connelly, N Abumrad. Effect of leucine metabolite beta-hydroxy-beta-methylbutyrate on muscle metabolism during resistance-exercise training. J Appl Physiol (1985). 1996 Nov;81(5):2095-104. doi: 10.1152/jappl.1996.81.5.2095.PMID: 8941534. Accessed June 14, 2022.

[4] Patrick N. Siparsky, Donald T. Kirkendall, William E. Garrett. Muscle Changes in Aging. Sports Health. 2014 Jan; 6(1): 36–40.doi: 10.1177/1941738113502296. PMID: 24427440. Accessed June 14, 2022.

[5] Vincenzo Malafarina, Francisco Uriz-Otano, Concetta Malafarina, J Alfredo Martinez, M Angeles Zulet. Effectiveness of nutritional supplementation on sarcopenia and recovery in hip fracture patients. A multi-centre randomized trial. Maturitas. 2017 Jul;101:42-50. doi: 10.1016. PMID: 28539168. Accessed June 14, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/01/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่อะไรบ้าง

อาหารแคลน้อย ประโยชน์และข้อควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา