backup og meta

โรคที่มากับน้ำท่วม รู้ไว้ ระวังทันท่วงที

โรคที่มากับน้ำท่วม รู้ไว้ ระวังทันท่วงที

ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกบ่อยๆ จนมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ในบางพื้นที่อาจเกิดความเสี่ยงจนทำให้ น้ำท่วม ซึ่งนอกจากความเสียหายในการใช้ชีวิต และความเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว ปัญหาน้ำท่วมยังอาจทำให้เราเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคที่มากับน้ำท่วม มาฝากกันค่ะ

โรคที่มากับน้ำท่วม อันตรายแค่ไหน 

ในช่วงที่น้ำท่วม อาจจะมีเชื้อรา แบคทีเรีย สิ่งปฏิกูล และสัตว์ที่มีพิษมากมายที่อาจจะหนีน้ำมาอาศัยอยู่ในที่แห้งๆ อย่างบนบ้านของเรา หากน้ำที่ท่วมขังอยู่เป็นเวลานานมีเชื้อโรค อาจทำให้เราติดเชื้อโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนัง ดวงตา จนเกิดอาการเจ็บป่วยได้ เราสามารถแบ่งโรคที่มากับน้ำท่วมได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ โรคที่มาจากน้ำ และ โรคที่มาจากแมลง

1. โรคที่มากับน้ำท่วม ที่เกิดจากน้ำ

ในช่วงน้ำท่วม เป็นช่วงที่ยากลำบากต่อการหุงหาอาหาร นอกจากความยากลำบากในการทำอาหารแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารก็หาได้ยากพอๆ กัน นอกจากนี้ระบบน้ำดื่มน้ำใช้ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย บางครั้งอาหารหรือน้ำอาจมีการปนเปื้อนแบคทีเรีย ปรสิตที่มาจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการอาเจียนหรือท้องเสียได้ หากอาการเหล่านี้รุนแรงมากๆ อาจส่งผลทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นอีกโรคที่มักจะระบาดในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขังโรคฉี่หนูเป็นโรคที่สามารถติดได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งจะเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย จากการสัมผัสน้ำ ดิน หรืออาหารของสัตว์ที่มีปัสสาวะของสัตว์จำพวกหนู สุนัข ควาย เชื้อโรคเหล่านี้สามารถติดได้ทางบาดแผล ซึมเข้าทางรอยแตกของผิว หรือมีการสัมผัสเชื้อแล้วเอามือไปป้ายปาก ป้ายตาก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

  • โรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต

โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot) หรือ ฮ่องกงฟุต เป็นโรคที่เกิดจากการที่เท้าสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน ทำให้เช้าเปียกชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes ซึ่งเป็นเชื้อราที่มักจะก่อโรคที่ผิวหนัง เมื่อมีการติดเชื้อราชนิดนี้จะทำให้เท้า ตามซอกนิ้วเป็นขุย มีอาการคัน ดังนั้นการรักษาความสะอาด ไม่ปล่อยให้เท้าเปียกชื้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้าได้

2. โรคที่มากับน้ำท่วมที่เกิดจากแมลง

น้ำท่วมอาจเป็นการขยายถิ่นที่อยู่ของแมลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคที่มีแมลงเป็นสื่อทางอ้อม ยุงใช้แหล่งน้ำนิ่งที่เกิดจากฝนตกหนัก และน้ำท่วมเป็นสถานที่แพร่พันธุ์ คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ หรือคนที่ทำงานช่วยเหลือฉุกเฉินนั้นมีแนวโน้มที่จะประสบกับแหล่งของโรคเหล่านี้ อย่าง โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย และไข้เวสต์ไนล์ ซึ่งมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูน้ำหลาก

ในเบื้องต้น กระแสน้ำท่วมที่เชี่ยวอาจพัดพาเอายุงออกไป แต่พวกมันจะกลับมาอย่างแข็งแรงเมื่อน้ำย้อนกลับมา การเริ่มต้นของการแพร่ระบาดไข้มาลาเรียมักจะมา 6-8 สัปดาห์หลังจากนั้น ผู้คนที่ต้องรับมือกับภัยธรรมชาตินั้นเสี่ยงต่อโรคที่มีแมลงเป็นสื่อมากกว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ต้องหนีน้ำท่วมมักจะต้องนอกนอกชายคา ในที่พักพิงอันแออัด ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างดีให้กับยุง

นอกจากโรคที่มีสาเหตุมาจากน้ำและแมลงแล้ว อีกหนึ่งโรคที่อาจจะพบได้ในบางคนเมื่อน้ำท่วม หรือตกอยู่ในสถานะการณ์ที่มีความยากลำบากคือ โรคเครียด ซึ่งความมากน้อยของอาการก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น ความเสียหายทางทรัพย์สิน ความมั่นคงทางอารมณ์ การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น หากผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ก็อาจจะตกอยู่ในภาวะเครียดน้อยกว่าคนอื่นๆ แต่สำหรับบางคนที่อาจสูญเสียจากน้ำท่วมมากๆ ก็อาจจะมีความเครียดมาจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Souuce

Health impacts of flooding and risk management

https://www.nhp.gov.in/health-impacts-of-flooding-and-risk-management_pg

A North Carolina Man Died From a Hurricane-Related Infection, Weeks After the Storm. Here’s Why

https://www.health.com/condition/skin-conditions/flood-water-dangers

Flooding and communicable diseases fact sheet

https://www.who.int/hac/techguidance/ems/flood_cds/en/

โรคที่มากับน้ำท่วม

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=926

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/08/2020

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ด้วย 6 สมุนไพรไล่ยุง

อาการท้องร่วงของนักเดินทาง (Traveler's Diarrhea) โรคระบบทางเดินอาหารของนักท่องเที่ยว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา