backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2021

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอาการอักเสบหรือบวมของเยื่อที่หุ้มสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิต มักทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คอแข็ง และมีไข้ จึงควรได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

คำจำกัดความ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ คืออะไร

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ การอักเสบหรือบวมของเยื่อที่หุ้มสมอง ของเหลวรอบสมอง และไขสันหลัง อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต และเชื้อรา ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียอาจรุนแรงถึงชีวิต จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บ โรคมะเร็ง ยาบางชนิด และการติดเชื้อประเภทอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน สิ่งสำคัญคือควรทราบสาเหตุเฉพาะของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื่องจากการรักษาอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุ

อาการ

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีดังนี้

  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
  • มือและเท้าเย็น
  • ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน
  • สับสน มึงงง
  • อ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อยและตื่นยากขึ้น
  • หายใจเร็ว อาการชัก
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
  • แพ้แสงจ้า
  • ผิวซีด มีรอยด่าง หรือเป็นผื่นที่ผิวหนัง
  • คอแข็ง

อาการที่อาจเกิดขึ้นในทารก มีดังนี้

  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • มีไข้สูง
  • งอแง ร้องไห้ไม่หยุด และหงุดหงิดง่าย
  • ง่วงนอนง่ายและตื่นยาก
  • ร่างกายและลำคอแข็ง
  • มีจุดนูนโปนบนศีรษะ

สาเหตุ

สาเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบอาจเกิดดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือการติดเชื้อไวรัส รองลงมาคือการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และการติดเชื้อปรสิต ดังนี้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียอันตรายรุนแรงกว่าการติดเชื้อชนิดอื่น ๆ โดยติดต่อผ่านทางกระแสเลือดไปยังสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันได้ หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียเข้าทางเยื่อหุ้มสมองโดยตรง ซึ่งอาจมีแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค ดังนี้

  • Streptococcus pneumoniae พบบ่อยในเด็ก ก่อให้เกิดโรคปอดบวมหรือหูหรือไซนัสอักเสบ
  • Neisseria meningitidis พบบ่อยในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และอาจกลายเป็นโรคระบาดในกลุ่มคนหมู่มากได้
  • Haemophilus influenzae มักเกิดขึ้นในทารกและเด็กเล็ก
  • Listeria monocytogenes มักพบในอาการที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือปรุงสุก เช่น เนื้อสัตว์ ชีส ไส้กรอก ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ จึงเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสมักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย แต่ร้ายแรงน้อยกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียและมักหายได้เอง ซึ่งเชื้อในกลุ่มกลุ่มเอเอ็นเอเรอไวรัส (Enterovirus) เช่น ไวรัสคางทูม เอชไอวี ไวรัสเริม อาจทำให้เกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสได้ และอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราพบได้ไม่บ่อย แต่สำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ อาจเสี่ยงติดเชื้อราได้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อปรสิต

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากปรสิตพบได้น้อยเช่นกัน แต่อาจเกิดขึ้นได้หากรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรือฆ่าเชื้อโรค เช่น ไข่ สัตว์ปีก ปลา

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบ มีดังนี้

  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ไม่มีม้าม โรคเอดส์ โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือกินยากดภูมิคุ้มกัน
  • อายุ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสมักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียมักเกิดในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  • การตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคลิสเทริโอซิส (Listeriosis) ที่อาจทำให้แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลิสเทอเรีย (Listeria) และอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
  • ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบทั้งเด็กและผู้ใหญ่
  • สภาพแวดล้อมของที่อยู่ในพื้นที่แออัด หรือหอพักที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากอาจเพิ่มความเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียผ่านทางเดินหายใจมากขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การวินิจฉัยอาการเพื่อหาสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถทำได้ดังนี้

  • การตรวจร่างกายเพื่อหาอาการของเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
  • การตรวจเลือดเพื่อหาไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • เจาะกระดูกสันหลัง เก็บตัวอย่างของเหลวเพื่อตรวจหาไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • การทำ CT สแกน เพื่อตรวจปัญหาสมอง

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจต้องรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ดังนี้

  • การฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดโดยตรง เพื่อป้องกันร่างกายคายน้ำและอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
  • ให้ออกซิเจนผ่านหน้ากากช่วยหายใจเมื่อผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก
  • ยาสเตียรอยด์  ช่วยลดอาการบวมบริเวณสมองได้ในบางกรณี
  • ผู้ป่วยบางคนเมื่อออกจากโรงพยาบาลอาจต้องดูแลตัวเองเพื่อรักษาอาการต่อที่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน โดยผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ กินยาแก้ปวดหัว หรือกินยาแก้เมาเมื่อมีอาการอาเจียน

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบ สามารถทำได้ดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง
    • ปิดปากหรือจมูกเมื่อไอหรือจามเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค และอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่ไอหรือจามเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคด้วย
    • ไม่ควรแบ่งปันอาหารและเครื่องดื่ม หรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
    • หากกำลังตั้งครรภ์ควรปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทานเสมอ และหลีกเลี่นงรับประทานชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
    • เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียบางชนิด เช่น วัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี (Haemophilus influenzae type b : Hib) วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมโพลิแซ็กคาไรด์ (Pneumococcal polysaccharide vaccine) วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา