โรคติดเชื้อจากอาหาร

เชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส สามารถปะปนไปยังจุดต่าง ๆ รวมไปจนถึงอาหารที่เรารับประทาน หากเรากินอาหารที่มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนอาหารเหล่านี้ ก็อาจทำให้เราเป็น โรคติดเชื้อจากอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ ได้ในที่สุด เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อจากอาหาร ว่ามีโรคอะไรบ้าง แล้วเราจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้ได้อย่างไร ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อจากอาหาร

อาหารที่ควรเลือกรับประทาน หลังอาหารเป็นพิษ

เมื่อเกิดอาการอาหารเป็นพิษ มักจะทำให้มีอาการท้องร่วง อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย เมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ จำเป็นที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีความเหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูร่างกายได้ดีขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มี อาหารที่ควรเลือกรับประทาน หลังอาหารเป็นพิษ มาให้อ่านกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับ อาหารเป็นพิษ  อาหารเป็นพิษ (food poisoning) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากกับรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ นำไปสู่อาการท้องร่วง อาเจียน และปวดท้องฉับพลัน โดยส่วนใหญ่แล้วอาการอาหารเป็นพิษมักจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยปกติแล้วอาการอาหารเป็นพิษมักจะหายไปเอง เมื่อคุณขับถ่ายเชื้อออกทั้งหมด ขณะที่ยังมีอาการ สิ่งสำคัญคือควรเลือกรับประทานอาหารที่มีความเหมาะสม อาหารที่ควรเลือกรับประทาน หลังอาหารเป็นพิษ หากเกิดอาการอาหารเป็นพิษ สิ่งที่ควรทำคือปล่อยควรอาเจียนหรือขับถ่ายให้เชื้อที่ปนเปื้อนเข้าไปออกมาให้หมด ที่สำคัญควรปล่อยให้กระเพาะได้ว่าง โดยงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะได้พักผ่อน หลังจากนั้นค่อยรับประทานอาหาร ซึ่งอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการบริโภคหลังมีอาการอาหารเป็นพิษ ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลังจากที่อาเจียนและขับถ่ายทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมาก การดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และช่วยให้ต่อสู้กับผลกระทบที่เกิดจากการอาหารเป็นพิษ นอกจากน้ำเปล่าแล้วของเหลวอื่น ๆ ที่สามารถบริโภคได้ เช่น น้ำโซดาที่ไม่มีคาเฟอีน ชาที่ไม่มีคาเฟอีน เช่น ชาขิง ชามะนาว น้ำซุปไก่หรือซุปผัก โปรไบโอติก จากการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การบริโภคอาหารและอาหารเสริมที่มีโปรไบโอติกหรือแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ […]

สำรวจ โรคติดเชื้อจากอาหาร

โรคติดเชื้อจากอาหาร

โรคพยาธิเส้นด้าย (Strongyloidiasis)

โรคพยาธิเส้นด้าย เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพยาธิตัวกลมในสกุล Strongyloides ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน คำจำกัดความ โรคพยาธิเส้นด้ายคืออะไร โรคพยาธิเส้นด้าย (Strongyloidiasis) เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพยาธิตัวกลม (nematode หรือ roundworm) ในสกุล Strongyloides ถึงแม้ว่ามีพยาธิตัวกลมมากกว่า 40 สายพันธุ์ในสกุลนี้ที่สามารถส่งผลต่อนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แต่สายพันธุ์ Strongyloides stercoralis เป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ตัวอ่อนมีขนาดเล็ก โดยมีความยาวได้มากที่สุด 1.5 มม. ซึ่งพอๆ กับขนาดของเมล็ดมัสตาร์ดหรือเมล็ดทรายขนาดใหญ่ โรคพยาธิเส้นด้ายพบได้บ่อยเพียงใด โรคพยาธิเส้นด้ายพบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ยังสามารถพบผู้ป่วยได้ในเขตภูมิอากาศอบอุ่นได้อีกด้วย พยาธิเส้นด้ายพบได้มากขึ้นในพื้นที่ชนบท ในสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และในกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคพยาธิเส้นด้าย ในผู้ป่วยประมาณร้อยละ 50 โรคพยาธิเส้นด้ายไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่หากมีอาการ อาจได้แก่ อาการแสบหรือปวดบริเวณช่องท้องส่วนบน ท้องร่วงหรือมีอาการสลับระหว่างท้องร่วงและท้องผูก มีอาการไอ มีผื่นคัน มีผื่นลมพิษใกล้ทวารหนัก อาเจียน น้ำหนักลด อาจมีผื่นเกิดขึ้นทันทีหลังจากสัมผัสพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis อาการที่พบในระบบทางเดินอาหารมักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเป็นครั้งแรก อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของโรคพยาธิเส้นด้าย โรคพยาธิเส้นด้ายเกิดจากพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis พยาธิตัวกลมนี้ส่วนใหญ่ส่งผลต่อมนุษย์ โดยคนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อโดยสัมผัสดินที่มีพยาธิอาศัยอยู่ เมื่อตัวอ่อนพยาธิสัมผัสผิวหนัง สามารถเข้าสู่ผิวหนังและเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ โดยท้ายที่สุด […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

พยาธิตัวตืด ภัยแฝงจากการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ที่อาจอันตรายกว่าที่คิด

พยาธิตัวตืด (Tapeworms) โผล่มาเป็นข่าวให้สะพรึงกันเป็นครั้งคราว แต่ความจริงแล้ว เรามีโอกาสติดเชื้อพยาธิตัวตืดได้ง่ายกว่าที่คิด เพราะพยาธิตัวตืดมีอยู่ในเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด และการกินเนื้อสัตว์เหล่านี้ในแบบสุกๆ ดิบๆ ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อพยาธิตัวตืด แม้ว่าส่วนใหญ่ พยาธิตัวตืดจะเป็นสาเหตุของอาการโรคเพียงไม่กี่ชนิด และรักษาได้ง่าย แต่บางครั้งก็สามารถสร้างปัญหาสุขภาพร้ายแรง และอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน สัญญาณว่าคุณอาจติดเชื้อ พยาธิตัวตืด เข้าแล้ว การติดเชื้อในลำไส้ (Intestinal infection) เมื่อคุณกินตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดเข้าไป ตัวอ่อนเหล่านั้นสามารถเติบโตเป็นพยาธิตัวตืดเต็มวัยเกาะอยู่ตามผนังลำไส้ของคุณได้ การติดเชื้อพยาธิตัวตืดในลำไส้สามารถสังเกตได้จากอาการ หรือสัญญาณเหล่านี้ คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ อยากอาหารเค็ม น้ำหนักลด และขาดสารอาหาร การติดเชื้อแบบลุกลาม (invasive infection) เมื่อคุณบริโภคไข่พยาธิตัวตืดเข้าไป ไข่เหล่านั้นสามารถเคลื่อนที่ออกนอกลำไส้และฝังตัวเป็นถุงตัวอ่อนพยาธิ (larval cyst) ในเนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนต่างๆ ก่อนจะค่อยๆ ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนนั้นมีปัญหา ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้ ปวดศีรษะ เกิดถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ เกิดปฏิกิริยาแพ้ตัวอ่อนพยาธิตัวตืด อาการทางระบบประสาท รวมไปถึงโรคลมชัก การติดเชื้อพยาธิตัวตืดส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการใดๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก แต่คุณสามารถสังเกตอุจจาระของคุณได้ ว่ามีพยาธิตัวตืดหรือไม่ ซึ่งพยาธิตัวตืดมีลักษณะดังนี้ ลำตัวแบน ยาวเป็นปล้อง สีขาวขุ่น หรือเหลืองอ่อน […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

โรคทริคิโนซิส (Trichinosis)

โรคทริคิโนซิส เป็นภาวะติดเชื้อพยาธิประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากการรับประทานตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ในเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก คำจำกัดความ โรคทริคิโนซิสคืออะไร โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) หรือโรคบางครั้งเรียกว่าโรคทริคิเนลโลสิส (trichinellosis) เป็นภาวะติดเชื้อพยาธิตัวกลม (Roundworm) ประเภทหนึ่ง พยาธิตัวกลมใช้ร่างกายของผู้อาศัยในการอยู่อาศัยและขยายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะหมี สุนัขจิ้งจอก และวอลรัส ภาวะติดเชื้อเกิดจากการรับประทานตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ในเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก เมื่อมนุษย์รับประทานเนื้อสัตว์ปรุงไม่สุก ที่มีตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ตัวอ่อนจะใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่จะเติบโตเป็นพยาธิโตเต็มวัยในลำไส้ จากนั้น พยาธิที่โตเต็มวัยก็จะขยายพันธุ์ตัวอ่อน แพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งกล้ามเนื้อ โรคทริคิโนซิสแพร่กระจายได้มากที่สุดในพื้นที่ชนบททั่วโลก โรคทริคิโนซิสสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นเสมอไป การป้องกันสามารถทำได้ง่าย โรคทริคิโนซิสพบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคทริคิโนซิสมีอะไรบ้าง อาการของโรคทริคิโนซิสมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ จำนวนตัวอ่อนพยาธิที่แพร่กระจาย เนื้อเยื่อที่เชื้อแพร่กระจายเข้าไป และภาวะทางกายภาพทั่วไปของผู้ป่วย ผู้ป่วยจำนวนมากมักไม่มีอาการ อาการของโรคทริคิโนซิสเกิดขึ้นเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1: การติดเชื้อในลำไส้ มีอาการใน 1 ถึง 2 วันหลังจากรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ มีอาการได้แก่ คลื่นไส้ ท้องเสีย มีตะคริวที่ช่องท้อง และมีไข้ต่ำ ระยะที่ 2: อาการจากการแพร่กระจายของตัวอ่อนพยาธิตัวกลมในกล้ามเนื้อ มักเริ่มต้นหลังจากประมาณ 7 ถึง 15 วัน อาการได้แก่ ปวดและกดเจ็บกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีไข้ […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

อาหารเสริมไบโอติน ดีอย่างไร เราจำเป็นต้องกินรึเปล่า

ไบโอติน (Biotin) เป็นสารอาหารที่ผู้คนในยุคนี้หันมาให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากมักจะมีคำโฆษณาให้เราเห็นกันอยู่เสมอว่า ช่วยทำให้ผมดูดกดำและมีสุขภาพดี รวมทั้งทำให้ผิวหน้าดูเปล่งปลั่ง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บด้วย ถึงแม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าไบโอตินช่วยเราในเรื่องนั้นได้จริงหรือเปล่า แต่คนที่กิน อาหารเสริมไบโอติน ก็มักจะสังเกตถึงความแตกต่างได้ ซึ่งจริงๆแล้วไบโอตินส่งผลดีต่อร่างกายได้มากกว่าที่กล่าวมาแล้วซะอีกนะ ซึ่งนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับไบโอตินที่คุณควรรู้เอาไว้ รวมทั้งวิธีสังเกตว่าคุณจำเป็นต้องกินอาหารเสริมชนิดนี้หรือเปล่าด้วย ไบโอตินพบได้ในอาหารประเภทใด สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของอเมริกาว่าเอาไว้ว่า วิตามินบีชนิดนี้คือสารอาหารจำเป็นต้องร่างกาย ซึ่งเราอาจจะคุ้นในชื่อไบโอตินซึ่งเป็นอาหารเสริมกันมากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วไบโอตินมีอยู่ในอาหารทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อสัตว์ อย่างเนื้อวัวและตับนั้น นับเป็นแหล่งไบโอตินที่สำคัญมาก รวมทั้งเนื้อหมูและแฮมเบอร์เกอร์ ก็พบไบโอตินอยู่มากด้วย นอกจากนี้ยังพบในเนื้อปลา ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมด้วย แถมในพืชผักต่างๆก็ยังเจอด้วย อย่างเช่น มันฝรั่ง ผักโขม และบร็อคโคลี่ ไบโอตินทำหน้าที่อะไร ไบโอตินช่วยทำหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน กลูโคส (หรือน้ำตาลในเลือด) และกรดอะมิโนต่างๆในร่างกาย หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ไบโอตินจะช่วยเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีนในอาหารที่คุณกินเข้าไปให้เป็นพลังงาน แถมยังช่วยควบคุมการทำงานของยีน รวมทั้งการส่งสัญญานไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายด้วย นอกจากนี้ไบโอตินยังช่วยควบคุมระบบประสาทให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างเล็บ ผิวหนัง และเส้นผมให้มีสุขภาพดีด้วย แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าคุณมีไบโอตินอยู่ในร่างกายอย่างพอเพียงแล้ว การกินอาหารเสริมไบโอตินเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะช่วยให้ผิว ผม และเล็บดูสวยและมีสุขภาพดีขึ้นหรอกนะ จะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายต้องการไบโอตินเพิ่ม ยังไม่มีการระบุอย่างแน่นอนว่าร่างกายคนเราต้องการไบโอตินในปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน จึงทำให้เรารู้ได้ยากว่าควรกินอะไรในปริมาณแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญจากเมโยคลีนิคในสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้กินวันละ 30 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน