backup og meta

เผย! มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับชาวไทยมุสลิม ในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ

เผย! มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับชาวไทยมุสลิม ในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ

สำนักจุฬาราชมนตรี ได้เผยแพร่มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เรื่องการละหมาดและการจัดกิจกรรมพิธีทางศาสนาต่าง ๆ รวมถึงการพบปะชุมนุมกันของ ชาวไทยมุสลิม วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำ มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับชาวไทยมุสลิม มาฝากกันค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดทั่วไป จนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่นโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome :  MERS-CoV) และ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS-CoV)

ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด โรคมะเร็งและโรคเบาหวาน พบว่า มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่าคนปกติทั่วไป โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการไอ เป็นไข้ ท้องเสีย น้ำมูกไหล เป็นต้น

มาตรการสำหรับผู้ไปร่วมละหมาด

มัสยิด เป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญของ ชาวไทยมุสลิม นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นสถานที่ชุมนุมพบปะของชาวไทยมุสลิมอีกด้วย  แต่ ณ ปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดถึงวิธีการรักษา จึงได้มี มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับชาวไทยมุสลิม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ดังต่อไปนี้

  • สำหรับผู้ที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือหอบเหนื่อย ถึงแม้จะมีอาการไม่มาก แต่ควรงดการไปร่วมละหมาดที่ มัสยิดทุกกรณี รวมถึงการละหมาดในวันศุกร์
  • หลีกเลี่ยงการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอดและการสัมผัสแก้มโดยให้ยกมือสลามกันเท่านั้นหรือ สลามกันโดยกล่าวแต่เพียงวาจา
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยขณะละหมาดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าปู ละหมาด ผ้าโสร่ง ผ้าตาละกง หมวก ฯลฯ

มาตรการสำหรับผู้ไปร่วมงานกินบุญ

  • ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร และช้อนกลางทุกครั้ง
  • งดการรับประทานอาหารแบบใส่ถาดรวมให้แบ่งใส่ภาชนะที่ใช้เฉพาะของตนเอง
  • งดการรับประทานอาหารแบบใช้มือป้อน ให้ใช้ช้อนที่ใช้เฉพาะของตนเอง
  • ในระยะที่มีการระบาดให้งดการนั่งรับประทานอาหารร่วมกัน โดยให้แต่ละบุคคลแยกรับประทานอาหาร

มาตรการสำหรับมัสยิด ให้ผู้ดูแลมัสยิด

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์และบริเวณที่มีผู้สัมผัสปริมาณมาก เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำผงซักฟอก และแอลกอฮอล์ 70% อย่างสม่ำเสมอและบ่อยกว่าปกติ
  • ทำความสะอาดเช็ดถูพื้นในมัสยิดหรือสถานที่ละหมาด เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง สถานที่ละหมาดจัดให้มีแสงเข้าถึง อากาศถ่ายเท และหลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องปรับอากาศ
  • งดใช้พรมปูพื้นบริเวณที่ละหมาดในมัสยิด ส่วนผ้าปูสำหรับละหมาด ตลอดจนชุดที่เตรียมไว้สำหรับใส่ ละหมาด ให้ผู้ที่มาละหมาดจัดเตรียมสิ่งของเหล่านี้มาเอง
  • จัดหาเจลล้างมือแอลกอฮอล์และหน้ากากอนามัยไว้บริเวณภายในมัสยิด เช่น ประตูทางเข้า จุด ประชาสัมพันธ์ ห้องสุขา จุดปฐมพยาบาล เป็นต้น
  • งดหรือเลื่อนการจัดกิจกรรม สาธารณกุศลการจัดค่ายอบรมเยาวชน การจัดประชุมสัมมนา หรือกิจกรรม อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรม ให้ผู้จัดเตรียมความพร้อมในการคัดกรองผู้เข้าร่วมกิจกรรมและมีมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคที่เข้มงวด สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด
  • งดการอาบน้ำละหมาดในบ่อน้ำหรืออ่างใหญ่ร่วมกัน โดยให้ใช้ภาชนะส่วนตัวตัก หรือใช้ก๊อกน้ำแทน
  • ประชาสัมพันธ์แก่ศาสนิกชนที่มาประกอบศาสนพิธีที่มัสยิด ให้ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามที่กรมควบคุมโรคประกาศบนเว็บไซต์ให้พักอยู่บ้าน 14 วัน หลังจากมาถึงประเทศไทยงดมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่มัสยิดระหว่างนี้ โดยหากมีอาการไข้ ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หรือหอบเหนื่อย ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

มาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับชาวไทยมุสลิมในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/measure/mea_religious2.pdf. Accessed 27 April 2020.

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 3/2563. https://www.skthai.org/th/news/89976-มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019-%28covid-19%29-ฉบับที่-3/2563-. Accessed 27 April 2020.

Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers. https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19. Accessed 27 April 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง กับ ความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา