backup og meta

กังวลเรื่องโรคระบาดจนจิตตก แล้วจะ ดูแลสุขภาพจิต อย่างไรดี

กังวลเรื่องโรคระบาดจนจิตตก แล้วจะ ดูแลสุขภาพจิต อย่างไรดี

เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนายังคงเป็นที่น่ากังวลใจ หลายประเทศจึงออกคำสั่งให้ประชาชนอยู่บ้าน พยายามออกมาอยู่ในที่สาธารณะให้น้อยที่สุด โดยการแยกตัวอาจต้องใช้ระยะเวลานาน และอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบางคนได้ ดังนั้น การ ดูแลสุขภาพจิต จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณควรใส่ใจในช่วงรับมือที่ต้องรับมือโรคโควิด-19 นี้ แต่เราจะดูแลสุขภาพจิตอย่างไรดี Hello คุณหมอ มีรายละเอียดมาฝากแล้วค่ะ

ดูแลสุขภาพจิต อย่างไร ในช่วงวิกฤตโรคระบาด

การต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านอาจทำให้หลายคนวิตกกังวล หรือเครียดจัด ทั้งจากสถานการณ์ของโรคระบาด และผลจากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น เช่น ถูกลดเงินเดือน โดนให้ออกจากงาน ในสถานการณ์เช่นนี้ ทุกคนควร ดูแลสุขภาพจิต ให้ดี เพราะหากสุขภาพจิตผิดปกติแล้ว ยามที่ต้องอยู่แต่ที่บ้านอาจกลายเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับบางคนเลยก็ว่าได้ โดยคุณสามารถดูแลสุขภาพจิตของตัวเองได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รักษาสุขภาพร่างกายให้ดี

ช่วงเวลาที่แสนจะยากลำบากอย่างนี้ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่สมดุล ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง เพราะสุขภาพที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ได้ และอย่าลืมรักษาสุขอนามัยให้ดี และปฏิบัติตามหลักการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย

  • ดูแลเรื่องการนอนของตนเอง

พยายามรักษารูปแบบการนอนให้ปกติ และต้องนอนหลับอย่างมีคุณภาพด้วย วิธีที่คุณสามารถทำได้ เช่น ก่อนนอนควรลดคาเฟอีน สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ หลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ก่อนเข้านอน

  • ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น

การช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น นอกจากจะทำให้ความรู้สึกของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ผู้ที่ช่วยเหลือรู้สึกดีขึ้นด้วยเช่นกัน แม้จะต้องอยู่บ้าน คุณก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ง่าย ๆ เช่น ช่วยที่บ้านทำงานบ้าน นอกจากจะดีต่อสุขภาพจิตแล้ว ยังช่วยเผาผลาญพลังงานได้ด้วย

  • ระบายความกังวลที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด

หากคุณกำลังรู้สึกกังวล ควรพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวบ้าง อย่าเอาแต่เก็บความกังวลนั้นไว้คนเดียว การที่คุณได้แบ่งปันความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับพวกเขา นอกจากจะทำให้คุณสบายใจขึ้นแล้ว คุณยังจะได้คำแนะนำดี ๆ หรือแนวทางแก้ไขปัญหาที่คุณอาจคาดไม่ถึงด้วย

  • รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แต่พอดี

บางคนชอบติดตามข่าวสาร หรืออัพเดตเรื่องราวในโซเชียลตลอด 24 ชั่วโมง พฤติกรรมนี้อาจยิ่งทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น ฉะนั้น เราแนะนำให้คุณรับข้อมูลข่าวสารแต่พอดี อย่าติดตามข่าวจนเกินความจำเป็น และคุณควรรับเฉพาะข้อมูลที่มีคุณภาพ จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เพื่อจะได้ทำให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด

  • ปรับตัวและวางแผนสำหรับกิจวัตรประจำวันใหม่ ๆ

การปรับตัวและสร้างกิจวัตรประจำวันใหม่ ๆ จะทำให้คุณรู้สึกแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา การลองทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น ทำความสะอาด ทำอาหาร ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ โทรหาเพื่อน อาจทำให้คุณได้รับประโยชน์ในแง่ของการเขียนแผนงานประจำวันหรือรายสัปดาห์

  • ทำสิ่งที่ชอบ

แม้ช่วงนี้ โรคโควิด-19 จะยังระบาดอย่างต่อเนื่อง จนทำให้คุณไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ข้างนอกบ้านได้เหมือนที่เคยทำ แต่การปรับตัวหรือลองหาอะไรใหม่ ๆ ทำ ก็ยังเป็นเรื่องที่ทำได้ เพราะเดี๋ยวนี้มีบทเรียนและหลักสูตรออนไลน์ฟรีมากมายให้เลือกศึกษา ลองถือโอกาสนี้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ดู ไม่แน่คุณอาจจะเจอกิจกรรมโปรดใหม่ ๆ ก็ได้

  • พัฒนาสมองของคุณอยู่ตลอดเวลา

การฝึกให้สมองของคุณได้คิดอยู่ตลอดเวลา เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรจะทำ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ต่อจิ๊กซอว์ เล่นซูโดกุ วาดภาพระบายสี สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยพัฒนาสมองของคุณได้ทั้งสิ้น

  • ติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ

หากคุณจำเป็นต้องอยู่คนเดียวในช่วงเก็บตัวอยู่บ้าน การติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ ด้วยการใช้วิดีโอคอล เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยคุณสามารถติดต่อกับเพื่อน หรือครอบครัว เพื่อบรรเทาความเหงา อีกทั้ง การติดต่อกันผ่านทางออนไลน์ ยังเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคุณและคนรอบข้างได้เป็นอย่างดีด้วย

  • จัดการกับความเครียดเมื่อต้องทำงานที่บ้าน

หากคุณจำเป็นต้องทำงานที่บ้าน การจัดพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายแล้ว วิธีนี้ยังทำให้งานของคุณไม่ต้องหยุดชะงักอีกด้วย หากคุณอาศัยอยู่กับคนในครอบครัว การทำงานที่บ้านก็ถือเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่คุณจะได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนในครอบครัว ทั้งยังทำให้คุณได้รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน รวมถึงเพื่อนร่วมงานได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การจัดตารางเวลา รวมถึงแผนการทำงานต่าง ๆ เอาไว้อย่างน้อยคร่าว ๆ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะคุณจะได้คุยแผนงานกับเพื่อนร่วมทีมได้อย่างสะดวกขึ้น การกำหนดขอบเขตงานที่ชัดเจนจะช่วยทำให้คุณสามารถจัดการงานต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว หรือบางครั้งหากมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน คุณจะได้ยืดหยุ่นตารางเวลางานของคุณ เพื่อไปช่วยเหลือคนอื่นในทีมได้ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to look after your mental health during a pandemic. https://www.medicalnewstoday.com/articles/how-to-look-after-your-mental-health-during-a-pandemic. Accessed April 15, 2020

14 ways to protect your mental health in the pandemic, according to Public Health England. https://www.weforum.org/agenda/2020/03/14-ways-to-protect-your-mental-health-in-the-pandemic-according-to-public-health-england/. Accessed April 15, 2020

Looking after your mental health during the Coronavirus outbreak. https://www.mentalhealth.org.uk/publications/looking-after-your-mental-health-during-coronavirus-outbreak. Accessed April 15, 2020

How to protect your mental health during the coronavirus (COVID-19) pandemic. https://www.unicef.org/serbia/en/how-protect-your-mental-health-during-coronavirus-covid-19-pandemic. Accessed April 15, 2020

Coping with Stress. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/managing-stress-anxiety.html. Accessed April 15, 2020

Protecting your mental health during the coronavirus pandemic. https://www.jhsph.edu/covid-19/articles/protecting-your-mental-health-during-the-coronavirus-pandemic.html. Accessed April 15, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

Q&A ตอบทุกคำถามสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับ โรค COVID-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา