backup og meta

โควิดสายพันธุ์ xbb 1.16 คืออะไร และอาการเป็นอย่างไร

โควิดสายพันธุ์ xbb 1.16 คืออะไร และอาการเป็นอย่างไร

เชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้มีการเฝ้าระวัง เนื่องจากเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่าย แพร่กระจายได้รวดเร็ว และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดี แม้จะไม่อาจกล่าวได้ว่า โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 เป็นสายพันธุ์ใหม่หรืออันตรายมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ก็ถือเป็นสายพันธุ์ที่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยมีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะกลายเป็นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์หลักหรือไม่ โดยในขณะนี้มีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว 27 ราย และเสียชีวิต 1 ราย (เมษายน พ.ศ. 2566)

[embed-health-tool-bmi]

โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 คืออะไร

เชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 หรือที่เรียกว่าสายพันธุ์อาร์คทูรัส (Arcturus) เป็นเชื้อโควิด-19 โอมิครอนลูกผสมที่พบครั้งแรกในประเทศอินเดียเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 โดยเชื้อสามารถหลบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีขึ้น จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ทั้งยังเจริญเติบโตและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม

โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 กลายพันธุ์มาจากโควิดสายพันธุ์ XBB.1.15 ที่มีลักษณะการแพร่เชื้อคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 มีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่งบนโปรตีนหนาม ทำให้ต่อต้านภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและภูมิคุ้มกันจากวัคซีนในร่างกายมนุษย์ได้มากขึ้น ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโควิดและผู้ที่เคยเป็นโควิดมาก่อนสามารถติดเชื้อได้ซ้ำอีก แต่ความรุนแรงของโรคอาจไม่ได้เพิ่มขึ้น

อาการของ โควิดสายพันธุ์ xbb 1.16

การติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 จะมีอาการแสดงแตกต่างกันไป โดยอาจขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน อาการที่พบอาจมีดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ไอ
  • ไม่ได้กลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรู้รสชาติ
  • เกิดผื่นคัน
  • ตาออกแดง ๆ คล้ายเป็นโรคตาแดง
  • คัน ระคายเคืองตา มีขี้ตาเปียก
  • ในผู้ป่วยเด็กอาจร้องไห้งอแงในตอนกลางคืน ลืมตาไม่ขึ้น

เชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 มีการแพร่กระจายเข้าสู่เยื่อบุตา หากมีอาการรุนแรงจะยิ่งมีผลกับดวงตา ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุอักเสบ ควรดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการโควิดรุนแรงกว่าคนทั่วไป

แนวทางการป้องกันโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16

แนวทางการป้องกันโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 อาจทำได้ดังนี้

  • ฉีดวัคซีนโควิดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 1 เข็ม ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือลดความรุนแรงของโรคเมื่อติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่ม 608 ซึ่งได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และผู้หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด พื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือเมื่อโดยสารรถสาธารณะปรับอากาศ ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยชนิดใช้แล้วทิ้งติดต่อกันนานเกิน 1 วัน หรือฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยแล้วนำมาใช้ต่อ และหากไอหรือจามใส่หน้ากากอนามัยควรเปลี่ยนชิ้นใหม่ทันที
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หากไม่สะดวก ควรล้างมือด้วยสเปรย์หรือเจลแอลกอฮอล์แทน
  • เมื่อมีอาการเจ็บป่วย เช่น เจ็บคอ มีไข้ ไอ ไม่ได้กลิ่น ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บุคคลอื่น โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ และควรตรวจ ATK เพื่อยืนยันผลการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Protect Yourself and Others. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/prevention.html. Accessed April 20, 2023
New Omicron Variant Being Watched, WHO Says. https://www.webmd.com/covid/news/20230401/new-omicron-variant-being-watched. Accessed April 20, 2023
Symptoms of COVID-19. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html. Accessed April 20, 2023
About coronaviruses. https://www.healthdirect.gov.au/about-coronaviruses. Accessed April 20, 2023
Coronavirus Diagnosis: What Should I Expect?. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/diagnosed-with-covid-19-what-to-expect. Accessed April 20, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/04/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

7 การดูแลตัวเองหลังติด COVID-19 มีอาการลองโควิดต้องทำอย่างไร?

MIS C หรือ ภาวะอักเสบในเด็กหลังหายจากโรคโควิด-19 เป็นอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 26/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา