โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

นักวิจัยฝรั่งเศสชี้ แผ่นแปะนิโคติน อาจช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

ช่วงเวลาที่ผ่านมาของสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เหล่านักวิจัยต่างและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศได้ร่วมกันคิดค้น วิเคราะห์ยามารักษา หรือปกป้องสุขภาพของพวกเราทุกคนให้ไกลจากเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 นี้ เรียกได้ว่าเป็นการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของพวกเขาอย่างยิ่งเลยก็ว่าได้ และสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ นักวิจัยชาวฝรั่งเศสได้เปิดตัวการทดสอบของ แผ่นแปะนิโคติน ที่อาจช่วยป้องกันคุณจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การทดสอบด้วย แผ่นแปะนิโคติน ก่อนหน้านี้ได้มีการตีพิมพ์และการทดสอบเกี่ยวกับนิโคติน (Nicotine) หรือการสูบบุหรี่ออกมามากมาย ว่าการพ่นควันออกมาแต่ละครั้ง อาจทำให้เชื้อไวรัสเล็ดลอดออกมากับสารคัดหลั่งในควันบุหรี่ได้ แต่การทดลองของนักวิจัยชาวฝรั่งเศสผู้นี้กลับให้ผลในอีกทางหนึ่ง กล่าวคือ จากข้อมูลด้านสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 ได้น้อยกว่าถึง 80% หากเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการพิสูจน์ และทดลองในเรื่องนี้ต่อไป จนกว่าจะได้คำตอบที่แน่ชัด ในระหว่างการทดลอง บุคลากรทางการแพทย์จึงได้คิดค้น แผ่นแปะนิโคติน ขึ้นมาทดแทน จากการอ้างอิงผลทดลองในข้างต้น แต่มิได้หมายความว่า นี่จะเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะติดบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ได้ กลับกันอาจทำให้อาการดังกล่าวทรุดลงกว่าเดิม ดังนั้นการทดสอบด้วยแผ่นแปะนิโคติน คือการทดลองทำงานของสารนิโคตินกับเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น โดยทีมวิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง 1,500 คน ใช้แผ่นแปะนิโคตินนี้ ผลสรุปว่า ผู้ที่ใส่แผ่นแปะมีภูมิต้านทานในร่างกายสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้แปะแผ่นนี้ นั่นอาจเป็นการพิสูจน์ได้อีกขั้นหนึ่งว่า แผ่นแปะที่ประกอบด้วยสารนิโคตินสามารถลดอัตราการแพร่กระจายของไวรัสได้ด้วย อีกทั้งยังมีทฤษฎีเกี่ยวกับสารนิโคติน ที่ว่า นิโคตินเป็นสารที่สามารถเกาะติดกับตัวรับเซลล์ได้ จึงปิดกั้นไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ และแพร่กระจายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รัฐบาลของประเทศฝรั่งเศสได้ทำการอนุญาตให้ประชาชนซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นแปะนิโคตินได้เป็นที่เรียบร้อย แต่การซื้อนั้นต้องผ่านทางร้านขายยาที่มีคุณภาพ ไม่ควรหลงเชื่อร้านที่ลงขายในออนไลน์ […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีรับมือกับความเครียด ในช่วงโควิด-19 ระบาด

ในช่วงโควิด-19 ระบาด ทุกคนต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ กักตัวอยู่บ้านตามที่รัฐบาลกำหนด เว้นระยะห่างเมื่อต้องเดินทางไปนอกบ้าน แต่ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการไปที่ชุมชน ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ทุก ๆ คนระแวงไปหมด กลัวว่าจะมีการติดเชื้อ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียด วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีรับมือกับความเครียด ในช่วงโควิด-19 ระบาด มาให้ทุกคนอ่านค่ะ วิธีรับมือกับความเครียด ในช่วงโควิด-19 ระบาด ทำความเข้าใจกับความเครียดที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสเกิดขึ้นนั้น เป็นช่วงเวลาที่มีความน่ากลัว หลาย ๆ ประเทศมีการปิดประเทศ ป้องกันไม่ให้ผู้คนเดินทาง เพราะมีผู้คนติดเชื้อกันอย่างมากมาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เราควรจะทำอย่างไรดี ความไม่แน่นอนของสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้บางคนนั้นเตรียมการณ์ที่จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวล แต่หากมัวแต่วิตกกังวลก็จะยิ่งทำให้สุขภาพจิตของเราแย่ลงไปอีก เราจึงควรที่จะเรียนรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าควรจัดการอย่างไร จะได้ลดความวิตกกังวลและความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ติดตามข่าวสารของโควิด-19 โดยที่ไม่กังวลเกินไป การรู้สถานการณ์ความเคลื่อนไหว ความคืบหน้าของโรคระบาดนั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติตามหลักการป้องกันและหลีกเลี่ยงได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญเราจะได้รู้ความคืบหน้าว่าเชื้อที่ระบาดอยู่นั้นต้องมีการป้องกันและจัดการอย่างไรจึงจะปลอดภัย แต่ในปัจจุบันมีข่าวปลอมออกมามากมาย ดังนั้นก่อนที่จะเลือกติดตามข่าวสาร ควรเลือกติดตามข่าวสารจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ หรือเลือกติดตามข่าวสารจากหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ และแน่นอนว่าควรติดตามข่าวสารด้วยสติ ติดตามเพื่อหาวิธีในการป้องกันตนเอง และไม่ควรตื่นตระหนกกับข่าวสารที่เกิดขึ้น ป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่กังวลกับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นสถานการณ์ที่หลาย ๆ เรื่องก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น […]


ไวรัสโคโรนา

กรมขนส่งเผย การโดยสารรถสาธารณะให้ปลอดภัย ห่างไกลโรคโควิด-19

แม้โรคโควิด-19 (COVID-19) ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทย แต่ทุกคนก็จำเป็นจะต้องใช้ชีวิตประจำวันต่อไปอย่างไม่มีหยุด ซึ่งหลายคนอาจจะต้องมีการใช้บริการของ รถโดยสารสาธารณะ ดังนั้น ทางกรมขนส่งก็ได้ออกมาให้ชี้แนะเกี่ยวกับ การโดยสารรถสาธารณะให้ปลอดภัย ซึ่งจะมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน การโดยสารรถสาธารณะให้ปลอดภัย ห่างไกลโรคโควิด-19 นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้มีมาตรการการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระบบขนส่งสาธารณะ โดยกรมการขนส่งทางบกได้กำชับไปยังผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งด้วย รถโดยสารสาธารณะ ทุกประเภท รวมถึงผู้ให้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกแห่ง ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมอย่างเคร่งครัด คำแนะนำสำหรับประชาชนที่เดินทางด้วย รถโดยสารสาธารณะ โดยประชาชนที่จำเป็นจะต้องเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เช่น รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ รถสองแถว หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ควรทำตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง งดพูดคุยโทรศัพท์ในระหว่างการโดยสารรถสาธารณะ ควรล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ชนิดเจลหรือน้ำทุกครั้งที่มีการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ในที่สาธารณะ กรณีโดยสารรถแท็กซี่ ควรนั่งตอนหลังของรถ เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างผู้ขับรถและผู้โดยสาร ลดความเสี่ยงการติดต่อ คำแนะนำสำหรับผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ ในส่วนของผู้ขับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท แนะนำให้ สังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากป่วย มีอาการไข้ ไอ จาม ห้ามขับรถเด็ดขาด ควรกักตัวที่บ้านเพื่อสังเกตอาการ ขณะให้บริการหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ชนิดเจลหรือน้ำบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาให้บริการ หากในระหว่างขับรถมีผู้โดยสารไอ จาม ให้ปิดแอร์แล้วเปิดหน้าต่างระบายอากาศ […]


ไวรัสโคโรนา

รวมคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะดูคลี่คลายไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงมีเรื่องราวและข้อสงสัยอีกมากเกี่ยวกับผลร้ายของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะในช่วงที่มีโควิด-19 แพร่ระบาด บทความนี้ Hello คุณหมอ จะมารวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การปลูกถ่ายอวัยวะในช่วงโควิด-19 ที่น่าสนใจ มาช่วยตอบข้อสงสัยให้กับคุณผู้อ่านทุกคนค่ะ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การปลูกถ่ายอวัยวะในช่วงโควิด-19 Q: ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่นหรือไม่ A: ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง หรือเสียชีวิต มากกว่าผู้ป่วยปกติ เนื่องจากผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นจะต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอวัยวะใหม่ ยากดภูมิคุ้มกันนี้จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนต่อสู้กับการติดเชื้อได้ยากขึ้น และอาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น จนถึงเสียชีวิตได้ Q: ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าปกติหรือไม่ A: ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัสอย่างโควิด-19 Q: ควรทำการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะในช่วงที่มีโควิด-19 แพร่ระบาดหรือไม่ A: ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัดและกระบวนการอื่น ๆ รวมไปจนถึงการปลูกถ่ายอวัยวะ ทางศูนย์ควบคุมโรคได้ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยที่ไม่แข็งแรง หรือมีอาการรุนแรง ไม่ควรเลื่อนกำหนดการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ […]


ไวรัสโคโรนา

แพทย์เตือน! ผู้รักสุขภาพ ห้ามใส่ หน้ากากอนามัยN95 ขณะออกกำลังกาย

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นว่า หลังจากที่รัฐบาลผ่อนปรน 6 กิจการ ให้ดำเนินการตามปกติ พบว่าขณะนี้กิจการประเภทสวนสาธารณะ ลานทำกิจกรรมต่าง ๆ มีผู้คนเข้ามาออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก จึงขอความร่วมมือโดยก่อนการเข้าใช้บริการ ควรตั้งจุดคัดกรองเพื่อวัดอุณหภูมิร่างกาย ว่ามีผู้ใดมีไข้เกิน 37.5 องศา หรือไม่ หากมี โปรดให้เจ้าหน้าที่รีบติดต่อแพทย์ เพื่อนำรถเฉพาะมารับผู้ป่วย และนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที รวมไปถึงการแนะนำเรื่องการสวม หน้ากากอนามัยN95 ขณะออกกำลังกาย การสวม หน้ากากอนามัยN95 ขณะออกกำลังกาย ส่งผลเสียอย่างไร ที่สำคัญการออกกำลังกายอย่างการวิ่ง ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่หน้ากากอนามัยผ้าหรืออนามัย โดยเฉพาะ หน้ากากอนามัยN95 ขณะออกกำลังกาย เพราะการออกแรงแต่ละครั้งร่างกายจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนจากการหายใจ มิเช่นนั้นอาจทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้คุณหายใจไม่ทันได้ ทางแพทย์หญิงพรรณพิมล จึงแนะนำการป้องกัน โดยเป็นการทิ้งระยะห่างจากคนข้างหน้า ไม่นำมือไปสัมผัส หรือพูดคุยกันในระยะประชิด ทดแทน ทั้งนี้ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้อีกว่า หลังจากการออกกำลังกายเสร็จสิ้น ให้ผู้ใช้บริการทุกคนรีบล้างมือด้วยสบู่ ชำระล้างร่างกายจากคราบเหงื่อไคลให้สะอาด และขอความร่วมมือผู้ดูแล เจ้าหน้าที่ตามสถานที่ที่ผู้คนรวมตัวในการออกกำลังกาย ให้เช็ดถู ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ก่อน-หลัง การเปิดบริการ หรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะห้องน้ำ ที่จับประตู […]


ไวรัสโคโรนา

อาการตาแดงกับเชื้อไวรัสโคโรนา มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

อาการตาแดงเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ อาการนี้เกิดขึ้นได้จากเชื้อไวรัสหลากหลายชนิดอีกด้วย และในปัจจุบันพบว่า อาการตาแดงกับเชื้อไวรัสโคโรนา ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า มันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ทาง Hello คุณหมอ จึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาฝากกัน อาการตาแดง (Pink Eye) คืออะไร? อาการตาแดง(Pink Eye) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบาง ๆ ที่เรียกว่าเยื่อบุตา ซึ่งปกคลุมด้านหน้าของดวงตาและด้านหลังของเปลือกตา เยื่อบุตามีหน้าที่ช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นและหล่อลื่น เมื่อเยื่อบุตาอักเสบจะทำให้บริเวณตาขาวกลายเป็นสีชมพูหรือสีแดง ที่เรามักจะเรียกกันว่า โรคตาแดง นั่นเอง เยื่อบุตาอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหลากหลายชนิด รวมถึงการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมผู้ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 ถึงจะมีอาการตาแดงปรากฏร่วมด้วย แม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม การที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 มีอาการตาแดง เกิดจากของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ติดเชื้อ หากผู้ที่ติดเชื้อไอ จาม หรือสัมผัสของเหลวในร่างกาย แล้วนำมือที่เปื้อนของเหลวเหล่านั้นไปสัมผัสบริเวณดวงตา ก็อาจทำให้ดวงตาติดเชื้อไวรัสโคโรนาจนตาแดงได้ อาการตาแดงกับเชื้อไวรัสโคโรนา เชื่อมโยงกันอย่างไร สำหรับข้อบ่งชี้ที่ระบุว่าเยื่อบุตาอักเสบอาจเป็นอาการของการติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ถูกรายงานโดยคณะผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติของจีน เรื่องโรคปอดบวมในรายงานระบุว่า ในขณะที่กวงฟา หวัง (Guangfa Wang) ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เขาสวมเพียงหน้ากาก N95 โดยที่ไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาแต่อย่างใด หลังจากที่เขาติดเชื้อไวรัสโคโรนา […]


ไวรัสโคโรนา

สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น อาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคโควิด-19

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไข้สูง ท้องเสีย เจ็บคอ ไอแห้ง ซึ่งอาการอาจไม่ได้ปรากฏในผู้ป่วยทุกราย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาการดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคโควิด-19 หรือเป็นเพียงอาการเจ็บป่วยธรรมดา แต่ข้อมูลจากวารสาร International Forum of Allergy & Rhinology ได้ระบุว่า หากคุณ “สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น” อย่างฉับพลัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคโควิด-19  แต่จะจริงหรือไม่นั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น สัญญาณเตือน โรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 วารสาร International Forum of Allergy & Rhinology ระบุว่า หากคุณไม่มีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เช่น มีไข้สูง จาม ไอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว  แต่มีอาการ สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น อย่างฉับพลัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคโควิด-19 โดยอาการดังกล่าวนี้เรียกได้ว่าเป็นอาการที่บ่งชี้ชัดเจนมากกว่าอาการอื่น ๆ ถึง 10 […]


ไวรัสโคโรนา

คำแนะนำ! สำหรับ ค่ายทหาร เพื่อการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19

ค่ายทหาร เป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมาก วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำและมาตรการสำหรับค่ายทหาร ในการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ จะมีคำแนะนำและวิธีการปฎิบัติอย่างไรบ้างนั้น สามารถติดตามอ่านได้ในบทความนี้ การเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการเฉพาะ สำหรับ ค่ายทหาร ในการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19 ดังต่อไปนี้ กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่หรือพยาบาล เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อรับทราบแนว ทางการเฝ้าระวังและมาตรการเพื่อป้องกันการควบคุมการระบาดในค่ายทหาร หน่วยพยาบาลทำบันทึกข้อมูลการป่วยของทหารและเจ้าหน้าที่ในค่ายทหาร จัดเตรียมห้องพยาบาลสำหรับแยกทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอาการทางเดินหายใจ ออกจากทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอาการป่วยอื่น จัดเตรียมพื้นที่แยกผู้ป่วยในกรณีที่พบผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสโรคเป็นจำนวนมากมาก จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการล้างมือ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ ในบริเวณส่วนกลาง เช่น โรงอาหาร  โรงครัว ห้องน้ำ เป็นต้น จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วย โรงพยาบาลในสังกัดสำรองชุดตรวจ  ราพิด เทสต์ (Rapid Test) ไข้หวัดใหญ่ สำหรับตรวจกรณีพบผู้ป่วยมีอาการทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน การเฝ้าระวังผู้ป่วยในค่ายทหาร สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวังผู้ป่วยในค่ายทหาร ในกรณีที่มีบุคคลากรจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาด เมื่อเดินทางกลับมาจะต้องรายงานตัวและแจ้งหน่วยพยาบาล เพื่อทำการบันทึกข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการเดินทางเพื่อติดตามเฝ้าระวังอาการภายใน 14 วัน เมื่อเดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาดผู้ที่ได้สัมผัสผู้ป่วยหรือมีความเสี่ยงสูง จะต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้านหรือที่พักเป็นเวลา 14 วัน นับจากการเดินทางออกจากพื้นที่ระบาด  (ในระหว่างการกักตัวควรหลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะหรือแหล่งชุมชนต่างๆ) อย่างไรก็ตามหลังเดินกลับมาจากพื้นที่ระบาดภายใน 14 วัน หากบุคลากรมีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เช่น มีไข้ จาม ไอ เหนื่อยหอบ […]


ไวรัสโคโรนา

เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 และ ข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

สำหรับสถานการณ์โรคระบาดอย่างเชื้อโคโรนาไวรัสในปัจจุบันนั้น ยังไม่คลี่คลายสักเท่าไหร่ เพราะหลาย ๆ คนอาจยังต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงทำให้มีหลายคนเริ่มสงสัยว่า การที่อยู่บ้านและเปิดเครื่องปรับอากาศ นั้นจะปลอดภัยจากเชื้อไวรัสได้จริงหรือ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 มาฝากกัน เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 เกี่ยวข้องกันอย่างไร ด้วยอัตราการติดเชื้อที่ยังสูงมากในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้หลายคนกำลังกังวลถึงวิธีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ระหว่างคน การติดเชื้อในอากาศ และวิธีที่จะสามารถรับเชื้อโรคโควิด-19 จากคนอื่น ๆ ซึ่งคำถามส่วนใหญ่เริ่มจะถูกถามเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศว่า เครื่องปรับอากาศจะสามารถแพร่กระจายเชื้อโคโรนาไวรัสได้หรือไม่ ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่ได้มีบทสรุปข้อเท็จจริงที่แน่ชัด จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การใช้เครื่องปรับอากาศในบ้านนั้นไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่คนเดียวในบ้าน โดยที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับความเสี่ยงจากภายนอกบ้าน แต่เชื้อโคโรนาไวรัสนั้น ก็ยังสามารถแพร่กระจายได้ในพื้นที่ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศส่วนกลาง เช่น ในพื้นที่สาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า และอะพาร์ตเมนต์บางแห่ง ยิ่งถ้าสถานที่เหล่านั้นมีผู้ติดเชื้อรวมอยู่ด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศและโรคโควิด-19 แม้จะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า เครื่องปรับอากาศนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ แต่ก็ยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศที่ควรรู้ไว้ ดังนี้ การกรองและขนาดของอนุภาค ปกติแล้วเครื่องปรับอากาสจะกรอกอนุภาคผ่านระบบต่าง ๆ และจะมีความสามารถในการกรองอนุภาคในระดับที่ต่างกัน เช่น เครื่องปรับอากาศในเรือสำราญ โดยทั่วไปจะไม่สามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดน้อยกว่า 5,000 นาโนเมตรได้ ซึ่งไวรัสที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่คล้ายกับเชื้อโคโรนาไวรัส เช่น […]


ไวรัสโคโรนา

รู้หรือไม่ โควิด-19 ส่งผลร้ายอย่างไร กับไตของเรา

โรคโควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสโคโรนา และกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในตอนนี้ โรคนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกไปแล้วไม่น้อยกว่า 3.55 ล้านราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2564) และยังมีอีกหลายคนที่มีอาการรุนแรงและต้องรับการรักษาในโรคพยาบาลอย่างใกล้ชิด แต่อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ โควิด-19 อาจส่งผลร้ายต่อไตของเราได้ โควิด-19 กับไต นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มาหาคำตอบร่วมกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอได้เลยค่ะ โควิด-19 กับไต มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงบางราย อาจพบปัญหาไตเสียหายเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ด้วย แพทย์เรียกความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตนี้ว่า “อาการไตบาดเจ็บเฉียบพลัน” โดยอาการไตบาดเจ็บเฉียบพลันนี้จะเกิดในประมาณ 5% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 และส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตนี้ มักจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีปัญหาไต เมื่อโรคโควิด-19 เริ่มส่งผลให้ไตเสียหาย ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการอื่น นอกเหนือไปจากอาการปกติที่สามารถพบได้ตามปกติในผู้ป่วยโควิด-19 เช่น ปัสสาวะน้อย แขนขาบวม คลื่นไส้ อาเจียน โดยอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อไตเสียหายขั้นรุนแรงแล้วเท่านั้น ป่วยเป็นโรคไต จะเสี่ยงติดโควิด-19 ได้มากกว่าคนอื่นหรือไม่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการฟอกไต อาจยิ่งเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่า เนื่องจากการฟอกไตส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้ร่างกายไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มที่เหมือนคนปกติ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตบางรายอาจต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อเปลี่ยนไต ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะใหม่ ยากดภูมิคุ้มกันนี้จะลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน