โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

สุนัขดมกลิ่น ผู้ช่วยสำคัญในการตรวจจับผู้ป่วยโควิด-19 ในสนามบิน

เมื่อพูดถึง สุนัขดมกลิ่น เราอาจนึกไปถึงพวกสุนัขตำรวจที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ ในด้านการดมกลิ่นค้นหาสิ่งต่าง ๆ ทั้งยาเสพติด ระเบิด หรือแม้กระทั่งคนหาย แต่หากบอกว่าสุนัขดมกลิ่นพวกนี้สามารถตรวจจับ โรคโควิด 19 ด้วย บางคนอาจจะไม่เชื่อ และคิดว่าไม่สามารถทำได้ แต่จากงานวิจัยล่าสุด เผยว่า การใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจจับผู้ป่วยโควิด-19 อาจแม่นยำกว่าที่เราคิด ว่าแต่สุนัขดมกลิ่นตรวจจับโควิด 19 ได้จริงหรือไม่ เราไปหาคำตอบกันเลย สุนัขดมกลิ่นกับการตรวจจับโรค เราอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า สุนัข มีความสามารถในการดมกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์และสัตว์ชนิดอื่น ๆ โดยปกติ สุนัขจะมีหน่วยรับกลิ่นบริเวณจมูกมากกว่า 300 ล้านหน่วย ซึ่งมากกว่ามนุษย์ที่มักจะมีหน่วยรับกลิ่นแค่ประมาณ 6 ล้านหน่วยเท่านั้น นั่นทำให้สุนัขสามารถดมกลิ่นและแยกแยะกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ ความสามารถในการดมกลิ่นอันดีเลิศแบบนี้เอง ที่ทำให้หลายหน่วยงานพยายามฝึกสุนัขดมกลิ่นให้ทำหน้าที่ในการตรวจจับกลิ่นพิเศษต่าง ๆ ทั้งกลิ่นระเบิด สารเสพติด รวมถึงโรคด้วย มีงานวิจัยที่พบว่า เมื่อเราป่วย ร่างกายของเราจะหลั่งสารประกอบที่มีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัวออกมา เรียกว่า สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds หรือ VOCs) แม้ว่ามนุษย์จะไม่สามารถดมกลิ่นของสารประกอบนี้ได้ แต่สุนัขกลับดมกลิ่นและแยกแยะกลิ่นพิเศษเฉพาะนี้ได้ ทำให้สามารถตรวจจับได้ว่าบุคคลนั้นเป็นโรคอะไรอยู่หรือไม่ ซึ่งจากผลการศึกษาจนถึงปัจจุบัน พบว่า ความแม่นยำในการตรวจจับโรคของสุนัขดมกลิ่น เกือบจะ […]


ไวรัสโคโรนา

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน ได้หรือไม่ จะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือเปล่า

หลายคนที่ติดตามข่าวการฉีด วัคซีนโควิด -19 ในช่วงนี้ อาจจะได้ยินเกี่ยวกับคำแนะนำเรื่องการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน ระหว่างเข็มแรกกับเข็มที่สอง เช่น ฉีดวัคซีนซิโนแวค (sinovac) ก่อนในเข็มที่ 1 แล้วเข็มที่ 2 ค่อยไปฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) จนอาจทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 สองชนิดที่แตกต่างกัน เป็นอันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ ทำไมถึงมีการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่เพิ่งคิดค้นมาได้ไม่นาน ทำให้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนเหล่านี้ยังคงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ความใหม่ของวัคซีนนี้เองทำให้ศึกษาค้นพบข้อมูลที่น่าสนใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด-19 ออกมาให้เห็นเรื่อย ๆ หนึ่งในงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ก็คือ การทดลอง ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่แตกต่างกัน 2 ชนิด เพื่อดูว่าระดับการสร้างภูมิคุ้มกันจะมีประสิทธิภาพแตกต่างจากการฉีดวัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือไม่ ยกตัวอย่าง งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กำลังดำเนินในสหราชอาณาจักร (UK) ได้ทำการเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมการทดสอบฉีด วัคซีนโควิด-19 สองชนิดที่แตกต่างกัน โดยให้ผู้เข้าทดสอบได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ในเข็มที่ 1 […]


ไวรัสโคโรนา

สารพันเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19

เชื่อว่าในขณะนี้ หลาย ๆ คนอาจจะตระหนักและรับทราบข้อปฏิบัติในการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 กันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ หรือการเว้นระยะห่าง แต่กับผู้ที่ติดโควิด-19 และรักษาหายแล้ว จะมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำสารพัดเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ เทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาจนหายจาก โรคโควิด-19 แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติในทันที ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง รวมถึงเพื่อคอยเฝ้าระวังสัญญาณความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย กรมการแพทย์ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 ไว้ ดังนี้ กักตัวจนครบ 14 วัน ปัญหาการขาดแคลนเตียงและบุคลากรสำหรับรักษา โรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการมักจะได้กลับบ้านหลังจากกักตัวดูแลภายในโรงพยาบาลเพียงแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้น และจำเป็นต้องกักตัวเองที่บ้านเพิ่มจนครบกำหนด 14 วัน เพื่อให้มั่นใจว่า หายดีและไม่อยู่ในระยะที่แพร่เชื้อแล้ว จึงจะสามารถกลับมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ในช่วงระหว่างที่กักตัวที่บ้าน ควรแยกห้องนอน และถ้าเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำ กับพื้นที่พักอาศัย หากไม่สามารถแยกได้ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้งาน และห้ามใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องพบปะกับผู้อื่น ทำความสะอาด นอกเหนือจากการทำความสะอาดตามปกติแล้ว ก็ควรเน้นทำความสะอาดในจุดที่ตัวเองสัมผัสบ่อย ๆ และจุดเสี่ยงที่อาจมีการสะสมของเชื้อโรค เช่น ลูกบิดประตู […]


ไวรัสโคโรนา

ฉีดวัคซีนโควิด มีประโยชน์อย่างไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร

การ ฉีดวัคซีนโควิด 19 มีเป้าหมายสำคัญคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยลดความรุนแรงของอาการจากโรคได้ อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนโควิด 19 ก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง วัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ วัคซีนเชื้อตาย วัคซีน mRNA วัคซีน viral vector vaccine และวัคซีน protein-based vaccine วัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้อาจจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดังนี้ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้จดจำและหาทางกำจัดเชื้อก่อโรคโควิด-19 อย่างเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้ เมื่อเราฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว หากเราได้รับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ร่างกายของเราก็จะพร้อมรับมือกับโรคนี้ ช่วยควบคุมอาการ ไม่ให้ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการที่รุนแรง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากจำนวนผู้ที่ได้รับ วัคซีนโควิด-19 มีมากพอ อาจจะสามารถช่วยทำให้เกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ซึ่งจะช่วยควบคุม และยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ […]


ไวรัสโคโรนา

เช็ก! พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด มีจังหวัดอะไรบ้าง

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงได้กำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพื้นที่ที่ต้องควบคุมและเข้มงวดสูงสุด คือ พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า “พื้นที่สีแดง” เรามาเช็กกันหน่อยดีกว่าว่า พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด มีจังหวัดที่คุณอยู่หรือไม่ และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากอยู่ในพื้นที่สีแดง ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ   พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด  คือ พื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบัน คือ พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากพบยอดผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องทำการควบคุมเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น ให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน พยายามไม่ออกไปในที่ที่คนพลุกพล่าน เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร  มาตรการป้องกัน สำหรับพื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ออกมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ฉบับที่ 6 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้  ห้ามใช้อาคารหรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ห้ามจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการควบคุมโรค ยกเว้นจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ เช่น การจัดงานแต่ง แต่ต้องจัดตามมาตรการตามแนวทางสาธารณสุข  ปิดสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาสั่งปิดพื้นที่ภายในจังหวัด การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำกัดจำนวนคนเข้าร้าน โดยให้จัดสถานที่ตามแนวทางปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร สามารถเปิดได้ตามปกติ แต่เป็นลักษณะซื้อกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถสั่งปิดหรือเปิดพื้นที่นอกเหนือจากที่กำหนดได้ สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ […]


ไวรัสโคโรนา

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

กระแสข่าวเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยหลายคนเกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยหลังเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และลังเลอยู่ว่าจะเข้ารับวัคซีนดีหรือไม่ แต่ความจริงแล้ว การฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ร้ายแรงและน่ากลัวอย่างที่ทุกคนคิด เรื่องนี้จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ สถานการณ์โควิด-19 กับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ข่าวสารเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 นับว่าเป็นกระแสข่าวที่ประชาชนชาวไทยหลายคนให้ความสนใจ เพราะรู้สึกกังวลในเรื่องของความปลอดภัยหลังฉีด ไม่มั่นใจระหว่างฉีดวัคซีนกับไม่ฉีดวัคซีนอันไหนจะดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน  องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายจะได้รับผลข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลางหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เช่น มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีน และกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะแอนติเจน สารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันและเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 มีดังต่อไปนี้ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดเมื่อยบริเวณที่ฉีดวัคซีน ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว บริเวณกล้ามเนื้อ ถึงแม้ว่าวัคซีนจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาว่าปลอดภัย แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง โดยผลข้างเคียงจะอยู่เพียง 12-24 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน หากร่างกายมีผลข้างเคียงนานเกิน 48 ชั่วโมง ควรติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำในการรักษาตามลำดับขั้นตอนต่อไป ติดเชื้อโควิดมาก่อน ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่? สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ถึงแม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เสมอ แม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน […]


ไวรัสโคโรนา

ระวัง! โควิดไม่แสดงอาการ ตรวจไม่พบเชื้อ แต่ปอดพัง แถมแพร่เชื้อได้

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเบื้องต้นที่พบได้บ่อย คือ ไข้สูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลิ้นไม่รับรส แต่ในปัจจุบัน กลับพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ หรือที่เรียกว่า โควิดไม่แสดงอาการ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้รับรู้ รักษา และควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ยาก เราจึงควรดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า เพราะสาเหตุใด ผู้ป่วยถึงติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ แล้วเราพอจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากโรคนี้อย่างไรบ้าง [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำความรู้จัก โควิดไม่แสดงอาการ โควิดไม่แสดงอาการ (Asymptomatic COVID-19) คือ ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่กลับไม่แสดงอาการใด ๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคนี้ โดยพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ที่ไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรค เป็นต้น   เว็บข่าวด้านสุขภาพ Medical News Today ในประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า จากผลการวิจัยพบ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) มีอายุน้อยกว่า 20 ปี กว่า 81.9% […]


ไวรัสโคโรนา

5 แนวทาง จัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรการการจัดการศพผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 จึงต้องรัดกุมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรค บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ 5 แนวทาง จัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มาให้คุณผู้อ่านได้ศึกษากันดู แนวทางที่ว่าจะมีอะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ 5 แนวทาง จัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้เปิดเผยข้อมูลจากสถาบันพยาธิวิทยาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับ 5 แนวทางจัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต สารคัดหลั่งที่อยู่ในศพยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เจ้าหน้าที่จึงควบคุมสารคัดหลั่ง โดยเก็บศพไว้ในถุงซิปกันน้ำอย่างน้อยสองชั้น และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทางด้านนอกถุงเก็บศพ ห้ามเปิดถุงเก็บศพออกโดยเด็ดขาด และจะไม่มีการอาบน้ำศพ รดน้ำศพ และฉีดยารักษาศพ บรรจุศพพร้อมถุงลงในโลงศพ ปิดฝาโลงให้สนิท ญาติหรือผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เสียชีวิต สามารถนำศพไปทำพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างปลอดภัย การเผาหรือฝังศพจะไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ ข้อปฏิบัติในการจัดการศพที่ติดเชื้อโควิด-19 คำแนะนำในการจัดการศพผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สำหรับเจ้าหน้าที่และญาติ มีแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้ คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ ขณะจัดการศพจะต้องสวมชุดPPE ขณะทำงานตลอดเวลา และถอดชุดออกทันทีหลังเสร็จสิ้นการจัดการศพ เจ้าที่หน้าต้องเคยผ่านการอบรมการใส่-ถอด ชุดPPE และการจัดการศพมาก่อน สำหรับศพที่รอการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ควรเก็บในตู้เย็นเก็บศพที่มีช่องแยก ห้ามเก็บในห้องเย็นหรือเก็บรวมกับศพอื่น ๆ  หากศพได้รับการยืนยันว่าพบเชื้อ จะต้องบรรจุศพพร้อมถุงลงในโลงศพ […]


ไวรัสโคโรนา

เฝ้าระวัง! จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร พบกลุ่มคลัสเตอร์ หรือกลุ่มผู้ป่วยโควิด ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราจึงต้องคอยติดตามข่าวสารเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังตนเองให้ปลอดภัยจากสถานการณ์โควิด-19 บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้นำข้อมูล จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในประเทศไทย มาให้ทุกคนเช็กกันดูค่ะ จะมีจังหวัดไหนบ้าง มาดูพร้อมกันเลย  นิยาม คลัสเตอร์โควิด-19 คลัสเตอร์โควิด-19 คือ กลุ่มคนที่ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่เดียวกัน กลุ่มคนที่อยู่รวมตัวกัน หรือจากสถานที่ที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีจำนวนคนมากกว่า 2 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ คำว่า คลัสเตอร์ สามารถใช้ได้กับทุก ๆ โรค รวมถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง ภาวะบกพร่องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่  เฝ้าระวัง! จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้อัปเดตข้อมูลกลุ่มคลัสเตอร์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ต้องเฝ้าระวังไว้จำนวน 32 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เขต สถานที่ กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด เขตบางกะปิ ตลาดบางกะปิ, แคมป์ก่อสร้าง เขตหลักสี่ แคมป์ก่อสร้าง เขตคลองเตย ตลาดคลองเตย, ชุมชนแออัดคลองเตย, แคมป์ก่อสร้าง เขตดินแดง ตลาดห้วยขวาง, แฟลตดินแดง  เขตห้วยขวาง ชุมชนโรงปูน, แคมป์ก่อสร้าง เขตบางรัก แคมป์ก่อสร้าง, […]


ไวรัสโคโรนา

ไขข้อข้องใจ การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR คืออะไร?

ในปัจจุบันประเทศไทยมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิดอยู่ 2 วิธี คือ การตรวจเชื้อโควิด แบบ Real-time RT PCR และแบบ Rapid Test โดยโรงพยาบาลหรือสถานที่ให้บริการการตรวจเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ มักใช้วิธี การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR เนื่องจากมีความแม่นยำสูง ใช้ระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างไม่นาน และทราบผลได้ไว เร็วที่สุดคือ ภายใน 24 ชั่วโมง บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจเชื้อโควิดวิธีนี้มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ  การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR หรือ Real-time RT PCR การตรวจเชื้อโควิดแบบ RT-PCR หรือ Real-time RT PCR เป็นเทคนิคการตรวจหาสารพันธุกรรมที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือที่สุด จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานสากลและเคยใช้ในตรวจโรคซาร์ส (Severe acute respiratory syndrome : SARS) ที่ระบาดในปี พ.ศ. 2545   สำหรับวิธีการเก็บตัวอย่าง เจ้าหน้าที่จะใช้ก้านเก็บตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า “Swab” สอดเข้าไปในโพรงจมูกเพื่อนำเชื้อมาตรวจในห้องปฎิบัติการ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน