โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

อันตราย! โควิดสายพันธุ์อินเดีย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นราวติดจรวด

โควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยถูกค้นพบครั้งแรก จากแคมป์คนงานก่อสร้างในเขตหลักสี่ จังหวัดกรงเทพมหานคร จำนวน 36 ราย ซึ่งในปัจจุบันยังพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดียอย่างต่อเนื่องตามภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 20% ดังนั้นเราจึงต้องป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินดีย มาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจและป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี  ทำความรู้จัก โควิดสายพันธุ์อินเดีย  โควิดสายพันธุ์อินเดียมีชื่อทางการว่า สายพันธุ์ B.1.6.7  ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อต้นเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 ในเมืองนาคปารุระ รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ลักษณะการกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์อินเดีย มีเชื้อการกลายพันธุ์แบบ “Double Mutant” ซึ่งการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่ง โดยตำแหน่งแรกที่ E484Q มีลักษณะคล้ายกับที่พบในประเทศแอฟริกาใต้และประเทศบลาซิล และตำแหน่งที่สองที่ L452R คล้ายกับที่พบในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา   ความรุนแรงของการแพร่กระจายเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดียสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมและสามารถต้านทานวัคซีนบางชนิดได้ ส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว เชื้อโควิคสายพันธุ์อินเดีย รุนแรงมากแค่ไหน? ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการยืนยันที่ชัดเจนถึงความรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดีย แต่จากผลการศึกษาการวิจัยพบว่า เชื้อโควิคสายพันธุ์อินเดียสามารแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น วัคซีนป้องกัน เชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย  ในปัจจุบันพบว่า […]


ไวรัสโคโรนา

5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน

โรคโควิด-19 (Covid-19) หมายถึงการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน สายพันธุ์โควิด-19 ได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น อัลฟ่า (Alpha) เบต้า (Beta) แกมม่า (Gamma) เดลต้า (Delta) รวมถึงสายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า โอไมครอนหรือโอมิครอน (Omicron) ซึ่งโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์อาจมีอัตราการแพร่กระจาย และความรุนแรงของการติดเชื้อที่แตกต่างกันออกไป 5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน 1. สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์ B.1.1.7)     โควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) หรือสายพันธุ์อังกฤษ  ค้นพบที่มณฑลเคนท์ สหราชอาณาจักร ในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2564  และแพร่กระจายไปหลายประเทศทั่วโลก  มีอัตราการแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 40-90% นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่ ถูกแพร่ใน เว็บไซต์ Nature เมื่อ วันที่ 15 มี.ค. ปี พ.ศ. 2564 เรื่องอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อสาย SARS-CoV-2 B.1.1.7  รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์ B.1.1.7 […]


ไวรัสโคโรนา

เรื่องที่ควรรู้ก่อน การรับวัคซีนโควิด-19

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยืดเยื้อมาเป็นเวลาปีกว่าแล้ว นับตั้งแต่มีการระบาดครั้งแรกในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 วงการแพทย์ก็เร่งศึกษาโรคอุบัติใหม่นี้ จนสามารถสร้าง วัคซีนโควิด-19 ได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น และตอนนี้หลายประเทศก็ได้เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชากรในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตจากโรค การฉีดวัคซีนถือเป็นวิธีลดการแพร่ระบาดของโรคที่ได้ผลที่สุดในปัจจุบัน และประเทศไทยเองก็เลือกรับมือกับโรคโควิด-19 ด้วยวิธีนี้เช่นกัน สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า การรับวัคซีนโควิด-19 สำคัญอย่างไร และเราควรเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว การรับวัคซีนโควิด-19 สำคัญอย่างไร แนวคิดเรื่องการฉีดวัคซีน มีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 ผู้คนเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย เป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไข้หวัดใหญ่ และในยุคนี้ก็มี วัคซีนโควิด-19 ที่คิดค้นขึ้นเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยแต่ละประเทศพยายามให้ประชาชนได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างทั่วถึง เนื่องจากการรับวัคซีนโควิด-19 นั้นมีความสำคัญดังนี้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยลดความรุนแรงของอาการที่อาจเกิดขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2564 เผยว่า มีวัคซีนโควิด-19 แค่ 3 ยี่ห้อ คือ Pfizer […]


ไวรัสโคโรนา

ชนิดของวัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบกัน

ในปัจจุบัน หลากหลายบริษัทด้านการแพทย์ ได้เร่งแข่งขันกันผลิต วัคซีนโควิด-19 ออกมา เพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงทั่วโลก ทำให้มีวัคซีนโควิด-19 ชนิดต่าง ๆ ออกมา แต่ ชนิดของวัคซีนโควิด-19 นั้นจะมีอะไรบ้าง และแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ ชนิดของวัคซีนโควิด-19 ที่มีในไทย วัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบันมีหลากหลายชนิด แบ่งออกตามยี่ห้อหรือบริษัทที่ผลิตวัคซีนนั้น ๆ และแต่ละประเทศก็อาจจะเลือกใช้วัคซีนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะสั่งวัคซีนชนิดไหนไว้ โดยชนิดของ วัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ มีอยู่ 2 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้ แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนที่นำเอารหัสพันธุกรรมสำคัญของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (เชื้อโรคโควิด-19) มาแทรกลงในไวรัสโรคหวัดธรรมดาที่ไม่เป็นอันตราย เมื่อเชื้อไวรัสหวัดธรรมดาที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จะทำการสร้างโปรตีนที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้จดจำและหาทางต่อต้านไวรัสนี้ ทำให้เมื่อร่างกายของเราได้รับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ขึ้นมาจริง ๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราก็จะพร้อมสำหรับการต่อต้านไวรัสโควิด-19 นั้น วัคซีนชนิดนี้สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ผลข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ได้แก่ ปวดเมื่อย เหนื่อยล้า ปวดหัว มีไข้ […]


ไข้ไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella Typhi) โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย จนอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งยังอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดไข้ไทฟอบด์อาจพบได้ในน้ำและอาหาร หรืออาจเกิดจากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง ท้องผูก และท้องเสีย   คำจำกัดความไข้ไทฟอยด์ คืออะไร ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella Typhi) โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย จนอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งยังอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดไข้ไทฟอบด์อาจพบได้ในน้ำและอาหาร หรืออาจเกิดจากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง ท้องผูก และท้องเสีย   ไข้ไทฟอยด์พบได้บ่อยเพียงใด ไข้ไทฟอยด์อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กอาจมีความเสี่ยงในการเป็นไข้ไทฟอยด์มากที่สุด แต่อาการในเด็กนั้นอาจจะมีความรุนแรงน้อยกว่าในผู้ใหญ่ อาการอาการของไข้ไทฟอยด์  โดยปกติอาการของไข้ไทฟอยด์อาจมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะแสดงอาการเจ็บป่วยในช่วง 3-4 สัปดาห์ โดยอาจลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้  ปวดศีรษะ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มีไข้สูงถึง 40.5 องศาเซลเซียส เหงื่อออก  ไอแห้ง เบื่ออาหาร อาการท้องผูก ผื่น ท้องบวมมาก  ควรไปพบหมอเมื่อใด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของคุณ สาเหตุสาเหตุไข้ไทฟอยด์ ไข้ไทฟอยด์มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella Typhi) และอาจเกิดจาจกสาเหตุอื่น […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

จูบที่แสนหวาน กับความรักที่ขมขื่น เมื่อคุณเป็น โรคจูบ โดยไม่รู้ตัว

การจูบ เป็นการแสดงออกถึงความรักรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยสานสัมพันธ์ให้คู่รักได้ใกล้ชิดและผูกพันธ์กันมากยิ่งขึ้น แต่จูบที่แสนหวานอาจต้องสะดุดลง เมื่อคุณเป็น โรคจูบ โดยไม่รู้ตัว ฟังดูแล้วอาจไม่น่าเชื่อ! แต่โรคนี้มีอยู่จริงค่ะ และมักเกิดขึ้นกับคู่รักหลายคู่ จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ  [embed-health-tool-heart-rate] โรคจูบ (Kissing Disease) สัมผัสรักที่จำขึ้นใจ โรคจูบ (Kissing Disease) คือ การติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epsterin Barr Virus : EBV) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจูบ การสัมผัส สารคัดหลั่ง รวมถึงการใช้ของร่วมกัน โรคดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปี  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโรคจูบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท โรคหัวใจ เชื้อไวรัสตับอักเสบ  โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจูบ ดังต่อไปนี้ ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปี  นักเรียน นักศึกษา นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ผู้ดูแล หรือใกล้ชิดกับคนป่วย บุคคลที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน  5 […]


ไวรัสโคโรนา

ฆ่าเชื้อโรคในรถ ช่วงโควิดใช้อะไรให้ปลอดภัยทั้งคนและรถ

ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ไม่ว่าจะออกไปไหน หยิบจับอะไร เป็นต้องใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดหรือฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ทำความสะอาด แม้กลับบ้านแล้วก็ต้องล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยสบู่หรือเจลทำความสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ยานพาหนะเป็นหนึ่งสิ่งที่ใช้เป็นประจำ ไม่ว่าจะขับไปทำงาน ซื้อของ ซึ่งการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคในรถ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้ถูกต้อง เพราะรถไม่ได้ออกแบบมาให้ทนทานต่อน้ำยาทำความสะอาด ที่สำคัญคือรถหนึ่งคันมีพื้นผิวที่หลากหลาย แต่ละส่วนต้องการการดูแลที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การทำความสะอาดรถป้องกันเชื้อโรค มาให้อ่านกันค่ะ ผลิตภัณฑ์ ฆ่าเชื้อโรคในรถ ที่ควรใช้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำว่าการใช้สบู่ น้ำสะอาด และแอลกอฮอล์ที่มีไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol) อย่างน้อยร้อยละ 70 เป็นผลิตภัณฑ์ มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโคโรนา ได้ และมีความปลอดภัยสำหรับใช้ภายในยานพาหนะ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีสารฟอกขาว ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) และสารแอมโมเนีย (Ammonia) ก็มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน แต่อาจทำลายเบาะที่ทำจากหนัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีได้ ที่สำคัญ ควรระมัดระวังห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรงในการใช้ทำความสะอาดที่หน้าจอสัมผัส (Touch Screens) แอลกอฮอล์ที่มีไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol) แอลกอฮอล์ที่มีไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol) อย่างน้อยร้อยละ 70 […]


โรคติดเชื้อ

กินอาหารร่วมกัน โดยไม่ผ่านช้อนกลาง ระวัง เชื้อเอชไพโลไร จะถามหาคุณ!

หากคุณเพิกเฉยต่อการรักษาวินัยความสะอาด หรือไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่าง ๆ เช่น ไม่หมั่นล้างมือหลังจับสิ่งสกปรก รับประทานอาหารใช้ภาชนะเดียวกันโดยไม่มีช้อนกลาง หรือไม่แยกอุปกรณ์ โปรดจงระวังให้ดี เพราะนอกจากเชื้อโควิด-19 ที่กำลังระบาดแล้ว ก็อาจส่งผลให้เกิดการติด เชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) ตามมาด้วยก็เป็นได้ เชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) คืออะไร เอชไพโลไร (Helicobacter pylori ; H. pylori) คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นเกลียว เรียวยาว มักเจริญเติบโตอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร รวมถึงลำไส้เล็ก ได้มากถึงร้อยละ 60% เราสามารถได้รับเชื้อ เอชไพโลไร เข้าสู่ร่างกาย ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด การอาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนแออัด หรืออยู่ร่วมกับครอบครัว ที่มีสมาชิกจำนวนมากภายในบ้าน การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มี เชื้อเอชไพโลไร โดยอาจส่งต่อผ่านทางปาก เช่น การจูบ การไม่ยอมล้างมือให้สะอาดหลังจากใช้ห้องน้ำ อาการเบื้องต้นเมื่อได้รับเชื้อเอชไพโลไร เนื่องจากการติดเชื้อ เอชไพโลไร อาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นชัดมากนัก แต่ผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถต้านทานต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดนี้ได้ ก็อาจเผยอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด มีไข้ รู้สึกเบื่ออาหาร ท้องอืด กลืนอาหารลำบาก ปวดแสบปวดร้อนในช่องท้อง ปวดท้องบ่อยครั้งเมื่อท้องว่าง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อุจาระเป็นเลือด หรือมีสีที่เข้มขึ้นถึงสีดำ ซึ่งหากคุณสังเกตพบว่าตัวเองกำลังมีอาการดังกล่าว ควรเข้าขอรับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติมอย่างแน่ชัด […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

เรื้อน (Leprosy)

โรค เรื้อน (Leprosy) คือ โรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน คำจำกัดความเรื้อน คืออะไร เรื้อน (Leprosy) คือโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เส้นประสาทเกิดความเสียหาย และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง หากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคเรื้อนอาจจะทำให้ระบบประสาทเสียหาย ส่งผลให้บริเวณมือและแขนอาจเป็นอัมพาตได้ นอกจากนี้ โรคเรื้อนยังอาจลดประสิทธิภาพของประสาทสัมผัส ทำให้รับรู้ความรู้สึกได้น้อยลง ผู้ป่วยจึงอาจจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเกิดบาดแผล และทำให้บาดแผลนั้นรุนแรงขึ้นได้ โรค เรื้อน พบบ่อยแค่ไหน โรคเรื้อนี้สามารถพบได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น หรือกึ่งเขตร้อน เช่น ประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถเกิดได้กับคนทุกเทศทุกวัย ตั้งแต่ไปทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ อาการอาการของโรค เรื้อน โรคเรื้อนจะส่งผลต่อผิวหนังและระบบประสาทในบริเวณสมองและไขสันหลัง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อดวงตาและเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกอีกด้วย อาการทางผิวหนัง อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวบางส่วนเปลี่ยนสี อาจจะมีสีจางกว่าบริเวณรอบข้าง และอาจจะมีอาการชาร่วมด้วย มีตุ่มขึ้นบนผิวหนัง ผิวแห้ง หนา และแข็ง มีแผลเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือมือ ใบหน้า หรือติ่งหูบวมขึ้น ขนคิ้วและขนตาร่วง อาการที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวหนังบางส่วนมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต โดยเฉพาะบริเวณมือและขา เส้นประสาทบวมขึ้น มีปัญหาในการมองเห็น อาการที่เกิดขึ้นกับเยื่อเมือกในโพรงจมูก อาจมีดังต่อไปนี้ คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยออก เลือดกำเดาไหล สำหรับผู้ป่วยบางราย […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

คางทูม (Mumps) อาการ สาเหตุ การรักษา

โรค คางทูม (Mumps) เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้ต่อมน้ำลายที่อยู่ใกล้ ๆ ใบหูอักเสบ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น สูญเสียการได้ยิน ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการสังเกตอาการ รวมไปถึงการรักษาและการป้องกันโรคคางทูมอย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ คางทูม คืออะไร คางทูม (Mumps) เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย พบมากในเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโรคหัด โรคคางทูม และ โรคหัดเยอรมัน (Measles-mumps- rubella vaccine; MMR vaccine) เชื้อไวรัสสามารถส่งผลต่อวัยวะหลายส่วน แต่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ต่อมน้ำลาย คือทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ จนบริเวณกรามหรือคางบวมขึ้น จึงได้ชื่อว่า โรคคางทูม คางทูมพบบ่อยเพียงใด โรคคางทูมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโรคหัด โรคคางทูม และ โรคหัดเยอรมัน แต่ก็สามารถพบในคนวัยอื่นได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการของคางทูม อาการของโรคคางทูมมักปรากฏให้เห็นหลังติดเชื้อประมาณ 2-3 อาทิตย์ โดยอาการที่พบได้มากที่สุดของโรคคางทูมก็คือ ต่อมน้ำลายอักเสบ จนส่งผลให้บริเวณกรามหรือคางข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างบวมกว่าปกติ และผู้ป่วยมักมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย เจ็บเวลาเคี้ยวหรือกลืน มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน