backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/06/2021

วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)

วัณโรคปอด คืออาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด เป็นวัณโรคประเภทที่อันตรายที่สุด เนื่องจากวัณโรคปอดนั้นมักจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย

คำจำกัดความ

วัณโรคปอด คืออะไร

วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis) คืออาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด เป็นวัณโรคประเภทที่อันตรายที่สุด เนื่องจากวัณโรคปอดนั้นมักจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย วัณโรคปอดนั้นอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคปอดกว่า 50% มักจะเสียชีวิต

วัณโรคปอด พบได้บ่อยแค่ไหน

โรควัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อที่เคยระบาดในช่วงสมัยศตวรรษที่ 18 และ 19 ในแถบอเมริกาเหนือและยุโรป หลังจากที่มีการค้นพบยาปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน (streptomycin) และโดยเฉพาะยาต้านวัณโรค ไอโซไนอาซิค (isoniazid) ประกอบกับการพัฒนาความเป็นอยู่พื้นฐานของคนให้ดีขึ้น ทำให้แพทย์สามารถรักษา และควบคุมการแพร่กระจายของวัณโรคได้

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จำนวนของผู้ที่เป็นวัณโรคปอดในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็ลดจำนวนลง อย่างไรก็ตาม วัณโรคปอดยังคงติด 10 อันดับสาเหตุการตายทั่วโลกตามข้อมูล จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยประมาณการว่า จำนวนผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการตายที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค เกิดขึ้นในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา

จากที่กล่าวมาข้างต้น การปกป้องตนเองจากวันโรคปอดจึงเป็นเรื่องสำคัญ จากข้อมูลสมาคมสุขภาพปอดอเมริกัน (American Lung Association) คนจำนวนมากกว่า 9.6 ล้านคนมีเชื้อวัณโรคในระยะแสดงอาการ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ปอดเสียหายแบบถาวร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับหมอ

อาการ

อาการของวัณโรคปอดเป็นอย่างไร

โรควัณโรคปอด ในระยะแรกอาจจะไม่แสดงอาการ เมื่อแสดงอาการแล้ว อาจมีอาการดังนี้

  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • ไอ (มักมีเสมหะและน้ำมูก)
  • ไอเป็นเลือด
  • เหงื่อออกมากเกินไป โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • เหนื่อยล้า
  • มีไข้
  • น้ำหนักลด
  • หายใจเสียงดัง

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรควัณโรคปอด

วัณโรคปอดนั้นสามารถแพร่กระจายติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศ หมายความว่าคุณสามารถติดเชื้อ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (M.tuberculosis) หลังจากที่คุณหายใจเอาอากาศที่ผู้ป่วยเป็นวัณโรคหายใจออกมา ซึ่งสามารถมาจาก

เชื้อโรคสามารถอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง ทำให้คุณมีโอกาสสูดเข้าไป แม้จะไม่มีผู้ป่วยวัณโรคปอดอยู่ในห้องแล้วก็ตาม แต่โดยปกติแล้วคุณจำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคปอดเป็นเวลานาน ถึงจะสามารถติดโรคได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดวัณโรคปอด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรควัณโรคปอด มีอยู่มากมาย เช่น

  • อายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุ หรือเด็กทารก
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น เป็นโรคเอดส์/HIV เคมีบำบัด เบาหวาน หรือกำลังรับยาที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  • ขาดสารอาหาร
  • ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
  • สภาพความเป็นอยู่ที่แออัด หรือไม่สะอาด

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรควัณโรคปอด

คุณหมออาจจะตรวจร่างกาย ซึ่งอาจจะปรากฏสิ่งเหล่านี้ให้เห็น

  • นิ้วมือหรือนิ้วเท้ามีอาการโป่งบวม (สำหรับคนที่มีอาการหนัก)
  • มีรอยช้ำหรือมีตุ่มใสที่คอ หรือบริเวณอื่น ๆ
  • มีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด

การตรวจสอบอาจะเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้

  • การส่องกล้องตรวจหลอดลม (Bronchoscopy)
  • ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT scan)
  • เอ็กซเรย์หน้าอก
  • ตรวจวัดระดับสารอินเตอร์เฟอรอน-แกรมม่าในเลือด (Interferon-gamma release blood test) เช่น การตรวจควอนติเฟอร์รอนทีบีโกล์ด (QFT-Gold test) เพื่อหาการติดเชื้อ วัณโรคปอด (ทั้งที่แสดงอาการหรือติดเชื้อในอดีต)
  • การตรวจเพาะเชื้อจากเสมหะ
  • การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis) เป็นขั้นตอนในการกำจัดของเหลวที่อยู่ระหว่างส่วนบุภายนอกปอดและผนังอก
  • การตรวจคัดกรองวัณโรค (Tuberculin skin test หรือ PPD test)
  • การตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อไปตรวจ

วิธีรักษา โรควัณโรคปอด

เป้าหมายของการรักษา คือเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ ด้วยยาที่สามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียวัณโรคได้ โรควัณโรคปอด ในขั้นแสดงอาการ จะรักษาโดยการใช้ยาหลาย ๆ ชนิด (ตามปกติคือ 4 ชนิด) ผู้ป่วยต้องรับประทานยาไปเรื่อย ๆ จนกว่าผลจากแล็บจะบอกว่า ยาตัวไหนที่ใช้ได้ผล

คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยาที่แตกต่างกันในแต่ละเวลาของวัน เป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือนหรือมากกว่านั้น โดยรับประทานยาตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด

หากคุณไม่ได้รับยารักษาวัณโรคตามที่คุณควรจะรับ อาจทำให้รักษาอาการติดเชื้อได้ยากยิ่งกว่าเดิม แบคทีเรียวัณโรคอาจเกิดอาการดื้อยาได้ นั่นหมายถึงยาชนิดนั้นจะใช้รักษาไม่ได้ผลอีก

สำหรับคนที่ไม่ได้รับประทานยาทั้งหมดตามคำสั่งแพทย์ คุณหมออาจจะต้องมีการเฝ้าดูให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามใบสั่งยา และอาจมีการนัดโดยตรงเพื่อตรวจสอบผลของการรักษา ในกรณีนี้มักมีการให้ยา 2 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

คุณอาจจำเป็นต้องอยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค จนกว่าโรคของคุณจะไม่ติดต่อสู่ผู้อื่นอีกแล้ว

คุณหมอจำเป็นต้องรายงานอาการวัณโรคของคุณให้สำนักงานสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อเป็นการทำให้แน่ใจว่าทีมหมอที่ดูแลคุณจะให้การดูแลคุณอย่างดีที่สุด

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือวัณโรคปอด

การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโรควัณโรคปอดอาจจเป็นเรื่องยาก หากคุณทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องพบเจอผู้ป่วยวัณโรคอยู่บ่อยครั้ง หรือหากคุณต้องคอยดูแลเพื่อนหรทอคนครอบครัวที่ป่วยเป็นวัณโรคปอด

เคล็ดลับเล็กน้อยที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น โรควัณโรคปอด

  • เสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคปอด เช่น มารยาทในการไอ
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคปอด
  • อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท
  • สวมหน้ากากอนามัยเพื่อช่วยป้องกันจากวัณโรคปอด

ผู้ที่เคยใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคควรได้รับการรักษาในทันที แม้จะไม่แสดงอาการใด ๆ

ผู้ที่มีภาวะวัณโรคแฝงไม่ใช่โรคติดต่อ และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

แต่หากคุณป่วยเป็นวัณโรคปอด คุณจำเป็นต้องอยู่ที่บ้านและหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้อื่น คุณหมอจะบอกคุณเองว่า เมื่อไรที่โรคของคุณไม่ได้ติดต่อแล้ว และคุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/06/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา